พี่นุ่น พี่ท็อป ชวนน้องๆ อยู่ร่วมกับพลาสติกให้ถูกต้อง ด้วยแนวคิด Circular Living

พูดได้เต็มปากเลยว่ากระแสรักษ์โลกสมัยนี้ไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไปแล้ว แต่จะกลายเป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวและอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างมีความสุข หรือที่เรียกว่า Circular Living ผ่านโครงการดีๆ ที่ชื่อว่า U ปรับ โลกเปลี่ยน

พี่นุ่น พี่ท็อป ชวนน้องๆ อยู่ร่วมกับพลาสติกให้ถูกต้อง ด้วยแนวคิด Circular Living

โครงการ U ปรับ โลกเปลี่ยน เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน GC และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้จักและเข้าใจในแนวคิดของการใช้ชีวิตแบบ Circular Living โดยมุ่งเน้นไปที่นักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้พลาสติกอย่างรู้คุณค่า และในครั้งนี้ได้มาให้ความรู้ให้กับเพื่อนๆ ที่ คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนอกจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วยังมีกว่า 10 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น

งานนี้ยังได้ พี่นุ่นศิรพันธ์ วัฒนจินดา และ พี่ท็อปพิพัฒน์ อภิรักษ์ คู่รักรักษ์โลกที่ศึกษาและสนับสนุนการรักษ์โลกมาอย่างยาวนาน ซึ่งตอนนี้กลายเป็น Circular Icon ไปแล้ว มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แบบไม่มีเบื่อในหัวข้อพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย

โดยพี่นุ่น พี่ท็อปมาร่วมแชร์ การใช้ชีวิตแบบ Circular Living ผ่านวิดีโอที่เข้าใจง่าย พร้อมอธิบายให้เราตระหนักถึงทรัพยากรที่กำลังจะหมดไปในอนาคต โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา เปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าอย่างจริงจัง ไม่ใช่ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง พกกระบอกน้ำไปตามที่ต่างๆ รวมถึงในร้านอาหาร แยกขยะให้ถูกต้อง เพราะขยะบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างขวดพลาสติกในปัจจุบันนี้ก็สามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น เสื้อยืด หรือกระเป๋า เพราะไลฟ์สไตล์รักษ์โลก ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าจะที่ไหน เวลาใด อาทิ

เพราะจุดมุ่งหมายของแนวคิดของ Circular Living คือการออกแบบให้ให้เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ พร้อมสอดคล้องกับหลัก Circular Economy หรือลดการเกิดขยะและของเสีย ลดการใช้ทรัพยากร ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ทรัพยากร (Resource Revolution) เพื่อคงไว้ให้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันเรายังไม่สามารถปฏิเสธการใช้พลาสติกได้อย่างถาวร เพราะพลาสติกยังมีความจำเป็นอยู่ อย่างการผลิตหมวกกันน๊อคที่ช่วยในเรื่องความปลอดภัยยังต้องใช้พลาสติกในการขึ้นรูป ดังนั้น พลาสติกจึงไม่ใช้ผู้ร้ายในการทำลายโลก แต่การใช้พลาสติกอย่างขาดจิตสำนึกต่างหากที่เป็นผู้ร้ายตัวจริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง