sdu ความเชื่อ มหาวิทยาลัย เรื่องน่ารู้ เรื่องเล่า

เรื่องเล่าน่ารักๆ รอบรั้วมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / เรื่องเล่าน่ารักๆ รอบรั้วมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

จากโรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้านการศึกษาปฐมวัย อาหาร คหกรรมศาสตร์ ธุรกิจบริการ ธุรกิจการโรงแรม และธุรกิจการบิน วันนี้เราเลยมีเรื่องเล่าน่ารักๆ ของที่นี้มาฝากกัน เผื่อน้องๆ ปี 1 อยากจะรู้จักเกี่ยวกับที่นี้มากยิ่งขึ้น เรื่องที่เรานำมาให้อ่านกันนั้นก็มีทั้งเรื่องน่ารู้ เรื่องเล่าจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง อาจจะมีสาระบ้างไม่มีบ้าง ก็ถือว่าอ่านกันเพื่อความบันเทิง คลายเครียดแล้วกันนะ มาเริ่มกันเลย….

รวมเรื่องน่ารู้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

– เดิมทีสวนดุสิตมีชื่อว่า โรงเรียนการเรือนสวนดุสิต (โรงเรียนสอนผู้หญิงแห่งแรกของประเทศไทย) เล่ากันว่าในสมัยก่อนหากข้าราชการคนใดต้องการจะแต่งงานมักจะเล็ง นศ. ของจากโรงเรียนการเรือนแห่งนี้ ผู้หญิงที่เข้าเรียนในโรงเรียนการเรือนสวนดุสิต ส่วนใหญ่จะมีคำนำหน้าว่า “คุณหญิง”

– สวนดุสิตใช้อักษรย่อว่า ภาษาไทยว่า “มสด” และภาษาอังกฤษ “SDU”

– สวนดุสิต ไม่สามารถสร้างตึกที่สูงเกิน 7 ชั้นได้ เพราะอยู่ใกล้เขตพระราชฐาน

– สวนดุสิต กับ สวนสุนันทา เมื่อก่อนภายใต้กำแพงยาวจะมีประตูเปิดเชื่อมถึงกันได้ แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาโดนปิด เนื่องจากหนุ่มสวนสุนันทามาแอบดูห้องน้ำหญิงสวนดุสิต แต่ตั้งแต่นั้นประตูก็โดนปิดมาตลอด เด็ก 2 สวนเลยอดไปมาหาสู่กันอย่างสะดวกเลย (เรื่องจริงไม่อิงนิยาย เพราะอยู๋ในช่วงเหตุการณ์) เหตุผลที่ปิดประตูเพราะว่าสวนสุสิตแปะป้ายประจานการกระทำของหนุ่มสวนนันทั่วทั้งสถาบัน และคนปิดประตูก็คือสวนนัน… อีกแหล่งเล่าว่า เด็กสวนดุสิตแอบดูกันเองแล้วหนีไป ฝ่ายผู้หญิงรู้ตัวออกมาเห็นเด็กสวนสุนันทานั่งอยู่หน้าห้องน้ำเลยเข้าใจว่าเป็นผู้แอบดู จึงนำไปประจาน (คนที่แอบดูตัวจริงเขาคงอยู่ให้จับได้หรอก หนีไปแล้ว) ผู้ใหญ่จึงมีมติว่าถ้ามีเรื่องมากกันนักก็ปิดประตูไปเลยเสียแล้วกัน ปัจจุบันทางสวนสุนันทายังมีประตูอยู่แต่ทางสวนดุสิตโบกปูนทับไปแล้ว

– สวนสุสิตลงทุนทุบอาคารหอประชุมทิ้งเพื่อสร้างตึก 2 ชั้น และมี 1ชั้นใต้ดินไว้จอดรถ เพื่อเป็นโรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิตตอกย้ำว่าเราสุดยอดเรื่องการอาหาร (สวนดุสิตย้ายหอประชุมไปไว้ที่ศูนย์สุพรรณบุรี ไม่ได้ทุบทิ้ง ยกไปทั้งอาคารหอประชุมและศาลาขาว)

– สวนดุสิต มีขนาดพื้นที่เพียงแค่เศษ 1 ส่วน 3 ของสวนสุนันทา (เพิ่มเติมว่าเมื่อก่อนมีพื้นที่เท่ากัน แต่ได้ยกพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กรมการปกครองไปสร้าง ภป. ในปัจจุบัน)

– นศ. ธุรกิจการบินทุกคน ต้องแต่งหน้าและทำผมตลอด โดยเฉพาะผู้หญิง แถมมีชุดที่ใส่มาเรียนเหมือนกับแอร์บนเครื่องบินเลย

– คณะธุรกิจการโรงแรม ไม่ใช่คณะที่จ่ายเงินแพงแล้วเข้ามาศึกษาดูงานโรงแรมแบบเก๋ๆ แต่ต้องฝึกงานทุกสิ่งอย่าง สากกะเบือยันเรือรบ ตั้งแต่ปูเตียง จัดโต๊ะ ดูดฝุ่น ยันล้างส้วม มีเงินอย่างเดียวเรียนไม่ได้ ต้องมีความอดทนด้วย

– การซ้อมบูมโดยอ้างว่า เป็นการเก็บดาวของ MOU ขอบอกเลยว่าไม่จริง รุ่นน้องปี 1 คนไหนที่เคยมีความเชื่อจากการที่ถูกรุ่นพี่ข่มขู่ เมื่อขึ้นปี 2 จะพบว่ามีหญ้าติดอยู่มุมปาก และเขางอกออกมาเสียดเพดานห้อง

– สวนดุสิต มีถนนหลักเพียงสายเดียวที่วิ่งจาก ประตู 1 ไปยังประตู 5

– สวนดุสิตมีโรงยิมติดแอร์ ที่เปิดแอร์บ้างไม่เปิดบ้าง (แต่ส่วนใหญ่ก็เปิดนะ)

– สวนดุสิตมีลิฟต์แก้ว อยู่ที่ตึกครุศาสตร์ ที่สามารถมองเห็นโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมด้วย สวยมากๆๆๆ

– สวนดุสิตมีสระว่ายน้ำ ที่รายล้อมด้วยแมกไม้ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ทแถวภาคเหนือเลย

– กรุณาอย่านำรถเข้ามาในมหาลัย ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็น เพราะรถจะติดมากกกก (ก็มีถนนอยู่เส้นเดียวนี่หน่า)

– เวลานั่งแท็กซี่มาที่มหาลัย กรุณาบอกชื่อเต็มๆ ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพราะถ้าบอกว่าสวนดุสิต แท็กซี่มักพาไปยัง “สวนสัตว์ดุสิต” (เคยโดนมาแล้ว) เซ็ง!!!

– แอร์ตึก 32 หนาวยังกับขั้วโลกเหนือ จะหนาวไปไหน บางวันเรียนไปสั่นไป

– นศ. ที่เป็น ดาว-เดือน ของมหาลัย ในแต่ละปีมักมาจากคณะนิเทศศาสตร์ และธุรกิจการบิน

– สวนดุสิต มีกำแพงแดง ที่ทอดยาวมาจากรัฐสภา ผ่านพระที่นั่งวิมานเมฆ ผ่านสวนดุสิต จนถึงสวนสุนันทา และขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรด้วย

– สวนดุสิต เอกบรรณารักษ์สารนิเทศ ศูนย์พณิชยการสยาม ไม่เคยได้เรียนใน ม.สวนดุสิตเลย เรียนที่ศูนย์ 4 ปี (เหมือนเป็นเด็กพานิช ยังไงอย่างนั้น)

– อาคารจอดรถของสวนดุสิตขึ้นชื่อเรื่องปราบเซียนว่ากันว่าถ้าคุณไม่ได้มีชื่อนำหน้าว่า ทา และขับ 46 คุณอาจจะต้องใส่เกียร์ถอยหลัง 2 ครั้งถึงจะขึ้นชั้นถัดไปได้

– อาคารจอดรถของครัว 12 จอดยากที่สุด เพราะถ้ารถคุณไม่ใช่รถที่เล็กกว่า มิรา.. คุณต้องมีรอยแถวมุมกันชนเป็นแน่แท้ ขนาถอยหลัง 2 รอบ ยังไม่พ้น (ขอเพิ่มเติมว่า วีออสหรือซิตี้ ก็ทีเดียวผ่านได้ ถ้าวิ่งชิดซ้าย ชิดเส้นเหลืองเลย จากคนที่อยู่มา 12 ปี)

– ตำรวจจราจรคนหนึ่งที่หน้า สวนดุสิต ถูกนักศึกษาเรียกกันว่า “ลุงโดเรมอน” เพราะรูปร่างคล้าย ปล.ตอนนี้ลุงแกไม่อยู่แล้ว

– คุณสามารถเดินจากหน้าทางเข้าฝั่งราชวิถี ไปถึง ร.ร ละอออุทิศฝั่งราชสีมา โดยไม่โดนแดดและเปียกฝนได้เนื่องจากมีร่มเงาของอาคารติดกันและมีทางเชื่อมให้เดินผ่านตึกต่างๆ ได้

– ทุกๆ การเปิดภาคเรียนใหม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์ใน จนแทบจะเรียกได้ว่าเนรมิตในชั่วข้ามคืน

– ช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่จะมีคนแห่มาซื้อเค้กที่โฮมเบเกอรี่จนแทบจะต้องจอดรถซ้อนบนหลังคากัน

– หากเจอนักศึกษาสวยๆ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นกระเทย ตอนนี้มีหญิงแท้แล้วกระเทยเริ่มหายากแล้ว ปล.เพิ่มเติม ตอนนี้กระเทยล้นมหาลัยแล้ว แต่ก็สวยนะจ๊ะ

– ที่นี่อย่าหวังว่าจะหาที่จอดรถได้ง่ายๆ รปภ. ดุมาก หากจอดผิดที่ มีการล๊อกล้อ เสียค่าปรับและติดป้ายประจาน จนถึงทำทันฑ์บนห้ามขับรถเข้ามหาวิทยาลัย

– นักศึกษาปริญญาเอก เสียค่าเทอม 70,000 กว่าบาท ระบุว่าเหมาจ่ายทุกอย่าง แต่ต้องเสียค่าปริ๊นท์งานที่ห้องคอมพิวเตอร์แผ่นละ 5 บาททุกครั้งไม่มีข้อยกเว้น (ลดเหลือ 2.50 แล้ว)

– คลาสที่มี รศ.ดร.เสรี วงศ์มณฑา บรรยายเด็กจะเข้าเต็มทุกครั้ง และบรรยากาศเฮฮามาก เหมือนดูทอล์คโชว์มากกว่าการเลกเชอร์

– มีตู้สำหรับเช็คผลการเรียนและปริ๊นท์ทรานสคริปอัตโนมัติ ลักษณะคล้ายๆตู้ ATM แต่ไม่เคยใช้ได้เลย และที่ศูนย์ระนองมีอยู่สองตู้ และใช้ได้ตู้หนึ่งเท่านั้น อีกตู้เสีย บางทีมันก็เสียสามัคคีพร้อมกันเสีย

– สวนดุสิต มีวิทยาเขตชื่อศูนย์ระนอง 2 แต่นักศึกษาจะเรียกห้วนๆ ว่า ศูนย์ระนอง นั้นทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า สวนดุสิตมีศูนย์อยู่ที่จังหวัดระนอง

– สวนดุสิต มีโรงแรมอยู่ในมหาวิทยาลัย ลองไปใช้กันได้น้าาาาา

– สวนดุสิต มีห้องจำลองแบบบนเครื่องบิน ในมหาลัยไว้สำหรับ นศ.ธุรกิจการบินด้วย “ไฮมากกกกกกก”

– สวนดุสิต ติดแอร์ทุกที่แม้กระทั้งทางเดินหน้าห้องในอาคาร (สรุปคือทั้งตึก)

– สวนดุสิตมีคลองผ่านซึ่งมาจากพระที่นั่งวิมานเมฆ ผ่านสวนดุสิตไปยังสวนสุนันทาและลงยังแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันถมดินเป็นบางส่วน คงเหลือเป็นช่วงๆ และเรียกว่า “สระมรกต”

– สวนดุสิตมีตึกเก่าอยู่หลายตึก แต่ทุกตึกก็ปรับปรุงติดแอร์ทุกตึกเช่นกัน

– ถ้าไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่าภายในมหาลัยมีสระว่ายน้ำ ซึ่งอยู่หลังโรงแรมสวนดุสิตเพลส บรรยากาศขอบอกเลยว่า “รีสอร์ท” ชัดๆๆ

– สวนดุสิตมีห้องประชุมที่หรูกว่าห้องประชุมคณะรัฐมนตรี

– สำนักวิทยบริการมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 500 เครื่อง แต่เกือบ 100 เครื่อง นศ.เอาไว้เล่นเกมส์ และอีกเกือบ 100 เครื่องเสีย

– สำนักวิทยบริการเป็นสถานที่ที่หนาวที่สุดในมหาลัย คือเปิดแอร์ประมาณ 20 องศา (เค้ากลัวว่าคอมฯ มันจะร้อนงะ)

– นักศึกษาส่วนใหญ่รู้จักซอกมุมของสวนอ้อยที่อยู่ฝั่งตรงข้ามดีกว่าซอกมุมในสวนดุสิตซะอีก

– ถ้าคุณซื้อน้ำตาลสดแบบขวดจากเซเว่นฯ ฝั่งตรงข้ามเดินเข้าประตูหน้า ยามจะมาทักว่าห้ามเอาเหล้าเข้ามา

– เซเว่นเก๊ ตรงประตูหน้ามหาลัยคนเยอะทุกเย็นทั้งที่ขายไม่ค่อยออก เพราะคนชอบเข้าไปตากแอร์รอแฟน (สองทุ่ม เซเว่นนี้ก็ปิดแล้ว ดังนั้น อย่าไปท้าใครต่อยหลังเซเว่นปิด อิอิ)

– สวนดุสิตโพลเป็นแค่อาคารไม้สีเขียวหลังเล็กๆ (ปัจจุบันเสริมปูนแล้วแต่ยังอนุรักษ์รูปแบบอาคารไว้)

– ก่อนเข้าสำนักวิทยบริการต้องรูดบัตรประจำตัวนักศึกษาก่อนจึงจะเข้าได้

– ตู้เติมเงินโทรศัพท์ข้างๆ ร้านถ่ายเอกสาร ถ้าดวงดีเครื่องจะไม่สามารถเติมเงินเข้าเครื่องได้ แล้วต้องรอเงินทอนอีก 5 นาที แต่ถ้าดวงดีมากๆ คุณอาจจะต้องรอเงินทอนจากตู้เกือบชั่วโมง

– หอพักในสวนดุสิตสุพรรณบุรีเปิดตี 5 ถึง 4 ทุ่ม แต่สามารถเข้าออกได้ตลอด 24 ชั่วโมงตามความถนัดส่วนบุคคล ยิ่งหอชายเขาว่าสะดวกกว่าหอหญิง

– หอประชุมที่ศูยน์สุพรรณบุรีมักถูกเรียกว่าเมเจอร์ เพราะทางเข้าดันคล้ายเมเจอร์

– การเดินทางของนศ.ศูยน์สุพรรณบุรี มีทั้งรถเพื่อน รถสองแถว และตุ๊กๆ โดยรถสองแถว (บางคัน) กับตุ๊กๆ สามารถโทรตามได้ แต่ก็ถึงอยู่กับดวงว่าคันว่าจะมาช้ามาเร็ว เพราะห่างจากตัวเมือง 8 กม.

– ข้าวไข่เจียวหน้าร้านหนังสือ แถวสภานักศึกษาเป็นอาหารที่ขายดีมาก เพราะนึกไม่ออกว่าจะกินอะไร จะอร่อยมาเวลาหิวสุดๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

—————————————————————

ที่มาจาก ไร้สาระนุกรม (อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559)