วิศวะฯ มธ. เปิดตัว 4 หลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE เปิดตัว 4 หลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” ในงาน TEP-TEPE: The Next Concept of Engineering Education ปฐมบทใหม่ของการเรียนวิศวกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต

4 หลักสูตรใหม่ วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ

ซึ่งขณะนี้ TSE มีความพร้อมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ‘วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ’ ปีการศึกษา 2566 ภายใต้แนวคิด TEP-TEPE : The Next Concept of Engineering Education” ปฐมบทใหม่ของการเรียนวิศวกรรมเชิงบูรณาการ โดย TSE มุ่งเน้นการบูรณาการทักษะตามความต้องการของอนาคต เพื่อพัฒนา “วิศวกรศักยภาพสูง” ที่มีทักษะความรู้หลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ ให้มีทักษะความรู้หรือคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ในปีการศึกษา 2566 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมครั้งสำคัญของ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ (Thammasat English Programme of Engineering) หรือ TEPE ที่มีการจัดการเรียนการสอน 4 ปี ที่ มธ. โดย TSE ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ เพื่อเพิ่มทักษะ ‘วิศวกรยุคใหม่’ ให้พร้อมเป็นผู้นำด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ ผ่าน 4 หลักสูตรใหม่ ที่เตรียมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2566 ดังนี้

4 หลักสูตรใหม่

1. หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering) หลักสูตรที่เน้นองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ควบคู่กับความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบ IOT, AI, Coding, Cloud Computing รวมถึงการประมวลผล (Data Analytic) เพื่อนำข้อมูลมาใช้งาน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในสายอาชีพวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรคอมพิวเตอร์ และนักวิเคราะห์ข้อมูล

2. หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development) หลักสูตรที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงวางแผนการพัฒนาเมืองและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ สามารถประกอบอาชีพในกลุ่มงานต่าง ๆ ได้ดังนี้ วิศวกรโยธา นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นักวางผังเมือง

3. หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management) หลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตวิศวกรเครื่องกลที่มีองค์ความรู้ทางด้านการบริหารอุตสาหกรรม โดยการ บูรณาการองค์ความรู้หลากหลายแขนง อาทิ ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล ระบบไอโอที (IoT) ระบบออโตเมชั่น (Automation) รวมถึงความรู้ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม ทั้งนี้ บัณฑิตวิศวกรสามารถก้าวสู่เส้นทางอาชีพต่างๆ ได้ อาทิ วิศวกรเครื่องกล วิศวกรโรงงาน วิศวกรโครงการ (Project Management System Engineer)

4. หลักสูตรวิศวกรรมเคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management) สำหรับสาขานี้นอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้ทางด้านวิศวกรรมเคมีที่ครบถ้วน ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) การจัดการทางวิศวกรรม รวมถึงความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี ที่พร้อมก้าวสู่การเป็นการเป็นวิศวกรเคมี หรือนักธุรกิจ/สตาร์ทอัพ (Start-up) ผลิตภัณฑ์ความงามได้ในอนาคต

หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต 2 สถาบัน

นอกจากนี้ TSE ยังต่อยอดความสำเร็จของโครงการ หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสองสถาบัน (Twinning Engineering Program) หรือ TEP ที่จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ในรูปแบบ 2+2 คือ 2 ปีแรกที่ มธ. และผู้เรียนสามารถ เลือกศึกษาต่ออีก 2 ปี กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เป็นคู่สัญญาของ TSE ได้แก่

โดย TSE มีแผนในการพัฒนาเครือข่ายด้านการศึกษา กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของคนรุ่นใหม่อีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเปิดตัวหลักสูตรใหม่ วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการของ TSE (โครงการ TEPE) สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่

เว็บไซต์ www.engr.tu.ac.th และ Facebook Fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

รายนามผู้บริหารในภาพข่าว เรียงจากซ้ายไปขวา

1. ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
2. ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. (TDS)
3. รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE)
4. Mr. Benoît Talleu รองผู้ช่วยทูตฝ่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และการอุดมศึกษา สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
5. คุณสุกัญญา เอื้อชูชัย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยอีแกม ลาซาล ประเทศฝรั่งเศส (ECAM LaSalle, France)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง