กลองสถาปัตย์คลองหก “ศรัทธาในกลอง จังหวะ และท่วงทำนอง”

กลองสถาปัตย์คลองหก12 ปี กลอง 9+1 ใบ ไม้กลองนับ 100 ท่อน  สิ่งที่เห็นอยู่ข้างหน้าบางคนอาจจะมองเป็นแค่ ไม้, หนังสัตว์ หรือแค่เครื่องดนตรีไทยชนิดนึง แต่มือกลองสถาปัตย์มองว่าสิ่งเหล่านี้แค่ “ครู” ครูที่เคยมีชีวิตมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น ไม้หรือหนังสัตว์ล้วนแต่เคยเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องสละร่างกายมาทำเป็นสิ่งที่คนอื่นเรียกว่ากลอง จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเห็นมือกลองสถาปัตย์ในฐานะศิษย์ของครู ทั้งรักและหวงแหน ดูแลครูของเรา ไม่ให้ใครนอกจากมือกลองเท่านั้นที่สัมผัสหรือสามารถตีกลองเราได้ เพราะเราคิดเสมอว่า “ครู” เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมือกลองทุกคนหรือแม้กระทั่งเด็กสถาปัตย์คลองหกคนอื่นๆ”

จุดเริ่มต้นของกลองสถาปัตย์

กลองสถาปัตย์ คือ กลองทัดที่ใช้ในวงปี่พากย์ คล้ายกลองออกรบ กลองสะบัดชัย ที่เรียกว่า กลองสถาปัตย์ เพราะสถาปัตย์ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาปัตย์แห่งแรกในไทยที่มีการตีกลองนี้ เมื่อก่อนจุฬาฯ ใช้กลองทอมในการตี ซึ่งเป็นกลองของต่างชาติ สมเด็จพระเทพ ฯ จึงทรงพระราชทานกลองทัดเข้ามาเป็นกลองประจำคณะ ทั้ง 5 มหาวิทยาลัยที่ได้รับพระราชทาน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาพวันงานถาปัตย์สัมพันธ์

จากนั้นคณะสถาปัตย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงได้ใช้กลองมาเป็นเอกลักษณ์ของคณะสถาปัตย์ทั่วประเทศ กลายเป็นธรรมเนียมประเพณี ที่คณะสถาปัตย์ของทุกที่ต้องมีกลองเป็นของคณะตัวเอง มีการคัดคนเหมือนกัน พอถึงแต่ละปี จะมีประเพณีถาปัตย์สัมพันธ์ คือวันที่สถาปัตย์ทั่วประเทศ มาชุมนุมกัน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ภายในงานมีการเชียร์โต้หรือประชันกลอง สังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความสัมพันธ์ รู้จักเพื่อนใหม่ แลกจังหวะกลองกัน แต่ละมหาวิทยาลัย จะมีเพลงของตัวเอง จังหวะที่ไม่เหมือนกัน และเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

รูปนี้เป็นการเอากลองของทุกมหาวิทยาลัย มาวาง แล้วตีประชันกัน เรียกว่า “การล้อมกลอง”

กลองสถาปัตย์คลองหก

กลอง : กลองที่ใช้อยู่เป็นหนังวัว ไม้กลองทำจาก ไม้เข่ง ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้เนื้อแข็งต่างๆ ตะเคียนทองก็มี อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการตีแต่ละครั้ง ได้แก่  กลอง ไม้กลอง ลังใส่ไม้กลอง กลองซึ่งวางอยู่บนไม้รองกลองและผ้าดิบสีขาว

เอกลักษณ์การตีกลอง : แต่ละมหาวิทยาลัยจะต่างกัน ของมทร.ธัญบุรี(คลองหก) จะลักษณะเด่นที่ความขลัง ดุดัน แข็งแรง ท่าตีที่ดี และท่ายกต้องดี

ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน – กลองถาปัตย์คลองหก「Official MV」 HD

เพลง : ถาปัตย์ผู้สร้างฝันแรงบัลดาลใจ : อาจารย์อนุวัฒน์ เติมเจิมเนื้อร้อง : ชโลธร ดิษฐาภรณ์ ทำนอง : Dream Theater – The Spirit Carries Onเรียบเรียง : ณัฐพล พรพรหมประทาน, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน———–ประวัติเพลง (อาจจะยาวแต่อยากให้อ่านจนจบนะครับ แล้วคุณจะรู้เรื่องเกี่ยวกับคณะเรามากอีกหนึ่งเรื่อง)ในปี พ.ศ.2550 นายชโลธร ดิษฐาภรณ์(พี่ย้ง) สถ.รุ่น 14 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธ. ชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นมือกลองรุ่นที่ 02 ได้ครุ่นคิดอะไรบ้างอย่างระหว่างเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์กับอาจารย์อนุวัฒน์ เติมเจิม(อ.ด๊วด) ความที่พี่ย้งเป็นศิลปินประจำคณะอยู่แล้ว ด้วยสายเลือดนี้เองที่เล็งเห็นมาโดยตลอดว่าเพลงเชียร์ของคณะเรานั้นมันขาดความสุนทรีย์และความไพเราะที่สามารถใช้ได้ในงานสำคัญๆต่างๆ จึงได้ฉวยโอกาสเหมาะนี้เข้าไปปรึกษากับ อ.ด็วด(นอกเวลาเรียน) เพราะเนื่องด้วยความมีสุนทรียศาสตร์ในตัวอาจารย์และอาจารย์ท่านจบมาจากรั้วลาดกระบังซึ่งเป็นต้นตำหรับเพลงสุดขลังอย่าง “ถาปัตย์ทรนง” จากการที่ได้ปรึกษาในครั้งนั้นอาจารย์ท่านได้แนะนำมาว่า “เรื่องของใจความของเพลงน่าจะเป็นเรื่องของความรักความสามัคคีกันในคณะของเรา”ต่อมาพี่ย้งได้ครุ่นคิดในใจเรื่องการแต่งเพลงนี้ จึงได้หยิบยกเอาเพลงๆนึงซึ่งเป็นเพลงและวงที่พี่ย้งชอบเป็นการส่วนตัว มาดัดแปลงใส่เนื้อและเรื่องราวต่างๆที่อยากจะเล่าลงไป ใส่เข้าไปทีละท่อน ทีละจังหวะ ทีละวรรค ทีละคอร์ด ทีละทำนอง ทีละเมโลดี้ ด้วยความประณีตทางอารมณ์เพราะอยากให้เพลงนี้ออกมาดีที่สุด จวบจนวรรคสุดท้ายประโยคสุดท้ายที่เป็นเครื่องตอกย้ำบทสรุปของเพลงๆนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า “ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน”“ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน”เป็นคำที่ฟังง่ายๆแต่แฝงไปด้วยความหมายในตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมหรือแม้แต่จะเป็นผู้ที่จบออกไปแล้วกลายเปลี่ยนเป็นสถาปนิกเองก็ตาม ต่างคนต่างกำลังสร้างฝันอยู่ในทุกลมหายใจของตัวเอง ทุกคนต่างเล่นบทบาทของนักสร้างฝันคนนึง ฝันที่ว่านี้หมายถึงฝันของตัวเองที่ต้องการจบออกไปเป็นสถาปนิกที่ดี มีชื่อมีเสียงในวงการ ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมดีๆสักหลังนึงที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ฯลฯ หรือแม้แต่กำลังสร้างฝันให้กับผู้ใช้ ผู้จ้าง ลูกค้าต่างๆที่ต้องการให้สถาปนิกออกแบบสถาปัตยกรรมสักหลังนึง อาจจะเป็นแค่บ้านหลังเล็กๆ แต่เป็นบ้านที่อบอุ่น มีความสวยงามถูกต้องตามหลักการออกแบบที่ดี มีความมั่นคงแข็งแรงและความสะดวกสบาย ต่างคนต่างช่วยกันสร้างฝันให้กันและกันจนสำเร็จถึงปลายทางที่ดีในที่สุดนั่นแหละครับคือประวัติและบทสรุปของเพลง “ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน” ที่ไม่ว่ายังไงเราก็จะอยู่กันอย่างพี่น้อง ร่วมเดินกันอย่างเพื่อนตาย ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจและฝ่าฟันเก็บเอาทุกความฝันทั้งของตัวเองและผู้คนรอบข้างพากันไปให้ถึงฝั่งฝันให้ได้ถ้าคุณอ่านถึงตรงนี้แล้ว ผมอยากให้คุณกลับไปฟังเพลงนี้อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ลองหลับตาฟังและคิดตามเนื้อเพลงไปนะครับ แล้วคุณจะเข้าใจความหมายของเพลงนี้มากยิ่งขึ้น———–บัดนี้เวลาก็ได้ล่วงเลยมาเข้าปีที่ 10 แล้วของการกำเนิดเกิดเพลงนี้ขึ้นมา ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่ย้ง ผู้แต่งเพลงนี้ พี่ย้งได้พูดว่า "พี่ย้งซึ้งใจและปิติยินดีมาก ที่น้องๆให้ความสำคัญกับเพลงนี้มาโดยตลอด พี่ย้งเองไม่ได้คิดคาดหวังเลยว่าจะมีใครชอบเพลงนี้นะ""ในนามของมือกลองถาปัตย์คลองหก ใคร่อยากให้เพลงนี้มันกลับมาเปล่งออกจากปากเหล่าพี่ๆน้องๆเราอีกครั้ง"#ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน

โพสต์โดย กลองถาปัตย์คลองหก บน 27 เมษายน 2016

เพลงของคณะ : กูถาปัตย์ , อาชีฮิบ , ถาปัตย์รูปหล่อ , สถ.ขี้เมา , มาร์ชถาปัตย์ , ถาปัตย์ผู้สร้างฝัน , ถาปัตย์ทรนง (ดั้งเดิมของลาดกระบัง) นำมาปรับจังหวะเพื่อให้เป็นของตัวเอง และจังหวะพื้นฐาน 10 จังหวะ เป็นแบบฝึกหัดที่ทุกคนต้องตีให้ได้ เรียกว่าชุดใหญ่

กว่าจะเป็นมือกลอง

มือกลองจะมีการคัดเลือกจากแรง กำลังแรงและกำลังใจ ที่จะตี เมื่อมีการเปิดรับสมัคร (รับเฉพาะนักศึกษาชาย ปีที่ 1 คณะสถาปัตย์เท่านั้น) ผู้ที่สนใจไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในการตีกลอง แค่พกความตั้งใจมา แต่ใช่ว่าจะได้เป็นมือกลองทันที ต้องออกกำลัง วิ่ง ฝึกระเบียบวินัย ซิทอัพ หรือแม้กระทั่งวิ่งขึ้นตึก 8 ชั้น วิ่งรอบมหาวิทยาลัย แล้วแต่มือกลองรุ่นพี่จะสั่ง

การทดสอบร่างกายเป็นระยะเวลา 1 ปี ฟังดูอาจจะเหมือนโหด แต่ไม่เลย ทุกอย่างทำขึ้นก็เพื่อตัวน้องๆ เอง เพื่อร่างกายแข็งแรง แบกรับน้ำหนักกลองไหว แบกรับแรงกดดัน และต้องรับการฝึกที่หนัก กว่าจะได้ชื่อว่าเป็นมือกลองเต็มตัว ต้องผ่านคัดเลือก การจับกลองครั้งแรก และการรับรุ่น การตีกลองถ้ามีเพียงแต่แรงก็ใช่ว่าจะตีได้ ต้องมีใจที่จะตี มีการขัดเกลา ไม่ใช่แค่ตีช่วงสั้นๆ แต่คำว่าเป็นมือกลองถาปัตย์ คือเป็นไปตลอด และสอนน้องรุ่นถัดไป

การตีกลอง ต้องตีให้พร้อมและท่าตีต้องเหมือนกัน

กลองกับความเชื่อ

พิธีไหว้กลอง ที่หอพระหน้าคณะ

ทุกคนเคารพกลองเพราะกว่าจะได้จับ กว่าจะได้เรียกตัวเองว่าเป็นมือกลองจริงๆ มันยาก ทำให้เกิดความภาคภูมิใจมาก
กลองสถาปัตย์ตีเพื่อความขลัง มีพลัง เป็นเอกลักษณ์ รู้สึกฮึกเหิม โดดเด่น เป็นประเพณีของเด็กสถาปัตย์ ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีไม้กลองของรุ่น ของตัวเอง มีความเชื่อว่า เครื่องดนตรีมีครู เราต้องไหว้ก่อนซ้อม ก่อนออกงานใหญ่ๆ จะมีพิธีไหว้กลอง ที่หอพระหน้าคณะ บูชาพวงมาลัย กลองทั้ง 11 ใบ ทุกใบคล้องพวงมาลัย และไม้ครู

มัดไม้ครู ที่สลักชื่อ มือกลองทุกรุ่น ถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

ไม้กลองที่แกะสลักชื่อมือกลองแต่ละรุ่นไว้ แล้วมัดรวมกันด้วยสายสิญจน์ วางไว้บนฐานผ้าสีแดงแล้วคล้องพวงมาลัย 1 พวง เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนจากรุ่นพี่มือกลองรุ่นก่อนๆ เป็นการให้กำลังใจอย่างหนึ่ง อย่างเช่น บางการแสดงต้องใช้มือกลอง 6 คน แต่ในมัดไม้กลองนั้นมีชื่อรุ่นพี่ ตั้งแต่รุ่นที่ 1 เพื่อเป็นการให้กำลังใจว่าไม่ได้ตีกันแค่ 6 คน ยังมีพวกพี่ที่อยู่ข้างๆ ลงไปตีด้วย

การทำสมาธิ ให้กำลังใจกัน และเคารพระลึกถึงครูกลองก่อนขึ้นแสดง

ทุกคนศรัทธาและเคารพในกลอง ไม่มีการลบหลู่ ไม่มีการข้าม หรือห้ามกระโปรงผู้หญิงมาเฉี่ยว มาโดน ด้วยธรรมเนียมของมือกลองสถาปัตย์คลองหก จะไม่ให้ผู้หญิงตีกลอง ด้วยขนาดกลองที่ใหญ่และค่อนข้างหนัก ทั้งด้วยน้ำหนักกลองเอง และการซ้อม เมื่อก่อนเคยมีมือกลองผู้หญิง 1 รุ่น จากนั้นก็ไม่เคยรับอีกเลย

เป็นความเชื่อที่รู้กันว่า ถ้าไม่ใช่มือกลองของคณะ จะห้ามจับกลอง ห้ามตี ห้ามสัมผัส ห้ามโดน ด้วยคิดที่ว่า กลองก็เหมือนครูของเรา ใครก็ได้ที่มาจับกลอง มาจับครู จับเครื่องดนตรีของเราได้ แล้วจะทำการคัดเลือก ทำพิธีต่างๆ เพื่อรับมือกลองทำไม จะทำให้ไม่มีการเห็นค่าของกลองเกิดขึ้น

เรื่องเล่าครูกลอง

กลองถาปัตย์คลองหกการประชุมกลองในงานถาปัตย์สัมพันธ์ 2560

โพสต์โดย กลองถาปัตย์คลองหก บน 9 พฤษภาคม 2017

ภาพและข้อมูลจาก Facebook : กลองถาปัตย์คลองหก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง