มั่นคงรอบด้าน สร้างชาติอย่างยั่งยืน! เปิดมุมมอง 4 ผู้นำแห่งอนาคต จาก วปอ.บอ.

หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) โดย ได้จัดอบรม 2 วิชาสุดเข้มข้น ที่พาทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับ “การรักษาความมั่นคงของชาติ” ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่แค่เรื่องของกองทัพ แต่คือเรื่องใกล้ตัว ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน – มั่นคงรอบด้าน สร้างชาติอย่างยั่งยืน

มั่นคงรอบด้าน สร้างชาติอย่างยั่งยืน

โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 2 เข้าร่วมอบรม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีบทบาทสำคัญในงานด้านความมั่นคงระดับชาติเป็นผู้ฝึกอบรม ในวิชา “ภารกิจของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” และ วิชา “ยุทธศาสตร์และการจัดการความมั่นคงของประเทศไทย” บทบาทของ ศอ.บต. และแนวทางแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่หัวใจของความมั่นคง คือ การพัฒนาอย่างเข้าใจ

โดยในวิชา “ภารกิจของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” ได้พาไปเจาะลึกถึงบทบาทของ ศอ.บต. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลและบริหารจัดการความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

โดยได้อธิบายถึงแนวทางการบริหารจัดการปัญหาในพื้นที่ ที่ไม่ได้เน้นแค่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพ แต่ยังครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เกื้อหนุนให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ พร้อมวิเคราะห์บทบาทของ ศอ.บต. ในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อร่วมกันดูแลจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความมั่นคงและก้าวไปสู่ความสงบสุขอย่างยั่งยืน

· ความมั่นคงยุคใหม่ ต้องคิดไกลกว่าความปลอดภัย

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด นักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 2 ให้ความเห็นว่า จากการที่ได้ศึกษาและได้รู้จักกับ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งเป็นกรอบหลักในการบริหารจัดการความมั่นคง ป้องกันภัยคุกคามและเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี

และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นั้นสามารถทำให้เห็น ถึงรายละเอียดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความมั่นคง เช่น พ.ร.บ. สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 และ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 และแนวทางรับมือภัยคุกคามความมั่นคงยุคใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องความมั่นคงทางอธิปไตย แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศ ล้วนกระทบต่อความมั่นคงของชาติทั้งสิ้น ดังนั้นเราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของชาติ

· เมื่อภัยคุกคามและความมั่นคงยุคใหม่ต้องการมากกว่ากำลังทหาร

ด้านนาวาเอก ธนเดช จิตตร์ประวัติ รองผู้อำนวยการ กองวิชาเสนาธิการร่วม วิทยาลัยเสนาธิการทหาร นักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า ความมั่นคงไม่ได้หมายถึงแค่การรักษาอธิปไตย พรมแดน หรือการใช้กำลังทหาร แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทุกมิติต้องมั่นคงไปพร้อมกัน รวมทั้งทำให้รับทราบถึงภัยคุกคามยุคใหม่ซับซ้อนกว่าที่เคย

จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก และเทคโนโลยียุคใหม่ นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ เช่น สงครามเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ฯลฯ การรับมือกับภัยเหล่านี้ต้องมีกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถรับมือกับทุกความท้าทาย และแนวทางขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และการเตรียมพร้อมของทุกภาคส่วน และความมั่นคงของชาติจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เพราะมีกองทัพที่เข้มแข็งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีนโยบายที่แข็งแกร่ง การพัฒนาที่สมดุล ทุกภาคส่วนเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือ

· เข้าใจเพื่อพัฒนา สู่สันติภาพที่ยั่งยืน บทเรียนจากผู้นำรุ่นใหม่เพื่อความมั่นคงของประเทศ

ในมุมมองของ นายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ โฆษกพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาชาติ และนักศึกษาหลักสูตร วปอ.บอ. รุ่นที่ 2 กล่าวถึงแนวทางการสร้างสันติสุขในพื้นที่ว่า ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การใช้กฎหมายหรือมาตรการด้านความปลอดภัย แต่ต้องพัฒนา “ด้วยความเข้าใจ” อย่างแท้จริงในบริบทของปัญหา ความต้องการ และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยความมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ และกลยุทธ์บริหารที่ดีต้องเข้าใจความหลากหลายของผู้คน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างวัฒนธรรมแห่งความสามัคคีในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งทุกเชื้อชาติและศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

“ความสำเร็จในเรื่องนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือแม้แต่องค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการ “สร้างความไว้วางใจ” ซึ่งถือเป็นรากฐานของสันติสุขอย่างแท้จริง โดยรัฐต้องแสดงออกถึงความจริงใจในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อลดช่องว่าง และเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความร่วมมือ”

· เข้าใจโครงสร้างความมั่นคงอย่างรอบด้าน สู่การเป็นผู้นำที่พร้อมรับมือทุกความท้าทาย

ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 2 กล่าวว่า การเรียนในหลักสูตรนี้ทำให้เข้าใจกลไกความมั่นคงของชาติอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ผ่านประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง และการถ่ายทอดความรู้จากการทำงานภาคสนาม โดยมีจุดเด่นที่สำคัญคือ

นาวาเอก ธนเดช จิตตร์ประวัติ

ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา

นายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง