คณะน่าเรียน คณะประมง มหาวิทยาลัย

คณะประมง เลือกเรียนที่ไหนดี? เรียนจบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?

Home / ข่าวการศึกษา / คณะประมง เลือกเรียนที่ไหนดี? เรียนจบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?

คณะประมง (Faculty of Fisheries) เป็นอีกหนึ่งคณะในฝันของน้อง ๆ หลายคน ที่มีความใฝ่ฝันที่อยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำนานาชนิด โดยจะได้สร้างานวิจัย เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางน้ำ เทคโนโลยีการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำ

เลือกเรียนที่ไหนดี? คณะประมง

ซึ่งในประเทศไทยก็ได้มีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านประมงอยู่หลายแห่งด้วยกัน และหนึ่งในนั้นก็คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านประมงโดยตรง ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จะเป็นสาขาวิชาย่อยอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร หรือ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เป็นส่วนใหญ่

ใบบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีเรื่องน่ารู้ของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาบอกกันด้วย ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย…

คณะประมง

คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์

เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ต้องการผลิตบัณฑิต สร้างงานวิจัยและให้บริการแก่สังคมด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางน้ำ เทคโนโลยีการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำ โดยในปัจจุบันจัดพื้นที่การเรียนการสอนใน วิทยาเขตบางเขน (แต่ในบางสาขาวิชาก็อาจจะต้องไปเรียนที่ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้วย) แบ่งออกเป็น 5 ภาควิชาด้วยกัน ได้แก่

1. ภาควิชาการจัดการประมง

มุ่งเน้นการเรียนด้านการบริหารจัดการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และนิติศาสตร์ เช่น การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ, นโยบายและการบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำ, เศรษฐศาสตร์การประมง, ธุรกิจการประมง, การประมงชุมชน และสารสนเทศเพื่อการจัดการประมง เป็นต้น

2. ภาควิชาชีววิทยาประมง

มุ่งเน้นการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ บทบาท และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ, นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ, สรีรวิทยาสัตว์น้ำและพิษวิทยา, สุขภาพสัตว์น้ำ, ชีวประวัติสัตว์น้ำและพลศาสตร์การประมง เป็นต้น

3. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

มุ่งเน้นเรียนด้านการปรับปรุงพันธุกรรมและการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบการเพาะเลี้ยงแบบหนาแน่น, วิทยาภูมิคุ้มกัน, การวิเคราะห์คุณภาพน้ำและอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น

คณะประมง

4. ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

มุ่งเน้นการเรียนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร ด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมการแปรรูป และการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์, .จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพทางผลิตภัณฑ์ประมง และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

5. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

มุ่งเน้นเรียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีการจับสัตว์น้ำในทะเล เช่น นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ, สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีประมงทะเล และเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล เป็นต้น

โดยการเรียนในคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ น้อง ๆ จะไม่ได้เรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีการจัดเป็นทริปออกไปการทำงานจริงในฟาร์มปลาว่าเขามีวิธีการเพาะพันธุ์ปลากันอย่างไร เขามีวิธีการดูแลปลาอย่างไรกันบ้าง หรือเรียนรู้ที่สถาบันวิจัยทางทะเล อีกด้วย

สมัครเรียนใช้คะแนนอะไรบ้าง?

รอบ แอดมิชชัน

  • GPAX 20%
  • O-NET 30% (เกณฑ์ขั้นต่ำวิชา 03 ภาษาอังกฤษ = 16%)
  • GAT 10%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่สำเร็จการศึกษาในคณะประมง สามารถที่จะเข้าทำงานเป็นหลายตำแหน่งด้วยกัน เช่น นักวิชาการด้านการสำรวจสมุทรศาสตร์, นักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น โดยสามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
  • กรมควบคุมมลพิษ
  • สำนักแผนและนโยบายสิ่งแวดล้อม
  • กรมทรัพยากรธรณี
  • สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ
  • กรมอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • บริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

คณะประมง

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (แห่งอื่น ๆ)

  • คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ : คลิกที่นี่
  •  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ : คลิกที่นี่
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : คลิกที่นี่
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา : คลิกที่นี่
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี : คลิกที่นี่
  • สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : คลิกที่นี่
  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร : คลิกที่นี่
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : คลิกที่นี่
  • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : คลิกที่นี่

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความที่น่าสนใจ