การเปิดปิดภาคเรียนตามอาเซียน การเปิดภาคเรียน มหาวิทยาลัย อาเซียน

จี้ ทปอ. ให้ยกเลิกเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ชี้มีผลเสียมากกว่าผลดี 

Home / ข่าวการศึกษา / จี้ ทปอ. ให้ยกเลิกเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ชี้มีผลเสียมากกว่าผลดี 

สำหรับการเปิด-ปิดภาคเรียนแบบอาเซียน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาโดยตลอด และล่าสุด!! ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) ได้ออกมากล่าวถึง กรณีของ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปิด-ปิดมหาวิทยาลัยตามอาเซียน ไว้ดังนี้

ผลเสียมากกว่าดี การเปิด-ปิด ภาคเรียนตามอาเซียน

ขณะนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ กำลังประสบปัญหาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิทยาเขตในต่างจังหวัด โดยขณะเดียวกันที่เราบอกว่า ต้องการให้เด็กในประเทศอาเซียนมีโอกาสเข้ามาเรียนได้นั้น ก็ไม่ได้เห็นผลได้ชัดเจนมากนัก อีกทั้งนิสิตครุศาสตร์ก็ต้องประสบปัญหาในการฝึกสอน ส่วนคณะเกษตรศาสตร์ก็ไม่มีน้ำให้นิสิตได้ใช้ในการฝึกปฏิบัติการเพาะปลูกได้ในฤดูแล้ง โดยผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัฐกรณ์ ก็เห็นชอบด้วยและขอชื่นชมที่ฝั่งอธิการบดีได้ออกมาเรียกร้อง ซึ่งทาง ทปสท. เคยเสนอให้ยกเลิกมาหลายครั้งตั้งแต่ปี 2558

จนในสุดก็ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนการเปิด-ปิดภาคเรียน ของสถาบันอุดมศึกษาภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเฃียน” (รัฐกรณ์ คิดการ และ คณะ 2559.) ผลวิจัยที่ได้คือ คณาจารย์บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษา (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ ร้อยละ 86.33 ไม่เห็นด้วยกับการเปิดภาคเรียนตามอาเฃียน ส่วนร้อยละ 62.33 เห็นว่าการเปิดภาคเรียนตามอาเฃียนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี สังคมและวัฒนธรรมของไทย

จี้ ทปอ. ให้ยกเลิกเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ชี้มีผลเสียมากกว่าผลดี 

ทำให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งหมด มหาวิทยาลัยราชภัฏประมาณสิบกว่าแห่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายแห่งทยอยกลับมาเปิด-ปิดภาคเรียนแบบเดิมแล้ว เพราะด้วยการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนนั้น ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน มีดังนี้

  1. ปัญหาการเรียนการสอนที่ตรงกับช่วงเทศกาลวันหยุดเยอะ และสภาพอากาศร้อนในเดือนเมษายนของภาคเรียนที่สอง
  2. ปัญหาวงรอบปีงบประมาณ และวงรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ไม่สอดคล้องกับการเปิดภาคเรียน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งงบประมาณพัฒนานักศึกษาและการประเมินอาจารย์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ
  3. ปัญหาการเกณฑ์ทหาร การสอบบรรจุครู การสมัครงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงเดือนเมษายน (ซึ่งนักศึกษาจบไม่ทัน)
  4. ปัญหาการเปิดเรียนไม่ตรงกันระหว่างอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลกระทบทั้งการเข้าศึกษาต่อ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และวิถีชีวิตครอบครัวจากการเปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน
  5. แม้จะอ้างเปิดเดือนสิงหาคมตามอาเฃียนแต่ทั้ง 10 ประเทศในอาเฃียนก็เปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน และยังมีระบบการศึกษา และหลักสูตรที่แตกต่างกัน รวมทั้งประเทศต่างๆ ในโลกนี้ก็มีระบบการศึกษาและการเปิด-ปิดภาคเรียนแตกต่างกันด้วย

ถึงแม้ว่าจะมีผู้ออกมาเรียกร้องเป็นจำนวนมากและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ก็ยังไร้เสียงตอบรับจาก ทปอ. ในฐานะผู้ที่กำหนดนโยบาย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ ทปอ.นำประเด็นปัญหาต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งข้อเสนอของรักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 24 เมษายน 2560 ที่จะจัดประชุมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย

ข้อควรรู้ในการเปิด-ปิดเทอมตามอาเซียน

  • ภาคเรียนที่ 1 วันเปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม (กำหนดเดิมคือ เปิด-ปิดเทอม ในเดือน มิ.ย.-ต.ค.)
    ปิดภาคเรียน 11 ตุลาคม เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 10 มิถุนายน และปิดภาคเรียน 4 พฤศจิกายน
  • ภาคเรียนที่ 2 วันเปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน (กำหนดเดิมคือ เปิด-ปิดเทอม ในเดือน ม.ค.-พ.ค.)
    ปิดภาคเรียน 1 เมษายนของปีถัดไป เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 26 พฤศจิกายน และปิดภาคเรียน 26 เมษายน ของปีถัดไป

—————————————-

ที่มา : www.nationtv.tv