ยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ที่ใช้ขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษา | เปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรม

สำหรับ การประชุมในหัวข้อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ได้มีสนับสนุนให้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นประธานได้มานำเสนอเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้มีการกำหนด 6 ยุทธศาสตร์ ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

6 ยุทธศาสตร์ ที่ใช้ขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษา

1. การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรม ซึ่งตรงกับการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม

2. การพัฒนาศักยภาพตลอดชีวิต ที่ตรงกับการปฏิรูปการศึกษาตลอดชีวิต

3. ปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม ซึ่งตรงกับการจัดการเรียนการสอนที่จะเป็นหลักของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านการจัดการเรียนการสอนได้เสนอถึงการปรับรูปแบบโดยดึงดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนาครู และการสอบ เพื่อพลิกโฉมการเรียนการสอน

4. การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ ที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศสามารถที่จะแข่งขันได้ ซึ่งตรงกับการปฏิรูปการศึกษาที่จะผลักดันโรงเรียนนิติบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ไม่ใช่เพีงแค่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเท่านั้น

5. การเสริมกลไกให้มีสุขภาวะดี ทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา ซึ่งก็เป็นเรื่องของการศึกษาที่จะเข้าไปรองรับยุทธศาสตร์ดังกล่าว

6. การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย โดยเริ่มจากการเรียนรู้ของทุกคนในครอบครัวและตัวนักเรียนเอง

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ได้กล่าวต่ออีกว่า ยุทธศาสตร์เหล่านี้จะมาช่วยให้การปฏิรูปการศึกษามีความหมายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของรัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างชัดว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มองจากข้างบนในสิ่งที่อยากได้ ขณะที่บอร์ดอิสระฯ เสนอสิ่งที่จะปฏิรูปจากพื้นดินขึ้นไปซึ่งทั้งสองส่วนจะต้องไปเจอกันตรงกลาง โดยตนมองว่าจะเป็นคานงัดให้การปฏิรูปการศึกษาสามารถที่จะลงรายละเอียด และทำให้การปฎิรูปเกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่เขียนได้ในนกระดาษเท่านั้น แต่ต้องสามารถนำมาทำได้จริง

ส่วนทางด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน และยุทธศาสตร์ 6 ด้าน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์กับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีทั้งการศึกษา บทบาทครอบครัว กีฬา วัฒนธรรม และศีลธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติมีกรอบชัดเจนที่จะใช้ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นตัวตั้ง และทบทวนสถานการณ์ว่ามีอะไรจะปรับปรุงเพิ่มเติม หลังจากมียุทธศาสตร์ชาติแล้วจะต้องจัดทำแผนแม่บทที่รัฐบาลต่อไปต้องปฏิบัติตามพร้อมทั้งมีกลไกกำกับดูแล…

ที่มา : www.dailynews.co.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง