TCAS กสพท ระบบการรับสมัครนักศึกษาใหม่ รับตรงร่วมกัน

กสพท ประกาศ เนื้อหาสาระที่ใช้สอบ วิชาเฉพาะ ปีการศึกษา 2561 พร้อมคุณสมบัติของผู้สมัคร

Home / ข่าวการศึกษา / กสพท ประกาศ เนื้อหาสาระที่ใช้สอบ วิชาเฉพาะ ปีการศึกษา 2561 พร้อมคุณสมบัติของผู้สมัคร

หลังการที่ แคมปัส-สตาร์ ได้นำเสนอ กำหนดการสมัครสอบ กสพท ปี 2561 เกณฑ์การคัดเลือก และรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุด!! กสพท ได้ทำการประกาศ เนื้อหาสาระที่ใช้สอบ วิชาเฉพาะ กสพท ปีการศึกษา 2561 ออกมาแล้ว จะมีวิชาอะไรบ้าง มาเตรียมตัวให้พร้อมกันก่อนไปสอบกันได้เลย พร้อมทั้งนี้ ก่อนสมัครสอบ น้องๆ อย่าลืมตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครกันด้วยนะ

เนื้อหาสาระที่ใช้สอบ วิชาเฉพาะ ปีการศึกษา 2561

คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรต่างๆ ที่เข้าร่วมกับ กสพท 2561

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

1. ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน)

2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
  • โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดนอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลทำให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้ป่วย
  • ความพิการทางร่างกายอันเป็นอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูดน้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน
  • ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่ามีอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่ว่า 6/12 หรือ 20/40
  • โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

1. ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน)

2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
  • โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดนอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลทำให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้ป่วย
  • ความพิการทางร่างกายอันเป็นอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูดน้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน
  • ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่ามีอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่ว่า 6/12 หรือ 20/40
  • มีภาวะตาพร่องสีทุกสี อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

กสพท ประกาศเนื้อหาสาระที่ใช้สอบ วิชาเฉพาะ ปีการศึกษา 2561

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ดังต่อไปนี้

  1. ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น โรคจิต โรคอารมณ์ผิดปกติ เป็นต้น
  2. โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดนอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลทำให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
  3. โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้ป่วย
  4. ความพิการทางร่างกายอันเป็นอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
  5. ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูดน้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน
  6. ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่ามีอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่ว่า 6/12 หรือ 20/40
  7. มีภาวะตาพร่องสีทุกสี อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

1. ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน)

2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
  • โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดนอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลทำให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
  • โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้ป่วย
  • ความพิการทางร่างกายอันเป็นอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
  • ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูดน้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน
  • ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่ามีอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่ว่า 6/12 หรือ 20/40
  • โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด : คลิกที่นี่

เนื้อหาสาระในการสอบวิชาเฉพาะ ของ กสพท ปีการศึกษา 2561

เนื้อหาสาระในการสอบวิชาเฉพาะ ของ กสพท 2561

น้ำหนักคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก

  • วิชาเฉพาะ 30%

เนื้อหาสาระที่ใช้สอบ ได้แก่ 

  1. การทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ ได้แก่ ความสามารถในการจับใจความ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  2. การปรเมินแนวคิดทางจริยธรรม

***ใช้คะแนนที่สอบในวันที่ 10 มีนาคม 2561 เท่านั้น

รายละเอียด เนื้อหาสาระในการสอบวิชาเฉพาะ : คลิกที่นี่

เกณฑ์ในการคัดเลือก

ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่ กสพท กำหนด ต้องเข้าสอบวิชาเฉพาะ กับ กสพท และเข้าสอบวิชาสามัญ กับ สทศ. ตามหลักเกณฑ์และเวลาที่กำหนด สำหรับรายวิชาและสัดส่วนคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษา มีดังนี้

เกณฑ์ในการคัดเลือก

สำหรับ เกณฑ์คะแนน O-NET ขั้นต่ำ 60% หมายถึง เฉพาะนักเรียนที่เข้าสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560 (สทศ. จัดสอบ 3-4 มีนาคม 2561) จะต้องทำคะแนนรวม O-NET 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ได้ไม่น้อยกว่า 300 คะแนน จาก 500 คะแนนเต็ม ทั้งนี้ กสพท จะไม่นำเกณฑ์ O-NET ขั้นต่ำ 60% มาใช้กับผู้สมัครที่เคยผ่านการสอบ O-NET ม.6 ในปีการศึกษาอื่นๆ หรือ เด็กซิ่ว

เว็บไซต์ การสอบคัดเลือกระบบรับตรงของ กสพท ปีการศึกษา 2561 : คลิกที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง