อ่านเลย! เกร็ดน่ารู้ รอบรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ” จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ของประเทศไทย เรื่องน่ารู้ของที่นี้ยังไม่หมดแค่นี้ ยังมีเรื่องให้เราได้เรียนรู้กันอีกมากมาย จะช้าอยู่ทำไม?! ตามมาอ่านกันเลยยยยยย

เรื่องน่ารู้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

– ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ในชื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม แม่โจ้

– ตรามหาวิทยาลัย รูปพระพิรุณทรงนาค

– สีประจำมหาวิทยาลัย เขียว ขาว เหลือง

– ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นอินทนิล

– อาจารย์ใหญ่ท่านแรก อำมาตโทคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) 1 ใน 3 เสือเกษตรไทย

– คำขวัญ “เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส

–  แม่โจ้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 (อดีตคือ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ตั้งแต่ปี 2518-2539)

– ลูกแม่โจ้รับน้องรวมทั้งมหาวิทยาลัยเด็กเอ็นฯ และต่อเนื่อง (สองปี) ไม่รับน้องแยกคณะ

– แม่โจ้เคยเป็น ร.ร.เตรียมม.เกษตรฯ (ตั้งแต่ปี 2477-2518)

– แม่โจ้มีประตูหนึ่งเรียกว่า “ประตูบางเขน” เนื่องจากสมัยก่อนแม่โจ้สอนเฉพาะระดับฝึกหัดครู เมื่อรับประกาศนียบัตรจากหอประชุม (โดม) แล้วจะเดินแถวออกทางประตูนี้ ซึ่งมากกว่า 90% จะไปเรียนต่อที่ ม.เกษตร บางเขน จึงเรียกประตูนี้ว่า “ประตูบางเขน” นั่นเอง

– ถ้าเรียนแม่โจ้ เวลาไปต่างจังหวัด ให้ใส่เสื้อที่มีสัญลักษณ์แม่โจ้เข้าไว้ คุณอาจได้กินข้าวหรือเหล้าฟรี เพราะจะมีศิษย์เก่ามาเลี้ยง

– เพลงชาติแม่โจ้คำร้องและทำนองคล้ายกับเพลง ร.ร.อำนวยศิลป์ เพราะคนแต่งเป็นศิษย์เก่าอำนวยศิลป์ แล้วมาเรียนที่แม่โจ้ ประมาณปี 2478-2479 เหงาๆ นึกถึงพระนครเลยฮัมเพลง ร.ร.เก่า พอดีรุ่นพี่ได้ยินเลยเอาแต่งเป็นเพลงประจำแม่โจ้

– น.ศ.ปีแรกต้องอยู่หอในทุกคน จะได้ดูแลง่ายๆ และทั่วถึง

– น.ศ.ที่อยู่หอ ห้ามรีดผ้าในห้อง ต้องออกมายืนต่อคิวกันรีดที่บันได (เป็นมาตรการป้องกันไฟไหม้)

– น.ศ.ที่อยู่หอ จะถูกตรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น มีการกำหนดกระทั่งวัตต์ที่ใช้ และเดซิเบลของวิทยุ เพื่อการประหยัดไฟและป้องกันการรบกวนห้องอื่น

– มองแว๊บเดียว สามารถรู้ได้ว่าผู้หญิงคนไหนเรียน ด้านบริหาร หรือ ด้านเกษตร (เป็นที่มาของนิยาม สวย ถึก และบึกบึน)

– ละครสถาปัตย์ เป็นคณะแรกที่ทำละคร และขึ้นชื่อเรื่องความฮา ขนาดแสดงที่มหาลัย ห่างจากเมืองสิบสามกิโล ยังมีคนแห่มาดู

– เด็กถาปัตย์ /ภูมิทัศน์ แทบทุกคน ขี่เวสป้าหรือรถโบราณ (เป็น stereotype ของเด็กคณะนี้ทุกมหาลัยก็เป็น)

– แม่โจ้ไม่มีห้องเชียร์ทุกรูปแบบ มีแต่ โดม เข้ากันไปทั้งปีเข้าพร้อมกันทุกคณะ

– แม่โจ้กว้างใหญ่ไพศาล แต่ส่วนมากเป็นฟาร์ม และมีป่าเป็นของตัวเอง ชื่อว่า “ป่าบ้านโปง”

– ผักผลไม้ฟรีตามฤดูกาล แต่ระวังยามล่ะ

– คติของเด็กโจ้คือ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” และทุกคนก็ยังจำขึ้นใจ (ไม่รู้จักคำว่า Karoshi สินะ)

– มีกฎของแม่โจ้อยู่ข้อนึงว่า “ห้ามใส่ชุดแม่โจ้เข้าเมือง” เป็นกฎที่สืบทอดกันมามากกว่า 70 ปี แต่น้อยคนนักที่จะรู้เหตุผล (มันเป็นกุศโลบายของรุ่นพี่สมัยก่อน เพื่อป้องกันการตีกันกับโรงเรียน วิทยาลัย อื่นๆนั่นเอง แต่ปัจจุบันไม่มีเหตุการณ์แบบนั้นแล้ว)

– เอกลักษณ์ซึ่งเป็นของลูกแม่โจ้มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม คือ “คาวบอย” เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการเกษตรและสัตวศาสตร์ ทุกปีจะมีงานคาวบอยไนท์ ลูกแม่โจ้ทุกคนจะแต่งชุดคาวบอยเข้าร่วมงาน ไม่เว้นแม้แต่อธิการบดี บางสาขาสามารถใส่ชุดคาวบอยเข้าเรียนได้ (แต่ต้องสุภาพและดูเรียบร้อย)

– ช่วงรับน้อง 7 วัน ทุกคนคิดว่ามัน โหด หิน เขี้ยว ไม่ไหวแล้ว ฯลฯ แต่เมื่อผ่านมันมาได้ จะมีเรื่องคุยยันชั่วลูกชั่วหลาน ศิษย์เก่าเจอกันครั้งใด ก็จะคุยกันแต่เรื่องรับน้องนี่แหละ

– การรับน้องไม่มีอะไรน่ากลัวและอันตรายจนเกินขอบเขต มีคณะอาจารย์ดูแลทุกกิจกรรม (แต่อาจารย์มากกว่า 90% จบจากแม่โจ้เองแหละ) โดยเฉพาะอธิการบดีแทบทุกคนของแม่โจ้ เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้นั่นเอง

– มีคนชอบถามกันเยอะว่า รับน้องที่นี่โหดมั้ย เป็นยังไงบ้าง เขาให้ทำอะไร มีใครตายไหม (ถ้าตายคงไม่มานั่งพิมพ์ อยู่นี่หรอก)อยากรู้จัง..ถ้าอยากรู้ ก็ต้องเข้ามาเรียนที่นี่เอง (ไม่ถึงตายหรอก แค่แขนขาด้วนเพราะทำระเบิดเพื่อเตรียมไว้รับน้องเท่านั้นเอง)

– ติดต่องานหรือขอรับข้อมูล ที่กระทรวงเกษตรฯ กรมที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ แหล่งอุทยาน ฯลฯ โดยใส่ชุดที่มีสัญลักษณ์แม่โจ้เข้าไป จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ! (รุ่นพี่เยอะมาก เดินไปทางไหนก็เจอ) และอาจโดนให้ร้องเพลงแม่โจ้ หรือทำกิจกรรมใดๆ (เช็ครุ่น) ก่อนที่จะได้ข้อมูล และตบท้ายด้วยการพาไปเลี้ยงข้าวอย่างดี

– นักศึกษาคณะภูมิทัศน์หรือสถาปัตย์ ต้องเคยผ่านการนอนค้างคณะทุกคน บางคนใช้เป็นที่หลับที่นอนทั้งเทอม (ส่วนอาบน้ำอาจกลับไปอาบที่หอในหรืออาบในห้องน้ำเอง หรือถ้าหน้าด้านพออาจอาบที่ก๊อกน้ำสนามหญ้าได้โดยเฉพาะนักศึกษาชาย)ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์ในการทำงาน จะเปิดเพลงดูหนังสนั่นคณะก็ไม่มีใครว่า (แต่ที่หอในว่าแน่)

– นักศึกษาแม่โจ้ จะคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้าหมาเตี้ยตัวผู้สีขาวแต้มจุดดำ นักศึกษาภูมิทัศน์ตั้งชื่อว่า “โคไข่” เพราะลักษณะขนแต้มเหมือนโคไทย-เดนมาร์ก มักจะชอบเดินตามแถวน้องใหม่ตอนรับน้องราวกับรุ่นพี่กำลังคุม โดยเฉพาะรุ่นน้องคณะบัญชีและท่องเที่ยว (อ้าว! ขี้หลีนี่หวา!)แม้ในปัจจุบันก็ยังเดินตามนักศึกษาสาวๆ สวยๆ เป็นว่าเล่น เพื่อตามไปส่งที่คณะ

– กีฬาแม่โจ้ นอกจากกีฬาที่ใช้แข่งกันทั่วไปแล้ว ยังมีกีฬาแนวเกษตรกรรมเช่น จับลูกวัว-ลูกหมูมัดเท้า ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เหวี่ยงแหจับปลา หรือแข่งกินสลัดผักจากแปลงเกษตร

– ช่วงงานเกษตรแม่โจ้ เป็นช่วงนาทีทองบริเวณแปลงเกษตรแม่โจ้มาก เพราะก่อนวันงานหนึ่งเดือน นักศึกษาคณะพืชผักจะช่วยกันเร่งดอกออกผลผลิต เพื่อรอเหล่าแม่บ้านลงไปจับจ่ายผลผลิต

– ศูนย์กีฬากาญจนภิเษก เคยมีศิลปินแนวอินดี้ชื่อดังมาเปิดการแสดงถึงสิบกว่าราย เช่น Lemon Soup, Tattoo Colour, กิ-วงนีซ, Morning Surfers, Red Twenty, ภูมิจิต, Slur, Sqweez Animal, Slot Machine, จุ๋ย จุ๋ยส์ ฯลฯ บางคนเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า “งานแฟตขนาดย่อม ที่แม่โจ้” ซึ่งศิลปินที่มาแสดงในงานนี้ลูกชายอธิการบดีเป็นคนติดต่อให้มาเล่นที่นี่

– บิว -กัลยาณี เจียมสกุล (แม่โจ้รุ่น 68) นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เคยเป็นนักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งของมหาวิทยาลัย วง”แม่โจ้แบนด์” และคว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน การประกวดร้องเพลงระดับอุดมศึกษาชิงแชมป์ประเทศไทยปี 2546

– ว่าน-ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง (แม่โจ้รุ่น 60 คณะบริหารธุรกิจฯ) นักแสดง/พิธีกร ก็เป็นศิษย์เก่าของแม่โจ้

– พี่อู๊ด (พิทักษ์ ราชจันทร์-แม่โจ้รุ่น 60) หัวหน้างานวินัยและพัฒนานักศึกษา กองกิจการนศ. และผู้ประพันธ์เพลงให้กับแม่โจ้ในวาระพิเศษต่างๆ หน้าตาละม้ายคล้าย Christian Bale!!!(ดาราชาวอังกฤษชื่อดัง ผู้รับเป็น Batman ภาคล่าสุด)

– แม่โจ้เคยเป็นเจ้าภาพงานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 หรือ “แม่โจ้เกมส์” เมื่อปี 2539

– ศูนย์กีฬากาญจนภิเษก เคยใช้เป็นสถานที่แข่งขันยิมนาสติก ในกีฬาซีเกมส์ เมื่อปี 2538

– ละครโทรทัศน์ เรื่อง “เมื่อดอกรักบาน” ได้มีการถ่ายทำหลายๆ ฉากในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่น ป่าบ้านโปง, อาคารพระช่วง (คณะการท่องเที่ยว), แปลงเกษตร ฯลฯ เพราะตามบทประพันธ์ พระเอกและพระรองในเรื่อง (กานต์กับตะวัน) เรียนที่แม่โจ้นั่นเอง

– วรรณกรรมเรื่อง “ร้อยป่า” จากบทประพันธ์ของ อรชร และพันธุ์ บางกอก เรื่องราวของ เสือ กลิ่นสัก พระเอกของเรื่องที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมเพื่อความถูกต้อง เนื้อเรื่องมีฉากและพูดถึง เสือ กลิ่นสัก เมื่อครั้งไปเรียนที่แม่โจ้ด้วย และที่นี่เองที่ทำให้เสือ กลิ่นสัก ได้เจอเพื่อน มิตรแท้ น้ำใจ และความหมายของลูกผู้ชาย (จนทำให้ใครหลายคนในยุคนั้น อ่านนิยายเรื่องนี้แล้วติดใจ อยากไปเรียนแม่โจ้กัน) เพราะ พันธุ์ บางกอก ก็เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ด้วยนั่นเอง

– เวอร์ชั่นภาพยนตร์ ของเรื่อง “ร้อยป่า” ก็มีฉากการถ่ายทำใน แม่โจ้ ด้วยเช่นกัน โดยเวอร์ชั่นแรกนั้นปี 2507 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และ เพชรา เชาวราษฏร์ และอีกเวอร์ชั่นในปี 2528 นำแสดงโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ และ ใหม่ เจริญปุระ

– ปลายปี 2528 องค์การนักศึกษาแม่โจ้ จัดงานฉายภาพยนตร์ “ร้อยป่า” ต้องฉายสามรอบ ไม่งั้นโรงแตก

– ปี 2543 นักศึกษา ไบโอเทค โดนมหาลัยห้ามทำเสื้อสาขา (เสื้อเขียว) เพราะมหาลัยกลัวการแตกแยกซึ่งปัจจุบันคณะวิทย์มีเสื้อสาขาแล้ว 7 สี
เด็กสาขาการตลาด จะเป็นที่รู้กันในนาม “14” และ “ละอ่อนกาด”

– ครูแอ๊ด ภานุทัต อภิชนาธง ศิลปินพื้นเมือง นักร้องวงเดอะสะล้อ และครูสะล้อ ซอ ซึง อันดับต้นของภาคเหนือ (ที่เห็นออกรายการคุณพระช่วยบ่อยๆ) มาสอนดนตรีพื้นเมืองกับเด็กชมรมศิลปวัฒนธรรมเสียเลย แถมให้แต่งเพลงมหาวิทยาลัยที่เป็นเพลงคำเมืองเพลงแรกด้วย ใช้คุ้มจริงๆ

– ละครสถาปัตย์ฯ จะถูกโปรโมตทุกปีในสถานที่ๆ มีคนพลุกพล่านส่วนใหญ่จะมาเเบบไม่ทันตั้งตัว ทำเอาคนบริเวณนั้นตั้งตัวไม่ทันเลย

– เคยมีนักข่าวเอา ฮ. มาบินทำข่าวรับน้องเหนือมหาวิทยาลัย ในวันที่ 7 แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะ แม่โจ้มี ปตอ.ปกป้องอาณาจักร

– ใครที่มีแฟนตอนอยู่หอในจะต้องรู้จัก ลานพักผ่อนหน้าเครื่องบำบัดน้ำเสียข้างหอ 5 ( ลาน LOVE ) เป็นอย่างดี เเละต้องคุ้นเคยกับป้าย หาม/ห้ามผู้ชายเข้าหลังเวลา 21.00 น. เพราะจุดนี้จะเป็นจุดจากลา

– หากเปรียบแม่โจ้เป็นอาณาจักร เเละนักศึกษาเป็นทหาร แม่โจ้จะเป็นอาณาจักรที่เกรียงไกร และมีเหล่าทหารที่เเข็งเเกร่ง

– เคยมีนักศึกษาหอในใช้อ่างซักผ้า เป็นอ่างอาบน้ำ โดยการเอาก้นลงไปเเช่ จุดเทียนเเละร้องเพลง กันตอนดึก

– หอชาย 4 เเละหอ ญ 6 ฝั่งที่หันระเบียงชนกัน จะเชี่ยวชาญภาษามือเป็นพิเศษ

– แม่โจ้เปิดสาขาเพิ่มกว่าสิบสาขา ไม่ว่าจะเป็น นิเทศศาสตร์บูรณาการ รัฐศาสตร์ ภาษาอังกฤษ รปศ พลังงานทดแทน สื่อสารดิจิตอล ฯลฯ สาขาสื่อสารดิจิตอล จะถูกเรียกกันขำๆสั้นๆในหมู่เพื่อนๆ ว่าสาขาดิจิม่อน ตึกดิจิม่อนสวยและล้ำมาก งงมั้ยว่ามีสาขานิเทศฯ แล้วทำไมต้องมีสาขาสื่อสารดิจิตอล ไม่รู้เหมือนกันจบแล้วคงรู้เอง สาขาดิจิม่อนเพิ่งเพิ่มในปีการศึกษา 52 เป็นปีแรก สาวๆ ดิจิม่อนสวยมาก สาขาสื่อสารดิจิตอลกับสาขานิเทศฯ อยู่สังกัดคนละคณะกัน นิเทศกับรัฐศาสตร์เปิดพร้อมกันแต่รัฐศาสตร์ได้ตึกใหม่ใช้ก่อนเหมือนกับดิจิม่อนแต่นิเทศต้องใช้ตึกเก่าๆ อยู่ (แต่ตึกเก่าที่ว่า มีความสำคัญทางด้านจิตใจ เนื่องจากเป็นตึกสร้างเป็นอันดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย “ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ” ซึ่งบรรยากาศความเก่าและขลังที่ว่านั้น หาไม่ได้ในตึกใหม่) ตึกใหม่ของสาขารัฐศาสตรืวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ใช้ชื่ออธิการบดี ชื่อตึกเทพ พงษ์พานิช กองกิจการนักศึกษาใหม่ตึกใหญ่อย่างกับห้างสรรพสินค้า

———————————————————————

ที่มา : ไร้สาระนุกรม (อัพเดทเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2558)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง