ฟรีแลนซ์

7 ความเสี่ยงที่เราจะต้องเจอ เมื่อตัดสินใจทำอาชีพ ฟรีแลนซ์

Home / บทความการทำงาน / 7 ความเสี่ยงที่เราจะต้องเจอ เมื่อตัดสินใจทำอาชีพ ฟรีแลนซ์

เชื่อได้เลยว่า เพื่อน ๆ หลายคนที่กำลังทำงานประจำหรือเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่นั้น จะต้องเคยปัญหาในการที่ทำงานหรืองานที่ทำกันอยู่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อนในที่ทำงาน เจ้านายหรือหัวหน้างาน และงานที่รับผิดชอบที่มีปัญหาให้เราจะต้องคอยแก้อยู่ตลอด และปัญหาเหล่านี้เองที่ทำให้หลาย ๆ คน เริ่มคิดที่จะหันมาทำงานฟรีแลนซ์กันมากยิ่งขึ้น

อาชีพ ฟรีแลนซ์ กับความเสี่ยงที่จะต้องเจอ

การทำงานแบบฟรีแลนซ์ เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คนที่อยากจะทำ เพราะมีอิสระสูง สามารถเลือกรับงานเองได้ตามความต้องการ ไม่ต้องนั่งทำงานอยู่ในที่เดิม ๆ ตลอดสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และไม่ต้องเข้าออฟฟิศ รีบเดินทางในตอนเช้า ไม่ต้องเจอรถติด…

7 ความเสี่ยงที่จะต้องเจอเมื่อตัดสินใจ ทำอาชีพ ฟรีแลนซ์

อย่างไรก็ตามการทำงานแบบฟรีแลนซ์ ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะเมื่อเราจะต้องเลือกรับงานเองนั้น มันไม่ได้มีอะไรมารับประกันว่ารายได้ของเราในแต่ละเดือนจะได้เท่าไหร่ (เป็นรายได้ที่ไม่ตายตัว) บางเดือนอาจจะได้มาก แต่บางเดือนอาจจะได้น้อย ดังนั้น มาดูกันดีกว่าข้อจำกัด ความเสี่ยง ในการทำงานฟรีแลนซ์มีอะไรกันบ้าง?

1. การเจรจางาน

เรื่องการเจรจางาน ถ้าเราทำงานประจำบริษัทก็จะมีฝ่ายการตลาดและหัวหน้าเป็นผู้เจรจาตกลงการทำงานในแต่ละชิ้น และเลือกหน้าที่การทำงานหรือตำแหน่งหน้าที่งานมาให้เราได้ทำ แต่ถ้าเราเลือกที่จะมาเป็นฟรีแลนซ์หน้าที่ในการเจรจางานก็จะเป็นของเราเพียงคนเดียว ซึ่งบางครั้งในการเจรจาหรือทำข้อตกลงในการทำงานก็เป็นสิ่งที่ยากและค่อนนข้างมีรายละเอียดมากเลยทีเดียว เพราะเราจะต้องดูในหลาย ๆ ด้านให้ไม่โดนเอาเปรียบและเป็นกลางกับเรามากที่สุด

2. การแก้ไขงาน

สำหรับเหตุการณ์ที่โดนแก้ไขงานต้องเจอกันอย่างแน่นอน เพราะหากเป็นงานประจำเราจะมีหัวหน้าเป็นผู้ตรวจสอบดูแลงานก่อนส่งให้ลูกค้า แต่ถ้าเราต้องมาทำทุกอย่างเองลูกค้าจะเป็นผู้ที่ตรวจงานเอง ดังนั้นก่อนเริ่มลงมือทำงาน ถ้าเราไม่มีการตกลงที่ดีก็จะต้องเจอเหตุการณ์ที่เรียกว่าแก้งานไม่รู้จักจบสิ้นอย่างแน่นอน เราควรที่จะต้องกำหนดครั้งในการแก้ไขงานไปอย่างชัดเจนก่อนเริ่มงานเลย

7 ความเสี่ยงที่จะต้องเจอเมื่อตัดสินใจ ทำอาชีพ ฟรีแลนซ์

3. ปริมาณงานที่ไม่แน่นอน

สำหรับการทำงานเป็นฟรีแลนซ์ อีกหนึ่งสิ่งที่เราจะต้องเจอกันอย่างแน่นอนก็คือ ปริมาณงานที่ไม่แน่นอน บางเดือนอาจจะได้เยอะ แต่บางเดือนก็ได้น้อย หรือไม่มีเลย จึงส่งผลต่อรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือนที่มีความไม่แน่นอนตามไปด้วย ทั้งนี้เราควรที่จะต้องมีการบริหารจัดการเรื่องงานและเงินในแต่ละเดือนเป็นอย่างดี ไม่งั้นได้กินแกลบกันแน่

4. ฟรีแลนซ์ ทำงานคนเดียว

อย่างที่เรารู้กันว่าการเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์งเงินเดือนจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แต่การทำงานฟรีแลนซ์เราจะต้องทำงานคนเดียว บางครั้งในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ก็อาจจะมาเจอทางตันได้ หรือมีความรู้สึกเหงา ๆ บ้างก็มี ดังนั้นเราควรที่จะต้องเปลี่ยนที่นั่งทำงานบ้าง ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานที่บ้านอย่างเดียว อาจจะออกไปทำงานที่ร้านกาแฟ ห้องสมุด ร้านคาเฟ่ หรือออกไปเจอสังคมใหม่ ๆ ก็สามารถช่วยทำให้การทำงานของเรามีความสุขมากยิ่งขึ้น คิดงานได้ดีกว่าเดิม

5. สวัสดิการต่าง ๆ ของฟรีแลนซ์

เรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของฟรีแลนซ์นั้น ไม่เหมือนกับพนักงานประจำ เช่น สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันสังคม และเงินสะสม (กองทุน) ฯลฯ ถ้าเป็นพนักงานประจำบริษัทก็จะเป็นคนที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ให้กับเรา แต่ถ้าเราทำงานเป็นฟรีแลนซ์เราจะต้องดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ เอง รวมไปถึงเรื่องการเสียภาษีด้วยก็จะต้องจัดการเองทั้งหมดเหมือนกัน

7 ความเสี่ยงที่จะต้องเจอเมื่อตัดสินใจ ทำอาชีพ ฟรีแลนซ์

6. มีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน

ฟรีแลนซ์ เป็นอาชีพที่มีเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน เพราะบางครั้งถ้ามีงานด่วนเข้ามาเราก็จะต้องนั่งทำงานข้ามวันข้ามคืนกันเลยก็มี หรือบางคนอาจจะรับงานเยอะจนเกินไปจนล้นมือก็จะต้องเร่งมือทำให้เสร็จตามระยะเวลาที่ได้กำหนดส่งงานเอาไว้ (ระวังงานที่ทำออกมาจะไม่ดี แล้วจะถูกให้แก้ไขนะ ยิ่งทำให้เราทำงานช้าเข้าไปอีก) ดังนั้นเราตวรที่จะต้องบริหารเวลาให้ดีด้วย

7. เป็นฟรีแลนซ์ ไม่มีโบนัส

สำหรับฟรีแลนซ์ เป็นอาชีพที่ไม่มีโบนัส หรือค่าตอบแทนอะไรในช่วงสิ้นปีเหมือนกับพนักงานประจำทั่วไป ที่นายจ้างจะมอบให้กับพนักงานเป็นประจำทุกปี (ทั้งนี้โบนัสในแต่ละบริษัทจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการในแต่ละปีด้วย) และนี่ทำให้เราจะต้องมีการบริหารจัดเงินที่ได้มาในแต่ละงานให้เป็นอย่างดี เพื่อเก็บสำรองเอาไว้ใช้ในยามที่จำเป็น

ทุกคนจะเห็นได้ว่าการเป็นฟรีแลนซ์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องมีหัวงานมาค่อยบ่นหรือคอยจี้ให้เราทำงาน ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ แต่งานในแบบฟรีแลนซ์ก็จะมีระยะเวลาในการทำงานเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง และลูกค้าที่จะเป็นคนตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของงานที่เราส่งไปว่าเป็นอย่างไร เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

ที่มา : https://moneyhub.in.th

Written by : Toey

บทความที่น่าสนใจ