CUTUBall73 TUCUBall73 การเมือง งานฟุตบอลประเพณี งานฟุตบอลประเพณี73

มุมมองการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ ผ่านเสียงสะท้อนในงานฟุตบอลประเพณี

Home / กิจกรรม / มุมมองการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ ผ่านเสียงสะท้อนในงานฟุตบอลประเพณี

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นนั่นก็คือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ภายในงานนี้ก็จะมีทั้งขบวนล้อการเมือง การแปรอักษรที่สะท้อนความคิด ความเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเมืองในขณะนั้นออกมา

มุมมองการเมืองของเด็กรุ่นใหม่

หลังจากที่งานฟุตบอลประเพณี ครั้งที่ 73 จบไปได้หลายวันแล้ว แต่ช่วงนี้ก็ยังมีกระแสการเมืองให้เห็นอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเห็นจากงานนี้ก็คือ ความคิดเห็นของเด็กรุ่นใหม่ที่มีต่อการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ แล้วก็ยังมีกระแสของกลุ่มวัยรุ่นในสื่อโซเชียลต่างๆ อีกด้วย

งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 73

หลังจากเหตุการณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 62 ผ่านไป ก็มีการเปิดเผยถึงเรื่องราวเบื้องหลังบางอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น ทั้งการเปลี่ยนโค้ดแปรอักษรกระทันหันในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันก่อนวันงานจริงแค่วันเดียว ในวันนั้นทีมแปรอักษรของฝั่งธรรมศาสตร์ก็ได้ปรับเปลี่ยน แก้โค้ดแปรอักษรกันทั้งคืน จนรุ่งสางของเช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ โค้ดก็เสร็จสมบูรณ์ และถูกนำมาใช้แปรบนสแตนเชียร์ของธรรมศาสตร์ และข้อความเหล่านั้นก็แผยแพร่ไปทั่วทั้งโลกโซเชียลว่า

” พอ 9 โมงกว่า ดันมีเซอร์ไพรซ์ ประกาศชื่อใหม่ ถึงกับไปไม่เป็น แต่… แม่งูเอ๋ย สนุกเป็นบ้า 4 ทุ่ม 55 หักมุมอีกที เดาทางไม่ถูก จะจบแบบไหน ลุ้นกันต่อไป to be continue”

ข้อความเหล่านี้ที่ถูกแปรออกมา สะท้อนเห็นถึงการเกาะติดตามสถานการณ์ทางการเมือง ของเด็กวัยรุ่นที่ไม่ได้ละเลย และพวกเขาพร้อมที่จะออกไปใช้สิทธิ์ เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น แถมยังรู้ทันว่า ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองวางแผนอะไรเอาไว้ เพราะถ้าไม่ติดตามสถานการณ์การเมืองก็คงไม่มีข้อความเหล่านี้ปรากฎออกมาอย่างแน่นอน เนื่องจากข่าวการประกาศรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคไทยรักษาชาติ นั้นออกมาในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งเป็นวันที่น้องๆ นักศึกษาตัดสินใจปรับโค้ดแปรอักษร

งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 73

กระแสการเมืองในโลกโซเชียล

หลังจากที่ธรรมศาสตร์แปรอักษรการเมืองชุดนี้ออกมา ก็เป็นที่พูดถึงกันทั้งโซเชียล โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัยรุ่น มีคนมาแสดงความเห็นใน #TUCUBall 73 กันอย่างมากมาย เพียงเท่านี้ผู้ใหญ่ในสังคมที่ยังคงอยู่ในกะลา คงต้องหันมามองพลังเสียงของเด็กรุ่นใหม่บ้างแล้วล่ะ เพราะยุคนี้ไม่ใช่ยุคการเมืองของคนรุ่นเก่าเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

ภาพ : ธรรมศาสตร์ไหมละมึง

บทความแนะนำ