การจัดอันดับ การทำงาน นักศึกษาจบใหม่ วิทยาศาสตร์ อาชีพ

เรียนจบ ไม่ตกงานแน่นอน 10 อาชีพด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศไทยขาดแคลนหนัก

Home / บทความการทำงาน / เรียนจบ ไม่ตกงานแน่นอน 10 อาชีพด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศไทยขาดแคลนหนัก

น้องๆ บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การเรียนต่อในระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ในบางสาขาจบมาแล้วต้องทำงานเกี่ยวกับอะไรได้บ้าง? ซึ่งก็ทำให้น้องๆ ไม่สนใจที่จะเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ เพราะบางคนอาจจะคิดว่าเรียนจบมัธยมในสายวิทย์-คณิตมานั้น ก็ต้องเรียนต่อได้เฉพาะ หมอ พยาบาล ฯลฯ

จบคณะวิทยาศาสตร์ ทํางานอะไรได้บ้าง?

10 อาชีพน่าสนใจ สำหรับเด็กวิทย์

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาขาอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ อาจจะไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่นั้น สามารถเรียนจบมาแล้วเป็นนักวิจัย ทดลอง และพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้อีกมากมายเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย จะมีอาชีพอะไรบ้าง? ตามมาดูกันเลย… โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ได้ระบุว่า 10 อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่กำลังขาดแคลนอยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้

1. นักคิดค้นหรือนักเคมีปรุงยา

ทำหน้าที่ในการผลิตยาและด้านเภสัชภัณฑ์ต่างๆ ตรวจสอบมาตรฐานของวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพยาระหว่างการผลิต และตรวจสอบ ควบคุมระบบโรงงานการผลิตยาและเครื่องสำอางในฝ่ายต่างๆ ตามมาตรฐานสากล เช่น GMP หรือ PICS เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทำการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จำหน่ายในท้องตลาดอีกด้วย

2. นักธรณีวิทยาปิโตเลียม

สำหรับอาชีพนี้ จะทำหน้าที่ในการสำรวจ ค้นหา และช่วยพัฒนาแหล่งกักเก็บปิโตเลียม โดยบุคลากรส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ

10 อาชีพ วิทยาศาสตร์

3. นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร

ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหาร และยังต้องทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ พร้อมทั้งต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด

4. นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องสำอาง

ต้องทำหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย พัฒนา เครื่องสำอาง ครีม แชมพู สบู่ และอื่นๆ

5. นักนิติวิทยาศาสตร์

ทำหน้าที่ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกาย และวัตถุพยาน เพื่อช่วยในการค้นหาความจริง ในการสืบคดีต่างๆ นั่นเอง

6. นักปรับปรุงพันธุ์พืช

ทำหน้าที่ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ และได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติ

7. นักออกแบบผลิตภัณฑ์

ทำหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยอาจใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์ สร้างแบบจำลองและทดลองทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เขียนเทคนิควิธีการประกอบแบบระบบพิกัด พร้อมทั้งขั้นตอนในการปฏิบัติในโรงงาน ประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีราคาย่อมเยาสำหรับผู้ใช้

8. นักวิศวกรชีวการแพทย์

ทำหน้าที่อออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และนำมาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในองค์กร

9. นักพัฒนาซอฟต์แวร์

ออกแบบ วางแผนพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม

10. นักออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว

ทำหน้าที่ วาดตัวละครหรืองานออกแบบต่างๆ ออกมาเป็นภาพบนแผ่นฟิล์ม โดยใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ให้สัมพันธ์กับตำแหน่ง เพื่อสร้างสรรค์เป็นภาพเคลื่อนไหวต่อไป

โดยน้องๆ จะเห็นได้ว่า ทั้ง 10 อาชีพล้วนมีความสอดคล้องกับเทรนด์การทำงานในอนาคตอีกด้วย ได้แก่ เทรนด์สุขภาพ เทรนด์ดิจิตอล และเทรนด์อาเซียน ดังนั้น น้องๆ ควรจะเลือกเรียนสาขาที่สอดคล้องกับเทรนด์งานในอนาคต เพื่อให้ได้งานทำที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : www.matichon.co.th, www.admissionpremium.com