โลกยุคดิสรัปชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การทำธุรกิจ การใช้ชีวิตของผู้คนก้าวกระโดดสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ทุกองค์กรยุคใหม่จึงต้องใส่ใจความอยู่รอด ในการ Up-skill Re-skill บุคลากร พนักงานของตนเอง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม และเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะเกิดขึ้น
CITE มธบ. เปิด 4 หลักสูตร Re-Skill และ Up-Skill
ยิ่งในภาวะปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจทั้งโลกแทบหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ฯลฯ ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับ New normal ที่เกิดจากผลกระทบจากโควิด-19 และมองหาโอกาสจากวิกฤตครั้งนี้
ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ กล่าวว่า .. นอกจากการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจต่างๆ จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ มีการชะลอตัว ดังนั้น ความต้องการของกำลังคนด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพลิก สร้างอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ให้กลับมาเติบโตขึ้นได้
ประเทศเข้าสู่ยุคดิสรัปชั่น ดิจิทัล
“เมื่อประเทศเข้าสู่ยุคดิสรัปชั่น ดิจิทัล ทุกอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ เทคโนโลยี หลักสูตรด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก หลักสูตรที่ทางวิทยาลัย CITE เปิดสอนระดับปริญญาตรี โท เอก มากว่า 20 ปี จึงมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยต้องมีทั้งทักษะวิชาชีพ ความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจธุรกิจ มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเป็นแกนกลาง ที่สำคัญต้องเป็นการ Up-Skill เพิ่มทักษะให้แก่บุคลากร ต้องพร้อมทำงานได้จริงๆ” ผศ.ดร.ณรงค์เดช กล่าว
ทุกหลักสูตรทุกระดับการศึกษาล้วนมีความแตกต่างกัน ซึ่งในส่วนของหลักสูตรมหาบัณฑิต หรือปริญญาโท ขณะนี้เปิดการเรียนการสอนใน 4 สาขา คือ สาขาการจัดการทางด้านวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม วิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ละหลักสูตรมีความแตกต่าง และมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
4 สาขาในระดับปริญญาโทจะเป็นการ Re-Skill และ Up-Skill
ผศ.ดร.ณรงค์เดช อธิบายต่อว่า .. 4 สาขาในระดับปริญญาโทจะเป็นการ Re-Skill และ Up-Skill ให้แก่ผู้ที่อยู่ในสายอาชีพดังกล่าว หรือผู้ที่สนใจเรียนรู้ในสายอาชีพเหล่านี้ โดยหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวิศวกรรม จะมีจุดเด่น คือ เป็นกระบวนการเรียนรู้ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ การผลิต การจัดการโรงงาน โลจิสติกส์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่างงานด้านวิศวกรรมและด้านธุรกิจผ่านการเรียนรู้โดยปฏิบัติงานจริง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้
ส่วนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม อีกหนึ่งสาขายอดฮิต ที่ตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนของประเทศอย่างมาก โดยหลักสูตรได้รับการออกแบบให้ผู้เรียน มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย มีการฝึกปฏิบัติและสามารถทำงานได้จริง ส่วนสาขาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ต้องยอมรับว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดที่สามารถนำข้อมูล Big data มาใช้ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและอุตสาหกรรมนั้นได้อย่างมหาศาล
ขณะที่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นับว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลอย่างมากในการใช้ชีวิตของผู้คน กระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ เข้ามาช่วยในการทำงานทั้งเชิงอุตสาหกรรมและธุรกิจ บรรจุครบไว้ในหลักสูตรนี้ จึงตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรด้านนี้ที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้และเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ
ยกระดับความสามารถพนักงาน
“ทุกหลักสูตรจะช่วยยกระดับความสามารถพนักงาน ตอบโจทย์ใหญ่ในธุรกิจ อุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารต้องการกำลังคนที่มีองค์ความรู้ มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิตอล เทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรม มีตรรกะความรู้ในเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ ของผู้บริหารอุตสาหกรรมยุคใหม่ ต้องลงทุนพัฒนาบุคลากรของตนเอง
ซึ่งการผลิตแบบเดิมกับตอนนี้แตกต่างกันมาก เทคโนโลยีใหม่ ระบบอัตโนมัติ การเรียนรู้เทคโนโลยี วิศวกรรมในแต่ละสาขาได้อย่างครอบคลุมศาสตร์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต ระบบการสร้าง ส่งต่อ การใช้ข้อมูล และการบริหารจัดการระบบทั้งหมด เพราะการเรียนรู้ของวิทยาลัย CITE มธบ. จะเป็นการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี และต้องทำงานได้จริง” ผศ.ดร.ณรงค์เดช กล่าว
ผู้สนใจศึกษาต่อไม่จำเป็นต้องจบวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทคโนโลยี
คณบดีวิทยาลัย CITE กล่าวต่อไปว่า .. เนื้อหาทั้งจากภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติจะทำให้บุคลากรมีความพร้อมที่จะประยุกต์ใช้กับองค์กรได้จริง ทั้งเรื่องโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การจัดการด้านวิศวกรรม และการจัดการทางด้านพลังงานเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือจะเป็นด้านเทคโนโลยีเช่น การวิเคราะห์งานระบบวางแผนบริหารทรัพยากรองค์การ การพัฒนาโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ ระบบ IoTs การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งหลายเหล่านี้ต้องอาศัยบุคลากรด้านนี้ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรและธุรกิจบนโลกดิจิทัล โดยผู้สนใจศึกษาต่อไม่จำเป็นต้องจบวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทคโนโลยีก็สามารถเรียนได้ โดยทางวิทยาลัยมีการสอนปรับพื้นฐาน เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนรู้ในทุกหลักสูตร
สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ cite.dpu.ac.th หรือโทร. 02-954-7300 ต่อ 594, 498
ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (College of Innovative Technology and Engineering : CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)