ตกงาน ตลาดแรงงาน สายอาชีพ

น่าห่วง! จบ ป.ตรี’59 ตกงานเฉียดเกือบ 1.8 แสนคน ส่วนสายวิชาชีพยิ้มได้

Home / ข่าวการศึกษา / น่าห่วง! จบ ป.ตรี’59 ตกงานเฉียดเกือบ 1.8 แสนคน ส่วนสายวิชาชีพยิ้มได้

ในการนำเสนอผลวิจัย “การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพแก่เยาวชน” ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธุรกิจบันฑิตย์ มีข้อมูลจากการวิจัยสถานการณ์ตลาดแรงงานในกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม พบว่า

จบ ป.ตรี’59 ตกงานเฉียดเกือบ 1.8 แสนคน

“ตลาดแรงงานไทยในวันนี้ต้องการแรงงานในสายวิชาชีพ ที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ ม.6 ที่มีทักษะอาชีพพอที่จะไปทำงานได้ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้จะเป็นกำลังในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ยุค 4.0

โดยข้อมูล Human Capital Report 2016 พบว่า สัดส่วนแรงงานฝีมือของประเทศสวีเดน เยอรมณี สิงค์โปร์ และฟินแลนด์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 48 ส่วนไทยมีเพียงร้อยละ 14.4 ถือว่าแตกต่างค่อนข้างมาก

โครงสร้างแรงงานที่จะช่วยให้ไทยก้าวไปสู่ยุค 4.0 ได้ คือ ต้องมีแรงงานฝีมือ เพิ่มขึ้น 40-50% แต่ปัจจุบันมีเพียง 20% ขณะที่ผู้เรียนจบปริญญาตรีในปี 2559 ว่างงานถึง 1.79 แสนคน ซึ่งหลายๆ จังหวัดของไทยยังเป็นเศรษฐกิจในยุค 2.0 การจะเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 3.0 และ 4.0 นั้นต้องถูกขับเคลื่อนด้วยแรงงานในสายวิชาชีพ ถ้ายังผลิตคนป้อนไม่ได้ จะมีบางจังหวัดที่พร้อมไปสู่ 4.0 แต่อีกหลายจังหวัดยังอยู่ที่ 2.0 หรือ 3.0 จะยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำมากกว่าเดิม

ทั้งนี้ การผลิตคนในสายอาชีพไม่จำเป็นจะต้องผลิตผู้เรียน ที่จบอาชีวะอย่างเดียว แต่ขยายสู่โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา ให้นักเรียนได้เรียนวิชาชีพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานในพื้นที่เป็นวิชาเสริมในการเรียนได้

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันคือกระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องร่วมกันฝึกทักษะวิชาชีพให้นักเรียน รวมถึง คนที่อยู่ในวัยทำงานตอนต้นให้มีทักษะวิชาชีพที่ดีขึ้นด้วย เชื่อว่าภายใน 5 ปี จะเริ่มเห็นภาพการขับเคลื่อนที่การพัฒนากำลังคน และเป้าหมายที่ชัดเจน คาดว่าไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้เต็มตัวในอีก 15 ปีข้างหน้า หรือปี 2575” ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา

นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)

ที่มา มติชน ออนไลน์