ssru นักศึกษา นักเรียน ผลสำรวจวันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา วันสำคัญ

อึ้ง!! ผลสำรวจ จาก มร.สส. ชี้ เด็กไทยเกินครึ่ง ไม่รู้ว่า ‘วันวิสาขบูชา’ สำคัญอย่างไร?

Home / วาไรตี้ / อึ้ง!! ผลสำรวจ จาก มร.สส. ชี้ เด็กไทยเกินครึ่ง ไม่รู้ว่า ‘วันวิสาขบูชา’ สำคัญอย่างไร?

วันวิสาขบูชา มีความสำคัญอย่างไร? เด็กๆ ในยุคดิจิทัลหลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าในวันวิสาขบูชานั้นเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือเกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรขึ้นบ้างในวันนี้ หรือบางคนก็อาจจะรู้แค่วันนี้เป็นวันสำคัญของชาวพุทธที่ต้องไปทำบุญตักบาตร เวียนเทียนกันเพียงเท่านั้น และจากถิติการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2554 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุว่า ชาวไทยอายุตั้งแต่ 13 ปี ขึ้นไปที่นับถือศาสนาพุทธมีอยู่มากถึง ร้อยละ 94.6 (อิสลาม ร้อยละ 4.6, คริสต์ ร้อยละ 0.7 และอื่นๆ ร้อยละ 0.1)

ผลสำรวจชี้! เด็กไทยไม่รู้จักวันวิสาขบูชา

ล่าสุดสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา โดยอาศัยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา จำนวน 930 คน ในกรุงเทพฯ แบ่งเป็นชายร้อยละ 55.5 และหญิงร้อยละ 45.5 โดยร้อยละ 95.3 กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา

สำหรับผลการสำรวจที่ได้มานั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างเยาวชน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ถึงร้อยละ 52.5 รู้ว่า วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่ก็ยังมีเยาวชนอีกกว่าร้อยละ 34.0 ที่บอกว่า “ไม่ทราบ/จำไม่ได้” ร้อยละ 8.4 เข้าในว่า “เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์” และร้อยละ 5.2 เข้าใจว่าเป็น “วันที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาพุทธ โดยแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5”

ซึ่งสามารถรวมจำนวนเยาวชนส่วนใหญ่ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า ที่ไม่รู้หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันวิสาขบูชามีมากถึงร้อยละ 47.6 

ส่วนความตั้งใจที่จะปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชานั้น ร้อยละ 44.1 ระบุว่า จะทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ร้อยละ 44.9 จะไปเวียนเทียนในตอนค่ำ ร้อยละ 24.9 งดดื่มเหล้าและอบายมุขอื่นๆ ร้อยละ 26.0 ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 16.2 ดำเนินชีวิตปกติ และอีกร้อยละ 0.9 ระบุว่า “อื่นๆ”

อ่านประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชา : คลิกที่นี่

———————-

ข้อมูลจาก Facebook : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ผลสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม