มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Dhonburi Rajabhat University

Home / academy / มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีจุดกำเนิดครั้งแรกจากการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี อาชีวศึกษา ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) โดยรับนักเรียน ที่สำเร็จจากโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร… See More

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีจุดกำเนิดครั้งแรกจากการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี อาชีวศึกษา ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) โดยรับนักเรียน ที่สำเร็จจากโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร 2 ปี สาขาการช่างสตรี ในระยะแรกฝากเรียนที่โรงเรียนช่างสตรีพระนครได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2495 กรมอาชีวศึกษา ได้จัดซื้อที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของ เจ้าพระยาพลเทพฯ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) เสนบดีกระทรวงเกษตราธิการ ณ  เลขที่ 190 ถนนอิสรภาพ ตำบลวัดกัลยาณ์ อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี  เพื่อสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา

พ.ศ. 2498 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษาโอนมาสังกัดกรมการฝึกหัดครู ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ยังคงทำหน้าที่ผลิตครูอาชีวศึกษา

พ.ศ.2504 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี มีนโยบายที่จะผลิตครู ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) เช่นเดียวกับโรงเรียนฝึกหัดครูอื่นๆ

พ.ศ.2512 เปิดสอนภาคนอกเวลาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) เป็นครั้งแรก

พ.ศ.2513 กรมการฝึกหัดครูประกาศยกฐานะ โรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี เป็นวิทยาลัยครูธนบุรี

พ.ศ.2514 เปิดรับนักศึกษาภาคปกติและภาคนอกเวลา ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงเป็นครั้งแรก

พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะให้เป็นวิทยาลัยครู สามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518

พ.ศ.2521 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษา หลักสูตร 2 ปี (ค.บ. 2 ปี) วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปเป็นครั้งแรก ทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาสำหรับภาคนอกเวลา รับครูประจำการและบุคลากรทางการศึกษา เข้าเรียนตามโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.) ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ส่งเข้ารับการอบรม

พ.ศ.2527 วิทยาลัยครูธนบุรี รวมอยู่ในวิทยาลัยครูกลุ่มที่แปด ตามข้อบังคับของสภา การฝึกหัดครูว่าด้วยการบริหารกลุ่มวิทยาลัย

พ.ศ.2528 วิทยาลัยครูธนบุรีซึ่งอยู่ในวิทยาลัยครูกลุ่มที่แปด เปลี่ยนไปอยู่ใน “สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์” ตามประกาศข้อบังคับของสภาการฝึกหัดครูว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัย พ.ศ.2528 ให้วิทยาลัยครูดำเนินงานร่วมกัน เรียกว่า สหวิทยาลัย

พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนวิทยาลัยครู เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535

พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 เป็นผลทำให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏธนบุรี จึงเป็น มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547

พ.ศ.2548 ได้ขยายการเปิดสอนระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาไปที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

พ.ศ.2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโทขึ้นเองหลายหลักสูตรและทำการปรับปรุงหลักสูตรสภาสถาบันราชภัฏเดิมให้เป็นหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 และใช้เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป

พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Yulin Normal University ,Guangxi Normal University และ Guangxi University สาธารณรัฐประชาชนจีน

พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Yunnan College of Business Management สาธารณรัฐประชาชนจีน และ Thurgau University of Teacher Education สมาพันธรัฐสวิส

พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Kunming University สาธารณรัฐประชาชนจีน และ National Kaohsiung University of Hospitality and Tourism ไต้หวัน

พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย University of Miyazaki ญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันอุดมศึกษามีภาระหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เน้นคุณภาพ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความงอกงามทางปัญญา แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องเป็นบัณฑิตคุณภาพ เป็นนักวิชาชีพที่ดี พัฒนาและสร้างเสริมการวิจัยให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และพัฒนางาน ในหน้าที่ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและให้บริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี

ที่ตั้งและการติดต่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร
172 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทร 0-2890-1801
เว็บไซต์ WWW.DRU.AC.TH

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ
59/1 ม.14 ซ.เทศบาลบางปู 119 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทร 0-2325-2010-7
เว็บไซต์ SP.DRU.AC.TH

ตรา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย
1. สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
2. สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
3. สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
4. สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 40 สถาบัน
5. สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง – ขาว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ พิกุล – ต้นจัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี : Dhonburi Rajabhat University
คติพจน์ : สิกฺขมยปญฺญา (ปัญญาเกิดจากการศึกษา)
สถาปนา : 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491
ประเภท : รัฐบาล
เว็บไซต์ : www.dru.ac.th
Facebook : https://web.facebook.com/pr.dru

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

See Less

กิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้