อัพลุคส์ส่องเทรนด์แนวๆ ออม-ตีโต้ คณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต

สำหรับหนุ่มสาวที่ชื่นชอบการออกแบบ ไปฟังคำแนะนำจากรุ่นพี่มากประสบการณ์ ออม-ประกายพลอย ญานจรัส นักศึกษา ปี 3 สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ และตีโต้ นักศึกษาปี 4 สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ จากคณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต ดูสิว่าไลฟ์สไตล์ของเด็กออกแบบจะเข้ากับเราหรือเปล่า

อัพลุคส์ส่องเทรนด์แนวๆ หนุ่มสาวคณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต

จุดเริ่มต้นเข้าเรียนแฟชั่นดีไซน์

ตอนแรกไม่ได้คิดจะเข้า แค่ชอบแต่งตัวอยู่แล้ว ชอบดูคนอื่นแต่งตัว แต่พอไปเจอผลงานของรุ่นพี่ในสาขา รู้สึกพี่คนนี้ดูเท่มาก ได้เห็นการทำงาน ผลงานของเขา เลยตัดสินใจเลือกที่นี่ จากตอนแรกที่เราทำอะไรไม่เป็นเลย สเก็ตซ์รูปไม่เป็น เย็บผ้าไม่เป็น แต่อาจารย์ก็บอกว่าไม่ต้องซีเรียส ทุกคนเริ่มจากศูนย์เหมือนกัน อาจารย์จะเริ่มสอนจากศูนย์ แล้วค่อยก้าวไปทีละสเต็ป จนตอนนี้ก็เย็บผ้าได้เอง ทุกเองได้ทุกอย่าง คิดว่าเราเลือกสาขานี้ถูกแล้ว มันใช่สำหรับเรา

เด็กแฟชั่น ม.รังสิต เราต้อง THE BEST ที่สุด

ตั้งแต่เข้ามาเรียนก็ได้ทำเองทุกอย่าง เรียนรู้ตั้งแต่ไปซื้อผ้าที่ไหน ซื้ออุปกรณ์ที่ไหน เย็บผ้ายังไง เรียนเหมือนเมืองนอกเลย สไตล์การเรียนแฟชั่นที่ม.รังสิตจะต่างกับที่มออื่นตรงที่ว่า มออื่นจะเน้นครีเอทีฟแบบขายของ แต่ของที่นี่จะเน้นการโชว์ จะมีโครงชุดอลังการ เหมือนเป็นคอลเลกชั่นตั้งต้นที่เราจะสามารถตัดทอนให้เป็นเดรสแวร์ที่ใส่ในชีวิตประจำวันได้ แล้วอาจารย์จะไม่ได้มีขีดจำกัด ไม่ได้ตีกรอบให้เรา คือเขาจะให้โจทย์มาว่าอย่างเป็นเสื้อเชิ้ตนะ แต่จะไม่ใช่แค่เสื้อเชิ้ต ให้เราคิดให้มากกว่านั้น เขาอยากให้ลูกศิษย์เป็น THE BEST ที่สุด คือต้องที่สุดของที่สุด แล้วก็ดูแลใส่ใจทุกรายละเอียด คอยตรวจงานถึงเที่ยงคืนก็อยู่กับเด็กค่ะ

วิธีหาแรงบันดาลใจในไอเดียเจ๋งๆ

เวลาทำงาน ทุกคนจะได้ทำคอลเลกชั่นเสื้อผ้า โดยเราจะต้องมีหัวข้อที่เราสนใจก่อน แล้วค่อยเอามาแตกเป็น MIND MAP ที่ลึกลงไปอีก ในงานศิลป์ของเราคือการทำชุด ซึ่งมันอาจจะยากกว่าที่ตีความเป็นงานอาร์ต เพราะเราต้องทำเสื้อผ้าที่มันสวมใส่ได้จริง แล้วต้องทำให้คนอื่นเข้าใจในงานของเรา ซึ่งในคลาส บางทีอาจารย์ก็จะสอนให้เรามีหัวข้อแปลกๆ เช่นให้นักเรียนเดินไปหยิบใบไม้ กิ่งไม้ตามตึก แล้วดึงอารมณ์ตรงนั้นออกมาถ่ายทอดเป็นโครงชุดของเราในจินตนาการ ซึ่ง กระบวนการคิดมันห้ามตัน ถ้าเรื่องไหนตัน ยูจะไม่ได้ทำเรื่องนี้ มันสามารถคิดไปได้เรื่อยๆ เลย ไม่มีคำว่าร้อยเต็มแล้วจริงๆ

เทรนด์สุดฮิปสไตล์หนุ่มสาวสุดชิค

เด็กออกแบบทุกคนมีของค่ะ ตั้งแต่เข้ามาแรกๆ ก็เหมือนรวมคนติสท์ๆ ที่มีสไตล์ของตัวเอง อย่างตอนรับน้อง ที่เรียกว่าลงลาน เราก็จะมีกิจกรรมอย่างเช่นให้เดินไปรอบมอแล้วตะโกนว่าเราเลือดสีอะไร เหมือนประกาศให้โลกรู้ว่าเราเด็กศิลปกรรมนะ มันเจ๋งดี ส่วนของพวกเราแฟชั่นก็จะมีที่รวมตัวกันคือชั้น 9 หลายคนจะเรียกกันในนาม “นางฟ้าชั้น 9” (หัวเราะ) คือทุกคนจะมีเอกลักษณ์ มีสไตล์ของตัวเอง อาจารย์บอกเลยว่า ไม่ว่ายูจะใส่อะไรมา ยูต้องใส่สีดำนะ ขาวดำ ใส่รองเท้าก็ต้องห้ามเห็นเล็บเท้า วันไหนถ้ายูส่งงาน ไม่ว่าจะโทรมแค่ไหน ก็ต้องแต่งหน้ามา ห้ามป่วย คือมันไม่ใช่การเหยียดกัน แต่มันคือการฝึกตัวเอง เพราะเราเป็นดีไซเนอร์ ถ้าเรายังทำได้แค่นี้ แล้วยูจะไปแต่งตัวหรือจะไปทำงานให้ใครได้

ชวนน้องๆ ให้เข้ามาทั้งสวย ทั้งสตรองด้วยกัน

ที่นี่อาจารย์จะสนับสนุนให้เด็กทุกคนประกวดค่ะ เราต้องไม่หยุดที่ม.รังสิต แต่เราต้องยิ่งใหญ่ เราต้องไปข้างนอก ออกไปดูแนวคิดคนอื่น เพื่อกลับมากดดันตัวเองให้พัฒนากว่านี้ การเรียนแฟชั่นต้องสู้จริงๆ ไม่ใช่แค่แต่งตัวมาเรียนสวยๆ แต่ทุกคนต้องสวยด้วย สตรองด้วย เด็กปีหนึ่งทุกคนต้องแบกหุ่นขึ้นตึก ผู้หญิงทุกคนต้องสตรองมาก ต้องส่งงานตรงเวลา แต่ละรุ่นเข้ามากันเยอะ แต่จบกันน้อยมาก แต่ก็พูดได้เลยว่าไม่มีรุ่นพี่คนไหนที่จบไปแล้วไม่เจ๋ง ทุกคนเจ๋งหมด แต่ถามว่าอยากให้มาเรียนมั้ย ก็อยากให้มาเรียนเนอะ เพราะเป็นที่ๆ ต้องมาลอง มันโครตดีเลย ทุกคนมาเริ่มจากศูนย์หมด แต่ได้มารวมตัวกัน ช่วยเหลือกัน ได้พัฒนาตัวเองขึ้น มาที่นี่หนูรับประกันได้ว่าทุกคนที่กลับออกไปต้องได้อะไรมากกว่าห้าสิบแน่นอน

TITO SCHWIN SUTHISUVAN

ตีโต้-ชวิน สุทธิสุวรรณ เรียนปี 4 สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ส่วนตัวผมเป็นคนชอบสายกราฟิกมาตั้งแต่เด็ก คุณพ่อเองก็มาแนวนี้ ผมเห็นพ่อวาดรูป นั่งเสพงานอาร์ตทั้งวัน เลยทำให้รู้สึกอินด้านนี้ ที่ม.รังสิต ทั้งรุ่นพี่กับอาจารย์ก็มีแต่มืออาชีพ แล้วก็ประทับใจระบบรับน้องที่นี่ คือมันแปลกคล้ายๆ รัฐบาล แต่ก็ยังเป็นเอกชน ผมว่ามันเท่ ไฮบริดดี (หัวเราะ) พอเข้ามาเรียนจริงๆ ก็ได้แนวคิด Thinking ที่ฝึกให้เราเอาไปพัฒนาต่อในงานจริงๆ ได้ แรงบันดาลใจมันมีหลายทางมากๆ ทั้งการเล่นเกม ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือดูยูทูป เล่นโซเชียล ทุกอย่างรอบตัวมันเป็น INSPIRATION ให้เราได้หมด ก็อยากจะให้น้องๆ ที่เข้ามาใหม่ ได้มาฝึกฝน เริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐาน เสพอาร์ตให้เยอะๆ จะได้ค้นหาสไตล์ของตัวเองให้เจอเร็วๆ”

ติดตามคอลัมน์ about campus ได้ในนิตยสาร Campus star no.49

www.facebook.com/campusstars

ข่าวที่เกี่ยวข้อง