เปิดโฉมหน้าเหล่าผู้บริหารคนเก่งศิษย์เก่า จาก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) พร้อมด้วยตำแหน่งทางธุรกิจที่แตกต่างสไตล์กันออกไป โดยแต่ละคน ล้วนผ่านการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นจากหลักสูตรที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรไทย หรือหลักสูตรนานาชาติ พร้อมด้วยการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถ และประสบการณ์จากทั่วโลกที่หลากหลาย นอกจากนี้ CMMU ยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ และค้นหาตัวตนไปพร้อมกับนักศึกษา เพื่อต่อยอดสร้างธุรกิจที่ต้องการทำในอนาคต
7 ศิษย์เก่าคนเก่ง CMMU
โดยเหล่าศิษย์เก่า MVP คนเก่งของ CMMU สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการจัดการ เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว คลุกคลีอยู่ในอาชีพการงานหลากหลายอุตสาหกรรมทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมความบันเทิง อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมแฟชั่น หรือแม้แต่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ เรียกได้ว่า ศิษย์เก่า CMMU ครอบคลุมอยู่แทบจะทุกประเภทธุรกิจ ซึ่งองค์ความรู้พร้อมทักษะการเรียนรู้ช่วยเติมเต็มให้แต่ละคนมีตำแหน่งทางธุรกิจอย่างไรบ้าง วันนี้จึงขอยกตัวอย่าง 7 ตำแหน่งทางธุรกิจโดยเหล่าศิษย์เก่าคนเก่ง CMMU มาให้ทุกท่านได้รู้จักว่าอยู่ในอุตสาหกรรมใดบ้าง ไปทำความรู้จักพร้อมกันเลย!
แทน Lipta
แทน Lipta เปิดค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง Kicks Records (คนขวา)
ประเดิมด้วย แทน Lipta หรือ คุณธารณ ลิปตพัลลภ นักดนตรีมากความสามารถ ศิษย์เก่าวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่นอกจากจะร้องเพลง แต่งเพลง และช่วยโปรดิวซ์เพลงให้ศิลปินหลายท่านแล้ว ล่าสุดคุณแทน ยังจับมือกับคุณคัตโตะ (คุณอารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล) เพื่อนร่วมวง Lipta ขึ้นแท่นเป็นผู้บริหารค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง Kick Records ที่ตอนนี้มีศิลปินที่เปิดตัวไปแล้วถึง 2 คน และได้รับความนิยมไม่น้อยเลย นอกเหนือจากการบริหารค่ายน้องใหม่แล้ว ทั้งคู่ยังคงดูแลฝั่งงานโปรดักชันด้วยตนเอง มั่นใจได้ว่าเพลงที่ออกมาจากค่ายนี้มีคุณภาพตามมาตรฐานของ Lipta แน่นอน
วรุตม์ ลีเรืองสกุล
วรุตม์ ลีเรืองสกุล หัวเรือใหญ่ฝั่งออนไลน์แห่งวิก 3 พระราม 4
ถัดมาที่ คุณวรุตม์ ลีเรืองสกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักดิจิทัลและกลยุทธ์สื่อใหม่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ศิษย์เก่าหลักสูตรนานาชาติ สาขา Entrepreneurship Management หนึ่งในทีมผู้บริหารที่พาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เติบโตในด้านของออนไลน์อย่างก้าวกระโดดผ่านแอปพลิเคชัน 3Plus ที่มีจำนวนสมาชิก ยอดเข้ารับชม และผู้ติดตามเติบโตขึ้นในทุกปี
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ก็ยังมีการประกาศกลยุทธ์เกี่ยวกับคอนเทนต์ใหม่ของช่อง 3 ออกมาให้แฟนๆ ได้ติดตามรับชมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในการขยายแนวคิดพัฒนาธุรกิจให้เติบโตในยุคดิจิทัล รวมถึงพัฒนาทักษะการจัดการของผู้ประกอบการ ให้สามารถจัดการความเสี่ยงในองค์กร ปรับตัวทันต่อสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อบริหารธุรกิจอย่างสำเร็จกเป็นหนึ่งในการเรียนการสอนที่สาขา Entrepreneurship Management ตั้งใจมอบให้เช่นกัน
มี้ครีม
มี้ครีม จากแม่ค้าขายเสื้อผ้าเด็กออนไลน์ สู่แบรนด์เสื้อผ้าเด็ก “อาร์พาเน็ตเกิร์ล”
ตามด้วย มี้ครีม หรือคุณจิรฉัตร พรมสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์พาเน็ตเกิร์ล จำกัด ศิษย์เก่าหลักสูตรไทย สาขาการตลาด สาขาที่ช่วยสร้างทักษะการทำตลาดค้าปลีก และการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ตนเองเพื่อสื่อสารถึงผู้บริโภค ก่อนมี้ครีมจะประสบความสำเร็จขายเสื้อผ้าเด็กผู้หญิง ผ่านช่องทางออนไลน์จากยอดขายหลักพัน สู่ร้อยล้านบาท ภายใต้แบรนด์ Arpanetgirl (อาร์พาเน็ตเกิร์ล)
เดิมเคยเป็นอดีตพนักงานประจำ จากนั้นลาออกมาเลี้ยงลูกฟูลไทม์ พร้อมมองหาธุรกิจที่สามารถทำงานควบคู่กับการเลี้ยงลูกไปด้วยได้ จึงเริ่มต้นด้วยการซื้อเสื้อผ้าจากประตูน้ำ นำมาสร้างความแตกต่าง ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร พร้อมนำลูกสาว ‘น้องอาร์พาเน็ต’ มาเป็นนางแบบตัวจิ๋ว ต่อยอดสู่การผลิตเสื้อผ้าเด็กในแบรนด์ของตนเองในปัจจุบัน พร้อมสานต่อความสำเร็จแตกไลน์สินค้าอีกหลากหลายแบบ อาทิ ชุดชั้นในเด็ก ชุดนอนเด็ก และหน้ากากผ้า เป็นต้น
เค่อ วู – Ker Wu
เค่อ วู – Ker Wu จากทายาทนักธุรกิจ สู่ YouTuber สายแฟชั่น
ด้าน เค่อ วู หรือ คุณเค่อเฉียน อู๋ ศิษย์เก่าหลักสูตรไทย สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม จากทายาทโรงงานผลิตชิ้นส่วนยาง ผันตัวเข้าสู่วงการสื่อออนไลน์ตามใจรัก เปิดช่อง YouTube ของตนเอง นำเสนอคอนเทนต์ด้านแฟชั่น Sneakers และ Street Wear ที่ผสมผสานความรู้อย่างน่าสนใจ
สำหรับจุดประกายการเริ่มต้นการเป็นยูทูปเบอร์ เค่อ วู เผยว่าเริ่มจากการเรียนรายวิชาในสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม ซึ่งได้มีการทดลองทำแนวคิดโมเดลธุรกิจ (Business Plan) ที่หลากหลายในห้องเรียนและการวางกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นสามารถมีที่ยืนและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ จนตกผลึกไอเดียและ Passion สู่การทำธุรกิจจริงของตนเอง เพื่อจะก้าวไปสู่การเป็น Profession ในวงการ
ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์
ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ กับธุรกิจของตกแต่งบ้านรักสิ่งแวดล้อมแบรนด์ ‘Qualy’
ต่อมา คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ศิษย์เก่าหลักสูตรนานาชาติ สาขา General Management เจ้าของธุรกิจแบรนด์ Qualy Design ผู้ผลิตสินค้าตกแต่งบ้านภายใต้แนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อม จากทุนเดิมที่เป็นทายาทโรงงานพลาสติกอยู่แล้ว และต้องการต่อยอดธุรกิจออกไปโดยไม่ทำลายโลก จึงมีไอเดียในการนำขยะพลาสติก รวมถึงเศษแห และอวนจากใต้ท้องทะเลมารีไซเคิล พร้อมทั้งใส่ดีไซน์ลงไป ให้กลายเป็นสินค้าตกแต่งบ้านที่มีดีไซน์เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร
โดยปัจจุบันแบรนด์ Qualy Design บุกตลาดต่างประเทศไปแล้วมากกว่า 66 ประเทศทั่วโลก พร้อมกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจอีกจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากถามถึงการเรียนการสอนสาขา General Management ก็มีการพัฒนาผู้ประกอบให้มีมุมมองที่กว้างไกลในธุรกิจระดับสากล ปัจจุบันคุณทศยังได้ต่อยอดธุรกิจสู่ต้นน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างระบบจัดเก็บขยะพลาสติกที่ใช้แล้วทั้งแหอวนและบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเพื่อนำกลับมาแปลงเป็นวัตถุดิบพร้อมใช้และป้อนกลับไปสู่ระบบการผลิตเพื่อลดปริมาณขยะที่จะไปสู่การฝังกลบหรือเผาทำลายภายใต้บริษัท CirPlas Tech จำกัด
ดร.ศราวุธ สิริขจรเดชสกุล
ดร.ศราวุธ สิริขจรเดชสกุล กับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ CPF
สำหรับ ดร.ศราวุธ สิริขจรเดชสกุล ศิษย์เก่าหลักสูตรไทย สาขาการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรที่ไม่มีใครไม่รู้จัก โดย ดร.ศราวุธ ได้สั่งสมประสบการณ์มาหลายปี จนก้าวมาถึงตำแหน่งในปัจจุบัน
โดยก่อนหน้านี้ทำงานทั้งในด้านการเป็นอาจารย์ และด้านกลยุทธ์การตลาดร่วมด้วย โดยการเรียนสาขาการจัดการธุรกิจที่ CMMU เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการ และผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ พร้อมเปิดโลกทัศน์ให้คนธรรมดา กลายเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารที่มีความสามารถที่แตกต่าง โดดเด่น และเก่งรอบด้าน
นสพ.กฤดากร คเชนทร์ชัย
นสพ.กฤดากร คเชนทร์ชัย พ่วงตำแหน่งผู้บริหารแห่งโลกเมตาเวิร์ส
ปิดท้ายด้วย นสพ.กฤดากร คเชนทร์ชัย ศิษย์เก่าหลักสูตรไทย สาขาการตลาด ผู้บริหารตำแหน่ง Assistant Vice President ของ MQDC Metaverse ซึ่งเป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร และอย่างที่หลายคนทราบ โปรเจกต์เมตาเวิร์สของ MQDC ล้วนเป็นอภิมหาโปรเจกต์ระดับโลกเลยทีเดียว นอกจากนี้ นสพ.กฤดากร ยังเคยส่งต่อความรู้แก่ผู้อื่นผ่านบทบาทโค้ช และวิทยากรด้าน Future skill and Neuromarketing อีกด้วย
เห็นได้ว่าเหล่าศิษย์เก่า CMMU ขึ้นชื่อความเป็น “ผู้เล่น MVP” ในวงการธุรกิจได้ดีทีเดียว ที่สามารถนำทักษะและความสามารถด้านการบริหารจัดการ มาผสานกับธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ต่อยอดในการนำพาธุรกิจ ไปเป็นตัวท็อปของแต่ละอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน แน่นอนว่า CMMU ยังคงพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อปั้นนักธุรกิจที่มากไปด้วยความสามารถ และพร้อมที่จะเผชิญโลกของการทำธุรกิจสุดท้าทาย ผ่านทั้งหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ รวมถึงหลักสูตรออนไลน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรเปิดใหม่ล่าสุด ในหลากหลายสาขาวิชา
ทั้งนี้ ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอก CMMU สามารถสมัครเรียนตั้งแต่วันนี้ – 18 กรกฎาคม 2565 ที่ https://apply.cm.mahidol.ac.th/web/ หรือสอบถามข้อมูลที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol (www.facebook.com/CMMUMAHIDOL)