chula จุฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ศิลปากร

เรียนคณะอักษรศาสตร์ที่ไหนดี ระหว่าง จุฬาฯ VS ศิลปากร

Home / วาไรตี้ / เรียนคณะอักษรศาสตร์ที่ไหนดี ระหว่าง จุฬาฯ VS ศิลปากร

น้องๆ หลายคนคงกำลังมองหา คณะที่ใช่ มหาลัยที่ชอบกันอยู่ใช่มั้ยช่วงนี้ สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งจบชั้นมัธยมมาหมาดๆ ใครกำลังสนใจ คณะอักษรศาสตร์ อยู่ วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากจ้า… เพราะคณะอักษรศาสตร์ของไทยมีเพียงแค่ 2 มหาลัยในประเทศไทยเท่านั้นที่เปิดสอน แต่มหาวิทยาลัยไหนจะมีความโดดเด่นด้านไหน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรนั้นเรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า …

เรียนคณะอักษรศาสตร์ที่ไหนดี ?

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติความเป็นมา

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยเป็นหนึ่งในสี่คณะ ที่กำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อแรกเริ่มมีชื่อว่า “คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์” ทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่คณะอื่นๆ ต่อมาได้รับภาระผลิตครูมัธยมสายอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรประโยคครูมัธยม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2477 คณะอักษรศาสตร์จึงเริ่มเปิดหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีทั้งหมด 14 สาขาวิชาได้เลือก ได้แก่

– สาขาวิชาภาษาไทย
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาประวัติศาสตร์
– สาขาวิชาภูมิศาสตร์
– สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา
– สาขาวิชาศิลปการละคร
– สาขาวิชาปรัชญา
– สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต
– สาขาวิชาภาษาจีน
– สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
– สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
– สาขาวิชาภาษาสเปน
– สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน

นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชาที่เปิดสอนให้เลือกเรียนเป็นวิชาโท หรือเลือกเสรี เช่น ไทยศึกษา ยุโรปศึกษา อเมริกาศึกษา ภาษารัสเซีย ภาษาเกาหลี ภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาโปรตุเกส ภาษาอาหรับ และมีหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอกด้วยเช่นกัน

113713859

จุดเด่น และการเรียนการสอน

จุดเด่นในเรื่องของการเรียนการสอน อย่างแรกที่จะเห็นได้เลยก็คือ ที่นี่มีสาขาวิชาให้เลือกมากมาย คนมักจะเข้าใจผิดว่า อักษรศาสตร์คือการเรียนเรื่องภาษา แต่จริงๆ แล้วภาษาเป็นวิชาพื้นฐานที่สอนให้บัณฑิตมีความรู้รอบในด้าน มนุษยศาสตร์ เช่น รู้รอบด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น ทำให้สามารถถ่ายทอด และสื่อสารต่อไปให้ผู้อื่นได้ในอีกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การบรรยาย หรือการสื่อสารต่างๆ

คณะอักษรศาสตร์ของที่นี่นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีความโดดเด่นมากที่สุด เป็นคณะที่สามารถชิงเกียรตินิยมได้มากที่สุด และไม่ว่าจะเรียนสาขาวิชาไหนก็ตามจะต้องเจอ วิชาภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 3 ตัวในปีแรก ซึ่งคณะนี้จะเน้นอยู่แล้วทั้งเรื่องเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทั้งในแง่การเขียนและการวิเคราะห์ ในขณะที่ช่วงสองปีหลังจะเน้นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นตามเอกที่เลือกเรียน เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

เครดิต : www.arts.chula.ac.th
————————————–

silpakorn01

มหาวิทยาลัยศิลปากร : ประวัติความเป็นมา

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ก่อตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัย และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยเป็นหนึ่งในสองคณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เปิดสอน มีทั้งหมด 15 สาขาวิชา ได้แก่

– สาขาวิชาประวัติศาสตร์
– สาขาวิชาภาษาไทย
– สาขาวิชาภาษาเกาหลี
– สาขาวิชาภาษาจีน
– สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
– สาขาวิชาบรรณรักษ์และสารสนเทศศาสตร์
– สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
– สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
– สาขาวิชาภูมิศาสตร์
– สาขาวิชานาฎศาสตร์
– สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
– สาขาวิชาเอเชียศึกษา

silpakorn4

จุดเด่น และการเรียนการสอน

คณะอักษรศาสตร์ จะมีการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกับ คณะมนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ คือเรียนภาษา และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ความคิด และวัฒนธรรม อันจะทำให้มนุษย์เข้าใจตัวเองมากขึ้น และรู้ซึ้งถึงรากเหง้าของความเป็นคน และเน้นไปในเรื่องของวรรณคดี ประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ สำหรับสาขาของคณะก็มีให้เลือกไม่น้อย ถึง 15 สาขาวิชาด้วยกัน โดยช่วงปีแรกของการเรียนจะยังไม่มีการแยกเอก จะมาเลือกกันจริงจังตอนปี 2 ซึ่งทุกภาษาที่สอนที่นี่ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานจากตอนมัธยมก็ได้ สามารถมาเริ่มเรียนที่นี่ใหม่ได้เลย

เครดิต : etwas-labyrinth.exteen.com/20130407/entry

ติดตาม Campus Battle จุฬาฯVSศิลปากร ได้ที่นิตยสาร Campus Star No.24