TCAS ข้อสอบ ข้อสอบ PAT3 ข้อสอบพร้อมเฉลย คณะวิศวกรรมศาสตร์ แนะแนวการศึกษา

แนวข้อสอบ PAT 3 ปี 2552-2559 l อยากเรียนต่อวิศวกรรมศาสตร์ ต้องรู้

Home / GAT/PAT / แนวข้อสอบ PAT 3 ปี 2552-2559 l อยากเรียนต่อวิศวกรรมศาสตร์ ต้องรู้

ใกล้วันสอบเข้ามาทุกทีแล้ว สำหรับการทดสอบ GAT/PAT ของน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสอบ PAT3 หรือ การทดสอบความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ มาฝากน้อง ๆ กันด้วย

แนวข้อสอบ PAT 3 ปี 2552-2559

ปี พ.ศ. 2552

– PAT3 วันที่ 14 มี.ค. 2552 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 12 ก.ค. 2552 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 11 ต.ค. 2552 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2553

– PAT3 วันที่ 7 มี.ค. 2553 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 10 ก.ค. 2553 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 11 ก.ค. 2553 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2554

– PAT3 วันที่ 7 มี.ค. 2554 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 10 ต.ค. 2554 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2555

– PAT3 วันที่ 5 มี.ค. 2555 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 8 ต.ค. 2555 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2556

– PAT3 วันที่ 4 มี.ค. 2556 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 9 ธ.ค. 2556 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2557

– PAT3 วันที่ 28 เม.ย. 2557 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2558

– PAT3 วันที่ 29 ต.ค. 2558 : คลิกที่นี่

ปี พ.ศ. 2559

– PAT3 วันที่ 7 มี.ค. 2559 : คลิกที่นี่
– PAT3 วันที่ 31 ต.ค. 2559 : คลิกที่นี่

รายละเอียดวิชาที่ออกสอบ GAT/PAT : คลิกที่นี่
เว็บไซต์ สทศ. ผู้จัดสอบ GAT/PAT : www.niets.or.th
ข้อมูลจาก : www.admissionpremium.comwww.niets.or.th

PAT3 วิศวกรรมศาสตร์ ออกสอบอะไรบ้าง?

โดยคะแนนสอบ PAT3 นี้ จะถูกนำมาใช้ในการรับสมัครคัดเลือกผ่านระบบ TCAS ตั้งแต่รอบที่ 2 รับแบบโควตา, รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบที่ 4 แอดมิชชัน (ส่วนในรอบที่ 5 รับตรงอิสระ จะขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยว่าจะเลือกใช้คะแนนสอบ PAT3 ด้วยหรือไม่ ดังนั้นน้อง ๆ จะต้องติดตามรายละเอียดกันให้ดีก่อนเลือกสมัครด้วยนะจ๊ะ) อย่ารอช้า! ตามมาดูเทคนิคการสอบ PAT3 ยังไงให้ได้คะแนนเต็มกันดีกว่า

รูปแบบข้อสอบ PAT3

สำหรับข้อสอบ PAT3 มีจำนวนทั้งหมด 70 ข้อ แบ่งออกเป็นข้อสอบแบบปรนัยมีตัวเลือก 5 ข้อ จำนวน 60 ข้อ (ข้อละ 4 คะแนน) และเป็นแบบอัตนัย 10 ข้อ (ข้อละ 6 คะแนน) รวม 300 คะแนนเต็ม ใช้เวลาในการทดสอบ 180 นาที

อยากเรียนต่อ วิศวกรรมศาสตร์ PAT3 ออกสอบอะไรบ้าง?

PAT3 ออกสอบเรื่องอะไรบ้าง?

1. คณิตศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตร์)

สำหรับข้อสอบในส่วนนี้ประกอบด้วยเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็น แคลคูลัส ลำดับอนุกรรม และ Expo/Log (ซึ่งทั้ง 3 เรื่องเป็นส่วนของเนื้อหาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก) และเนื้อที่มีความสำคัญรองลงมาก็คือ เรขาคณิต ฟังก์ชัน การแก้สมการแบบต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้น้อง ๆ อย่าลืมนะว่า PAT3 เป็นข้อสอบความถนัดทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นข้อสอบนี้จะเน้นด้าน คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม เป็นส่วนใหญ่

2. ฟิสิกส์

ข้อสอบในส่วนของวิชาฟิสิกส์ จะประกอบไปด้วย ไฟฟ้า (ออกทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ) แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง เสียง กลศาสตร์ แรง มวล การเคลื่อนที่ พลังงาน ก๊าซและความร้อน ของเหลวและของไหล ซึ่งจะเป็นข้อสอบที่ออกทั้งในแบบโจทย์คำนวณหาค่าและการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ตามที่โจทย์ให้มา ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะอ่านและฝึกทำข้อสอบในส่วนนี้เยอะ ๆ

3. เคมี

ข้อสอบในวิชานี้จะประกอบด้วยเรื่องเคมี สาร และสมบัติของสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กรด-เบส ปริมาณสารสัมพันธ์ ไฮโดรคาร์บอน และพันธะเคมี ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 4 เรื่องมีความสำคัญมาก เพราะออกสอบเกินครึ่งอย่างแน่นอนในรายวิชานี้

4. ความรู้พื้นฐานด้านวิศวะ

ในส่วนนี้จะเป็นข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับ การเขียนแบบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม วิธีคิดแบบวิศวะ และความรู้ทั่ว ๆ ไปทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบแนวการคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์

อยากเรียนต่อ วิศวกรรมศาสตร์ PAT3 ออกสอบอะไรบ้าง?

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ

1. เวลาน้อย ต้องจำสูตรให้ได้มากที่สุด

อย่างแรกเลย น้อง ๆ จะต้องขยันอ่านหนังสือก่อนเลย โดยจะต้องพยายามที่อ่านไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ห้ามเบื่อ ห้ามขี้เกียจ เนื่องจากข้อสอบ PAT3 เป็นวิชาที่มีสูตรค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ดังนั้นน้อง ๆ จะต้องจำสูตรต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เมื่อน้อง ๆ ไปเจอข้อสอบจริงแล้วจะได้ไม่เสียเวลามานั่งนึกสูตร เพราะน้อง ๆ มีเวลาเฉลี่ยในการทำข้อสอบแต่ละข้อไม่เกิน 2-3 นาที

2. ฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ

เมื่อเราอ่านจนเข้าใจและจำสูตรต่าง ๆ ได้แล้ว ขั้นต่อมาก็มาลองฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังกันได้เลย (ทั้งนี้ต้องจับเวลาในการทำข้อสอบด้วยนะ โดยใช้เวลาในการทำแต่ละข้อไม่เกิน 2-3 นาที) เพื่อเป็นการเพิ่มความชำนาญและความเข้าใจในการทำข้อสอบให้ทันเวลา และมีความถูกต้องมากที่สุด

3. เลือกทำข้อที่ง่ายก่อน เป็นอันดับแรก

เมื่อน้อง ๆ ได้ข้อสอบมาแล้ว ให้เปิดดูก่อนเลยว่าข้อไหนที่เราพอจะทำได้บ้าง หรือข้อที่มั่นใจว่าเราทำได้ถูกต้องแน่นอน ส่วนข้อไหนยากทำไม่ได้ก็ให้ข้ามไปก่อนเลย เพราะถ้าเราเลือกทำข้อยากจะทำให้เสียเวลามาก และอาจจะทำให้เราทำข้อสอบไม่ทัน อีกด้วย เมื่อเราไล่ทำข้อที่มั่นใจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่อยย้อนกลับมาทำข้อยากที่เว้นเอาไว้

4. เลือกทำข้ออัตนัยก่อน เพราะคะแนนเยอะ

ข้อสอบถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบแบบอัตนัยและข้อสอบแบบปรนัย ส่วนที่น้อง ๆ ควรเลือกทำก่อนเลยก็คือ ส่วนอัตนัย เพราะเป็นส่วนที่มีคะแนนเยอะกว่า มีคะแนนข้อละ 6 คะแนน แต่ข้อสอบในส่วนของปรนัย มีคะแนนข้อละ 4 คะแนนเท่านั้น เวลาที่ควรใช้ในการทำข้อสอบอัตนัยควรใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และเวลาที่เหลือให้กลับไปทำข้อสอบปรนัย

5. นอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอ

งง! กันใช่ไหมว่าทำไมจะต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย นอกจากน้อง ๆ จะต้องเตรียมให้พร้อมในด้านเนื้อหาความรู้แล้ว ด้านร่างกายก็สำคัญเช่นกัน เพราะถ้าเราพักผ่อนไม่พอหรืออดนอนไปสอบ อาจจะทำให้สมองเบลอได้ จนทำข้อสอบไม่ได้ในที่สุด ดังนั้นคืนวันก่อนสอบน้อง ๆ ควรที่จะนอนให้พอประมาณ 7-8 ชั่วโมง

สูตรลัดจำง่าย! ภายใน 1 นาที! ความแตกต่างระหว่างโมลอะตอม VS โมลโมเลกุล

Link : https://seeme.me/ch/chemkrunas/qArJQk?pl=DBVZ7D

บทความที่น่าสนใจ