กิจกรรมการรับน้อง จุดประสงค์จริงๆ แล้วตั้งแต่ในอดีต จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นน้องได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ และทำความรู้จักกฎระเบียบ ทำความรู้จักสถานศึกษาต่างๆ เพื่อการเตรียมให้พร้อมก่อนเรียน น้องๆ จะได้รู้จักการปรับตัว รู้จักสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ชมภาพการ รับน้อง จุฬาฯ ในอดีต
สำหรับประวัติการรับน้องในประเทศไทยนั้น เริ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2474 ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์ กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์วิวาทกันขึ้น โดยผู้เล่นของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษแก่ผู้กระทำผิด
ต่อมาได้มีการพิจารณาไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ (ผู้ดูแลทั่วไป เป็นตำแหน่งในมหาวิทยาลัย) ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป ซึ่งในครั้งนั้นนิสิตแพทย์ส่วนมากก็ไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่างๆ
แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัย และเชื่อมความสามัคคีแทน
พิธียกโทษกลายมาเป็นประเพณีประจำคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือประเพณีรับน้องข้ามฟากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และได้ขยายวงกว้างออกไปยังหมู่คณะอื่นๆ จนกลายมาเป็นพิธีรับน้องที่เราเรียกกันในปัจจุบัน (อ้างอิงข้อมูลบล็อก supawan)
ภาพสมเด็จพระเทพฯ ตอนนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธร เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ของจุฬาฯ คณะอักษรศาสตร์ พระองค์เข้าร่วมกิจกรรมในแบบของ “น้ำใจน้องพี่สีชมพู” ตลอดทางเดินตามถนน ทรงร้องเพลงบูมจุฬา ฯ แสดงลิเก ลอดซุ้มจามจุรี ทานขนมที่รุ่นพี่ให้ และมาร่วมในพิธีรับน้องในหอประชุม ซึ่งมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ รับน้องใหม่
มีการทาแป้งด้วย
ชมภาพการรับน้อง ของจุฬาฯ ในอดีต
ชมภาพการรับน้อง ของจุฬาฯ ในอดีต
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :: www.oknation.net/blog/supawan