บรรยากาศน่าเรียน มหาวิทยาลัย อาคารสวย

11 อาคารสวย มหาวิทยาลัยไทย ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ที่ใดในโลก

Home / มุมต่างๆ มหาวิทยาลัย / 11 อาคารสวย มหาวิทยาลัยไทย ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ที่ใดในโลก

เรามักจะได้เห็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่สวยที่สุดในโลกกันเป็นประจำทุกปี หรืออาจจะเป็นเรื่องของบรรยากาศน่าเรียนกันมาบ้างแล้ว ครั้งนี้เราเลยขอแนะนำ 11 มหาวิทยาลัยไทยที่มีอาคารสวย งดงาม อลังการ ซึ่งมีทั้งที่เป็นอาคารเก่าอันทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน หรือเป็นอาคารที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบโจทย์ต่อความต้องการของนักศึกษามากยิ่งขึ้น ว่าแต่จะมีที่ไหนกันบ้าง? ถ้าพร้อมแล้วก็ไปชมความสวยงามของอาคารสวยๆ ในมหาวิทยาลัยไทยกันได้เลย

อลังการมาก 11 อาคารในมหาวิทยาลัย

1. อาคารเทวาลัย คณะอักษรศาสตร์

: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารเทวาลัย คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารเทวาลัย หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สวยงดงาม และมีกลิ่นอายประวัติศาสตร์จารึกอยู่ทุกหนทุกแห่ง รวมถึงประติมากรรมที่งดงามและทรงคุณค่าของชาติ ไม่ว่าจะเป็นศิลาพระฤกษ์ตราแผ่นดินประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หน้าบันมุขด้านเหนือตราจักรตรีประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ที่อกครุฑหน้าบันทิศเหนือและทิศใต้ รูปแกะสลักพระสุรัสวดี (เทพีแห่งวิชาการ) นั่งบนหลังนกยูง

อาคารเทวาลัย คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. Bu Diamond

: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Bu Diamond : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อาคารรูปทรงเพชร ที่โดดเด่น ทันสมัย เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนเกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมาจากบรรยากาศที่ดี สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ตัวอาคารเรียนก็มีส่วน จึงเป็นต้นกำเนิดของ Bu Diamaond หรือ Landmark ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มาจาก “เพชร” ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนั่นเอง

Bu Diamond : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Bu Diamond : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

3. ศาลาดนตรีสุริยเทพ

: มหาวิทยาลัยรังสิต

ศาลาดนตรีสุริยเทพ : มหาวิทยาลัยรังสิต

ศาลาดนตรีสุริยเทพ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังประติมากรรม “สุริยเทพ หรือ เทพพระอาทิตย์” บนพื้นที่ 10 ไร่ ภายในอาคารออกแบบโดยคำนึงถึง ความหรูหราและความเรียบง่าย สะอาดตา การประดับผนังใช้แสงเงาจากไฟย้อมให้เกิดมิติ Patern เส้นแนวตั้งให้จังหวะเหมือนสายฝน โดยออกแบบผสมผสานลวดลายฉลุแบบฝรั่ง ที่มีกลิ่นไอในยุคบาร์โร๊ค สถานที่ที่เชื่อมระหว่างมิติด้านการเรียน การสอนให้แก่นักศึกษาได้โบยบินสู่โลกแห่งดนตรี และภายในอาคารยังมีโรงละครขนาดความจุ 1,100 ที่นั่ง เป็นโรงละครที่มีความทันสมัยด้วยระบบ แสง สี เสียง ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในไทย

ศาลาดนตรีสุริยเทพ : มหาวิทยาลัยรังสิต

ศาลาดนตรีสุริยเทพ : มหาวิทยาลัยรังสิต

4. อาสนวิหารแห่งการเรียนรู้

: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

อาสนวิหารแห่งการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

อาสนวิหารแห่งการเรียนรู้ หรือเรียกสั้นๆ ว่าตึก CL อาคารเรียน 39 ชั้น ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ เป็นตึกเรียนที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ภายในตกแต่งอย่างสวยงาม และยังเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

อาสนวิหารแห่งการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

อาสนวิหารแห่งการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

5. อาคารสายสุทธานภดล

: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาคารสายสุทธานภดล : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาคารสายสุทธานพดล หรือตึก 27 ซึ่งเป็นอาคารที่งดงาม ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ เดิมเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระวิมาดาเธอกรม พระสุทธาสินีนาฏปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงทำให้ สวนสุนันทา เป็นศูนย์รวมของราชสำนักฝ่ายใน ปัจจุบันใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมด้านต่างๆ เช่น นาฏศิลป์ ดนตรี คหกรรม งานฝีมือต่างๆ และยังเป็นที่รวบรวมภาพเขียนสีน้ำ ซึ่งเป็นฝีมือของคุณข้าหลวงในวังสวนสุนันทา เป็นต้น

อาคารสายสุทธานภดล : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาคารสายสุทธานภดล : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

6. สำนักหอสมุด (อาคาร 40 ปี)

: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักหอสมุด (อาคาร 40 ปี) : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตั้งอยู่ในอาคาร 40 ปี (อาคาร 11) มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีพิื้นที่บริการที่โซน C ของชั้น 3 – 7 รวมเนื้อที่ 7,640 ตารางเมตร แต่ละชั้นได้มีการจัดการพื้นที่เป็นสัดส่วน ประกอบด้วยพื้นที่นั่งอ่าน ที่นั่งพักผ่อน ห้องศึกษากลุ่ม ห้องสันทนาการ และโซนอินเทอร์เน็ต สำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

สำนักหอสมุด (อาคาร 40 ปี) : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักหอสมุด (อาคาร 40 ปี) : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

7. มหิดลสิทธาคาร

: มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหิดลสิทธาคาร : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

อาคารหอประชุม ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,450 ล้านบาท ออกแบบโดยใช้แนวคิดโครงสร้างเชิงกายภาพของมนุษย์ โดยใช้ดอกกันภัยมหิดลเป็นต้นแบบ หลังคามี 2 ชั้น ชั้นในใช้วัสดุพิเศษเพื่อป้องกันเสียงจากภายนอก ส่วนหลังคาชั้นนอกใช้วัสดุทองแดงเช่นเดียวกับพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยสามารถใช้เป็นหอแสดงดนตรี โรงละคร หอประชุม และสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยได้

มหิดลสิทธาคาร : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหิดลสิทธาคาร : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

8. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ก่อสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในหลวงรัชกาลที่ 9 (ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542) บนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม ประกอบด้วยอาคารใหญ่ที่เป็นอาคารหลัก 1 หลัง และอาคารรองอีก 5 หลัง อาคารหลักเป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมใหญ่ เพดานแปดเหลี่ยมรูปรีซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผนังและประตูกรอบไม้สักกรุด้วยผ้า เป็นแหล่งให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่ทางด้านศิลปะ และวัฒนธรรมไทย

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา : มหาวิทยาลัยศิลปากร

9. หอประชุมพญางำเมือง

: มหาวิทยาลัยพะเยา

หอประชุมพญางำเมือง : มหาวิทยาลัยพะเยา

หอประชุมประจำมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามของท้องฟ้าและขุนเขา เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์ไต” แต่ในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่สำหรับพระราชทานปริญญาบัตร และใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

หอประชุมพญางำเมือง : มหาวิทยาลัยพะเยา

หอประชุมพญางำเมือง : มหาวิทยาลัยพะเยา

10. ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก

: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์ประชุมแห่งนี้ จัดสร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโอกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ลักษณะของตัวอาคารถูกออกแบบเป็นทรงกูบเกวียนอีสาน ประยุกต์จากเอกลักษณ์ของรูปทรงแต่ดั้งเดิมอย่างงดงาม ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางธรรมชาติริมบึงสีฐานและป่าพยอม สถานที่สำคัญที่ใช้จัดงานพีธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในทุกปีอีกด้วย

ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

11. อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา

: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสร้างในมหาวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา และยังได้รับรางวัลชมเชย สาขาสถาปัตยกรรมหลัก CDAST DESIGN AWARD 2014 ภายนอกเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยประยุกต์จากสัดส่วนวิหารล้านนามาอยู่ในรูป 9 เหลี่ยมแต่ก็เลือกใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่น้อยที่สุดลดการประดับตกแต่งใด

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง 

—————————————-

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : IG @rangsituniversity, Facebook Khon Kaen Universitywww.bu.ac.thwww.artbangkok.comfreesplans.blogspot.com,
www.au.edumahidol.ac.thae49.co.thwww.manager.co.thwww.chula.ac.th,
www.uplanet.ssru.ac.thwongwanich.blogspot.comwww.spu.ac.th