มาทำความรู้จักกับ 9 วิชาสมัญ ที่เริ่มใช้ในการสอบรับตรงมาตั้งแต่ปี 2559 โดยเริ่มแรก 9 วิชาสามัญ คือ 7 วิชาสามัญ ที่เกิดขึ้นมาเพราะต้องการใช้เป็นข้อสอบในการรับตรงของแต่มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการลดปัญหาการวิ่งรอกสอบตรงของน้องๆ นั่นเอง ทำให้น้องๆ ไม่ต้องเดินทางไปสอบที่มหาวิทยาลัยที่สมัครไป ซึ่งการจัดสอบ 9 วิชาสามัญจะจัดสอบรวมกันในแต่ละสถานที่ที่ทาง สทศ. จัดสอบขึ้นในแต่ละปี
9 วิชาสามัญ มีความสำคัญอย่างไร ?
9 วิชาสามัญ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง?
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
- วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)
** หมายเหตุ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีการสอบเพียงแค่ 7 วิชาเท่านั้น แต่ในปีนี้ 59 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก 7 เป็น 9 คือ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์
จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยเหรอ?
ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จำเป็น” เพราะว่าคณะสายวิทย์ต่างๆ จะใช้แค่ 5-7 วิชา ส่วนสายศิลป์ก็ประมาณ 3-5 วิชา ส่วนเราจะต้องสอบวิชาอะไรบ้างก็ให้ตรวจสอบกับทางคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราจะยื่นคะแนน ว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง?
ตัวอย่างเช่น
1. หมอกอยากสอบตรงเข้าคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A หมอกก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 5 วิชา หมอกจึงไปสมัครสอบ 5 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A
2. ขวัญอยากสอบตรงเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B ขวัญก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ รวมทั้งสิ้น 7 วิชา ขวัญจึงไปสมัครสอบ 7 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B
3. วินยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการคณะอะไร อยากเรียนหลายคณะบัญชี สถาปัตย์ วิศวะ อักษร ฯลฯ วินไปเช็คกับเว็ปทุกคณะเจอว่าตัวเองต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลย วินก็สมัครสอบไป 9 วิชา
** หมายเหตุ กรณีของหมอก ขวัญ และวินเป็นเพียงตัวอย่างนะ ใครสนใจคณะไหนก็ต้องไปเช็คกับทางคณะนั้นเองว่าต้องใช้วิชาอะไรบ้าง?
ลักษณะของข้อสอบเป็นยังไง?
เนื้อหาข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นเนื้อหาของระดับชั้น ม.ปลาย แต่เป็นเนื้อหาที่เข้มข้นและยากกว่า O-NET ที่เป็นข้อสอบวัดระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน แต่ไม่ลึกเท่ากับ GAT/PAT ที่จะเน้นเจาะลึกด้านทักษะทางวิชาชีพประกอบกันด้วย โดยผู้ออกข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับข้อสอบ GAT/PAT
มหาวิทยาลัยที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ มีทั้งหมด 27 แห่ง ดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อีกหนึ่งการสอบที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญก็คือ กสพท เพราะใช้ในสัดส่วนการคัดเลือกถึง 70% กันเลยทีเดียว น้องๆ คนไหนที่ลงสอบไปก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการสอบ กสพท ด้วยนะ
** หมายเหตุ แต่ก็ใช่ว่าทั้ง 27 มหาวิทยาลัยนี้จะใช้แต่ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ เพราะบางมหาวิทยาลัยอาจจะเลือกใช้ข้อสอบอื่นๆ ได้ตามแต่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ ซึ่งน้องๆ ต้องศึกษาระเบียบการก่อนการสมัครรับตรงโครงการต่างๆ เป็นอย่างดีก่อนจะสมัครสอบ
9 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ คืออันเดียวกันไหม?
เป็นอะไรที่มีความสับสนมากๆ มีน้องๆ สงสัยกันทุกปี แต่บอกเลยว่าไม่ใช่อันเดียวกัน วิชาสามัญคือข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนเคลียริ่งเฮ้าส์นั้นเป็นระบบไม่ใช่ข้อสอบ เคลียริ่งเฮ้าส์คือระบบยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกัน เพื่อเคลียปัญหาการกั๊กที่เรียน
ที่มา : www.niets.or.th, https://blog.eduzones.com, www.admission.in.th
บทความแนะนำ
- กำหนดการสอบ 9 วิชาสามัญ + รูปแบบข้อสอบ เนื้อหาการสอบ ปีการศึกษา 2560
- ลุยเลย!! รวมข้อสอบ 9 วิชาสามัญ ปี 2555 – 2559 พร้อมเฉลย