มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Walailak University

Home / academy / มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ในปี พ.ศ. 2510 ชาวนครศรีธรรมราช เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต แต่ก็ได้ยกเลิกมติดังกล่าวในเวลาต่อมา และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช… See More

ในปี พ.ศ. 2510 ชาวนครศรีธรรมราช เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต แต่ก็ได้ยกเลิกมติดังกล่าวในเวลาต่อมา และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534

 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

13 มีนาคม พ.ศ. 2535 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 และในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงถือเอาวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย และให้วันที่ 29 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญอักษรย่อ คือ พระนาม จ.ภ. ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระองค์ มาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

24 มิถุนายน พ.ศ. 2536 จัดตั้งสำนักงานอธิการบดี และหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร ณ อาคารทบวงมหาวิทยาลัย ถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ศาสตราจารย์ดร.เกษม สุวรรณกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยท่านแรก และมีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

21 มกราคม พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อ “อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ”

29 มีนาคม พ.ศ. 2539 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงถือว่าวันนี้เป็นวันมงคลยิ่งของชาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งแต่นั้นมา

17 ตุลาคม พ.ศ. 2540 จัดแถลงข่าว เรื่องการเปิดรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2541 และเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีรูปแบบเป็น “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล” บริหารอิสระจากระบบราชการ มีระบบบริหารงานเป็นของตนเอง เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน โดยจัดพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ ในลักษณะอุทยานการศึกษา และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตเดียว โดยกำหนดให้จัดระบบการศึกษาแบบไตรภาค (Trimester System) โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษา มีระบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ที่นักศึกษาได้มีการศึกษาทั้งในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีการปฏิบัติงานจริงจะทำให้นักศึกษาที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีทั้งความรู้ทางวิชาการ และมีความชำนาญในทางปฏิบัติควบคู่กันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีความก้าวหน้า และพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนในภาคใต้ และภูมิภาคต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินงานด้านการวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อสนองตอบต่อการแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน รวมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตราประจำมหาวิทยาลัย
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระราชทานอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีตราพระนามเป็นองค์ประกอบหลักอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยชื่อของมหาวิทยาลัยด้วยตัวอักษรเป็นสีม่วงเข้ม และพื้นเป็นสีม่วงอ่อน พระนามย่อ “จภ” นั้นเป็นสีแสดทึบตรงกลาง ตัวอักษรตัว “จ” และได้ขอพระราชทานกราบทูลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานพระอนุญาตตราพระนามฯ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ สีแสด – ม่วง ด้วยเหตุผลดังนี้ สีแสด เป็นสีวันประสูติของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ส่วนสีม่วง เป็นสีหลักของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี (เจ้าคุณม่วง) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ชาวนครศรีธรรมราชนับถือยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของเมืองนี้

ต้นประดู่ ประจำวลัยลักษณ์

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. ชื่อวงศ์ FABACEAE ชื่อสามัญ Padauk ชื่ออื่นๆ เรียกว่า Burmese Rosewood, ประดู่ ดู่บ้าน ภาคใต้เรียกว่า สะโน ต้นประดู่ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงา ในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม “ศาลาประดู่หก”

ที่ตั้ง และวิทยาเขต
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
ศูนย์วิทยบริการ จ.สุราษฎร์ธานี
อาคาร PC Tower ชั้น 8-9 ถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
หน่วยประสานงาน กรุงเทพมหานคร
979/42-46 อาคาร SM Tower ชั้น 19 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : Walailak University
ชื่อย่อ : มวล. / WU
คติพจน์ : เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล (Gateway to Achivement)
สถาปนา : 29 มีนาคม พ.ศ. 2535
ประเภท : สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
เว็บไซต์ : www.wu.ac.th
Facebook :
https:/walailak.admissions
https:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

See Less

ชิลเอ้าท์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้