ม.ศรีปทุมฯ มุ่งสร้าง Talent อุดม Design Thinking ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทรานฟอร์ม เปลี่ยนชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็น “คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์” ผสานศาสตร์เก่าและศาสตร์ใหม่ มุ่งสร้างบัณฑิต Talent เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ Design Thinking สร้างคนให้ตรงกับงาน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ

ม.ศรีปทุมฯ ชูสาขาใหม่ Design Innovation

เผยทักษะ ด้านดีไซน์ เป็นรากฐานสำคัญในการทำงาน และคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อก้าวข้ามทุกวิกฤตและการเปลี่ยนแปลง ชี้ชัดธุรกิจและองค์กรที่ก้าวข้ามวิกฤติดิจิทัลดิสรัปชัน โควิดดิสรัปชัน ล้วนมีบุคลากรหรือหน่วยงาน ที่มีนักนวัตกรรมการออกแบบที่มีพื้นฐานของ Design Thinking เป็นแรงขับเคลื่อน ชูจุดเด่นหลักสูตรใหม่นวัตกรรมการออกแบบ Design Innovation ผสานองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ

ความเข้าใจมนุษย์ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ การบริหารและจัดการด้านการตลาด สอนครบทั้งการดีไซน์ Product, Process, Service Design, Business Model เรียน 3 ปี ทำงานร่วมกับธุรกิจ และอุตสาหกรรมจริง 1 ปี การันตี จบพร้อมเป็น Talent ในองค์กรและธุรกิจ หรือก้าวเป็นสตาร์ทอัพ สร้างธุรกิจส่วนตัว ใน 6 สายงานดาวรุ่ง

อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม เผยว่า การเปลี่ยนเป็นชื่อ คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แทนชื่อเดิมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมาพร้อมหลักสูตรใหม่ Design Innovation ด้วยจุดแข็งในการมุ่งสร้างTalent ผ่านการปลูกฝังรากฐาน Design Thinking ทักษะด้านการออกแบบ ที่มาพร้อมความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อปรับเปลี่ยน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้เท่าทันโลก พร้อมช่วยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจสตาร์ทอัพขนาดเล็ก ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่ โดยตลาดแรงงานในยุค Creative Economy ทั้งในและต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีวิกฤตหลากหลายรูปแบบเข้ามาดิสรัปชัน ส่งผลให้หลายธุรกิจเผชิญกับความท้าทายอยู่ตลอดเวลา และจะรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนธุรกิจที่ไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตนเองได้ อาจจะไปต่อได้ยากในระยะเวลาอันสั้นนี้

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน และยุคโควิดดิสรัปชัน หลายธุรกิจล้มและปิดกิจการไปจำนวนมากเพราะไม่สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่มีบางธุรกิจสามารถปรับตัวเติบโตและอยู่รอดได้ จากการศึกษาข้อมูลและทำงานกับหลายอุตสาหกรรมพบว่า ธุรกิจหรือองค์กรที่ปรับตัวได้ล้วนมีคนหรือหน่วยงานด้าน Design thinking โดยเฉพาะ และยังพบว่ากลุ่มโมเดลธุรกิจคนรุ่นใหม่อย่างสตาร์ทอัพที่เน้นการเติบโตแบบก้าวกระโดด

โดยแกนหลักบนโมเดลธุรกิจก็ล้วนมาจากรากฐานของ Design thinking ที่ผ่านการศึกษาพฤติกรรม วิเคราะห์ ความเข้าใจคน สู่การดีไซน์แผนธุรกิจ ผสมผสานกับ นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของยุคสมัย เพราะโจทย์หลักของสตาร์ทอัพคือการค้นหาโซลูชันใหม่ ๆ ของธุรกิจ หรือเพื่อแก้ Pain point ของคนที่มองหาโซลูชัน

ทั้งนี้ ด้วยโมเดลธุรกิจดังกล่าวที่สำเร็จ และก้าวข้ามทุกวิกฤติมาได้ จะเห็นได้ชัดว่าโครงสร้างหลังบ้านขององค์กรธุรกิจล้วนมาจากบุคลากรที่มีรากฐานทักษะการออกแบบเชิงความคิด หรือ Design Thinking สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ปรับทิศทางธุรกิจเท่าทันโลก และความต้องการตลาด สู่การขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามทุกวิกฤตและการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ หลายธุรกิจเล็งเห็นและให้ความสำคัญในการเฟ้นหาบุคลากรที่มีกระบวนการคิดในแบบDesign Thinking เข้ามาทำงานด้วยมากขึ้น ส่งผลแนวโน้มตลาดแรงงานมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าบทบาทของ Creative Economy จะกระตุ้นให้อาชีพ Design Innovator ขยับขึ้นเป็นตำแหน่งสำคัญบนโครงสร้างหลักของทุกองค์กร ที่จำเป็นไม่ต่างจากอาชีพนักบัญชี และนักกฎหมายในอดีต

เพื่อขานรับการปรับตัวธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่คิดสร้างสรรค์ คิดเร็ว ทำไว พลิกแพลงวิกฤตเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อนธุรกิจข้ามผ่านวิกฤตในระยะที่รวดเร็ว 6-12 เดือน ช่วงชิงโอกาสทางการตลาดท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงโลก และการแข่งขันในตลาด จากเดิมที่ต้องอาศัยระยะเวลาพลิกฟื้น 3-5 ปี

“คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดว่าคนที่จะเรียน “ดีไซน์ หรือ ออกแบบ” ต้องวาดรูปเป็น ซึ่งความจริงแล้ว คนที่วาดรูปไม่เก่ง วาดรูปไม่เป็นก็สามารถเรียนได้ เพราะการเรียนออกแบบนั้นมีรากฐานที่สำคัญ คือ กระบวนการ Design Thinking ซึ่ง เป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญและจำเป็นของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน

เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในธุรกิจ จนนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีจุดแข็งในศาสตร์เดิม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ที่คิดวิเคราะห์แบบเป็นกระบวนการ ที่เป็นรากฐานของการสร้างกระบวนการด้าน Design Thinking หากนำองค์ความรู้นี้มาผสานเข้ากับศาสตร์ใหม่ที่จอบโจยท์ตลาดแรงงานปัจจุบัน เช่น ความเข้าใจมนุษย์ การตลาดและการบริหารจัดการ จะสามารถสร้าง Talent ให้นิสิตนักศึกษามีความโดดเด่นในทักษะรอบด้านทั้งศาสตร์และศิลป์ พร้อมก้าวสู่การทำธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นมันสมองส่วนสำคัญให้องค์กร”

ศาสตร์ 4 ด้านที่สำคัญ

อย่างไรก็ดี หลักสูตรของคณะเน้นการผสานองค์ความรู้ ศาสตร์ 4 ด้านที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ ประกอบด้วย

1. Design Creative สร้างสรรค์โมเดลธุรกิจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก

2. Humanity ความเข้าใจเรื่องคน สร้างความพึงพอใจ เจาะเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด

3. Technology Innovation การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสธุรกิจ สอดรับทิศทางตลาด และนวัตกรรมใหม่ ๆ

4. Marketing & Management การบริหารกลยุทธ์เชิงการตลาด พร้อมเจาะลึกถึงกระบวนการตั้งต้น ผ่านแนวคิดการออกแบบตั้งแต่เรื่องของ Product จุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคในแต่ละยุคที่เปลี่ยนแปลงไป ถัดมาเป็นเรื่องของ Process กระบวนการต่างๆที่ส่งเสริม และตัดทอน ขั้นตอนต่างๆที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ

จนไปถึงกระบวนการเพื่อสร้างสินค้า ผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ใหม่ ๆ Service design การดีไซน์รูปแบบด้านบริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่เน้นเรื่องการให้บริการ และสร้างความประทับใจ และจดจำไม่รู้ลืม จนเกิดการมาใช้ซ้ำ ๆ และสุดท้ายคือเรื่อง Business Model การดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ พร้อมกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ตลาดอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ด้านระยะเวลาตามหลักสูตร คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การเน้นการศึกษาด้านแนวคิด กลยุทธ์ ทิศทาง และฝึกปฎิบัติในรูปแบบสตูดิโอดีไซน์ 3 ปี และเรียนรู้ ฝึกฝน กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี

พร้อมนำ Talent ด้าน Design Thinking สู่การพัฒนา และขับเคลื่อนองค์กร และธุรกิจ หรือเป็นสตาร์ทอัพ หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ก้าวทัน ความต้องการตลาดแรงงาน ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเท่าทันโลก ตอบโจทย์ได้กับทุกธุรกิจแบบไร้ข้อจำกัด

โดยตั้งเป้าสร้าง Talent สร้างคนให้ตรงกับงาน โดยสามารถออกไปทำงานใน 6 กลุ่มอาชีพซึ่งถือเป็นอาชีพดาวรุ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ Product innovation design , User interface design , Branding design , Event and exhibition , Social innovation และ Real estate โดยคณะมีเป้าหมายสร้างบัณฑิตสู่ตลาดไทยและภูมิภาคปีละ 80 -120 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง