การย้ายหอพัก หอพัก หอพักนักศึกษา

เลือกอยู่ หอใน VS หอนอก ดีกว่ากัน? – ทริคการเลือกหอพักยังไงให้ “แฮปปี้”

Home / วาไรตี้ / เลือกอยู่ หอใน VS หอนอก ดีกว่ากัน? – ทริคการเลือกหอพักยังไงให้ “แฮปปี้”

แคมปัส-สตาร์ ขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆ ชั้น ม.6 ทุกคนด้วยนะคะ ที่สามารถสอบผ่านเข้าศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัยกันได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ผ่านโอกาสไปอย่าเพิ่งท้อ! หรือหมดหวังกันนะคะ เพราะยังมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับสมัครอยู่ในตอนนี้ น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/มหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ ต้องการได้เลยค่ะ

เด็กปี 1 ควรรู้ เลือกอยู่ หอใน VS หอนอก ดีกว่ากัน?

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สอบผ่านการคัดเลือกแล้ว และกำลังจะต้องย้ายสำภาระเข้ามาอยู่ที่หอพัก เพื่อง่ายต่อการเดินทางมาเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีเรื่องน่ารู้ของเด็กปี 1 ในการเลือกหอพักมาฝากกันด้วยค่ะ โดยเป็นการเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของหอในและหอนอก ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันได้เลย

เด็กปี 1 ควรรู้ เลือกอยู่หอใน VS หอนอก ดีกว่ากัน?

ทริคการเลือกหอพักยังไงให้ แฮปปี้

มีราคาในการเช่าที่สมเหตุสมผล และอยู่ในระดับที่เราสามารถจ่ายได้
– ต้องสะอาดและมีระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณในตัวอาคารของหอพัก และห้องพัก
– มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักที่มีสถาพสมบูรณ์ ใช้งานได้ ไม่มีการชำรุด เช่น เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะเขียนหนังสือ เตียงนอน และตู้เสื้อผ้า ฯลฯ
– หอพักตั้งอยู่ในบริเวณที่เราสามารถเดินทางเข้า-ออก ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และตั้งอยู่ใกล้กับร้านอาหาร ตลาด และมหาวิทยาลัย
ต้องมีความสงบ เนื่องจากความสงบนั้นมีความสำค้ญเป็นอย่างมากในช่วงสอบ เพราะถ้าเราอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมันอาจจะส่งผลต่อการอ่านหนังสือของเราได้ ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง
– คิดค่าน้ำ ค่าไฟ ตามความเป็นจริง มีมาตรฐาน ไม่แพงจนเกินไป
– มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน

เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย หอใน VS หอนอก

1. หอใน หรือ หอพักในมหาวิทยาลัย

ข้อดี.. หอใน

ค่าพักหอในมีราคาถูกกว่าหอนอก โดยในบางมหาวิทยาลัยราคาไม่ถึง 3,000 บาทต่อเดือน หรือต่อเทอม
– เดินทางไปเรียนสะดวก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และยังช่วยประหยัดค่าเดินทาง อีกด้วย
ได้เจอเพื่อนใหม่ ๆ เพราะการเข้าไปอยู่หอในเราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะพักกับใคร โดยทางมหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดให้เราเองว่าจะต้องพักอยู่ห้องไหน อาจจะได้พักอยู่กับเพื่อนคณะเดียวกัน หรือต่างคณะกันก็ได้
– มีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ บริเวณหอพัก เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และร้านซักรีด เป็นต้น
– มีบริการอินเทอร์เน็ตให้เราได้ใช้ฟรี! ถึงจะไม่ค่อยเร็วเท่าไหร่ แต่ก็ยังสามารถใช้ทำงานได้

ข้อเสีย.. หอใน

– แน่นอนว่าหนึ่งเรื่องที่เราจะต้องเจอกันก็คือ ความเก่า ความทรุดโทรมของหอใน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยนะคะ เพราะในบางมหาวิทยาลัยก็มีหอในใหม่ ๆ ให้เราได้พักเหมือนกัน
– จะต้องใช้พื้นที่ร่วมกับผู้อื่น เช่น บางหอพักอาจจะต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน หรือห้องอ่านหนังสือ เป็นต้น แต่บางหอพักก็มีห้องน้ำส่วนตัวให้ในห้อง แต่ก็ต้องใช้ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่พักอยู่ห้องเดียวกัน
ไม่มีความเป็นส่วนตัว เพราะเราจะต้องแชร์ห้องกับเพื่อนที่ไม่รู้จัก หรือต่างคณะกัน
– มีเสียงรบกวนจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย
– บางหอพักมีกฎระเบียบเยอะมาก เช่น การกำหนดเวลาเข้า-ออกหอ หรือแม้แต่เรื่องการห้ามไม่ให้เราพาบุคคลอื่นเข้ามาที่หอ เป็นต้น

เด็กปี 1 ควรรู้ เลือกอยู่หอใน VS หอนอก ดีกว่ากัน?

2. หอนอก หรือ หอพักที่อยู่นอกมหาวิทยาลัย

ข้อดี.. หอนอก 

– เราสามารถเลือกสไตล์การตกแต่งห้อง หรือหอพักที่เราชอบได้ตามต้องการ
– มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องแชร์ห้องร่วมกับผู้อื่น หรือคนที่เราไม่รู้จัก
– ไม่มีเสียงรบกวนจากการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย
สามารถกลับเข้าหอดึกได้ ไม่มีการกำหนดเวลาเข้า-ออก
– อยู่ใกล้ตลาด หรือแหล่งช็อปปิ้ง หรือแหล่งของกิน ตอนทำการบ้านดึก ๆ ไม่ต้องกลัวหิวกันเลยจ๊ะ

ข้อเสีย.. หอนอก

– สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการอยู่หอนอกต้องเตรียมเงินกันไว้เลย เพราะราคาหอพักต่อเดือนจะมีราคาแพงกว่าหอในถึง 1-2 เท่าเลยทีเดียว
– อยู่ไกลคณะหรือตึกเรียน อาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทางนานกว่าหอใน และยังมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เพิ่มเข้ามาอีกด้วย
– บางหอพักอาจจะมีสัญญาระยะยาว อาจจะทำให้ย้ายออกได้ลำบาก หากเราจำเป็นที่จะต้องย้ายกระทันหัน
มีค่าใช้จ่ายในการต่อ Wi-Fi สำหรับการขอใช้งานอินเทอร์เน็ต
– มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ไม่ครบ หรือถ้ามีครบก็ราคาแพง

สิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อต้องย้ายเข้าหอ

เสื้อผ้า ต้องเตรียมมาให้พร้อมเลย ทั้งชุดนิสิต-นักศึกษา และชุดที่เราใส่ประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หมอน และของใช้ในห้องน้ำ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทานอาหารก็ห้ามลืม! ต้องเตรียมมาให้พร้อม เช่น จาน ถ้วย ช้อน และยังรวมถึงขนมต่าง ๆ ด้วยนะ เอาไว้ทานรองท้องเวลาหิวได้ ฯลฯ
ยาสามัญประจำบ้าน เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะป่วย หรือได้รับบาดเจ็บ (เล็กน้อย) ตอนไหน ดังนั้น การเตรียมยาหรืออุปกรณ์ทำแผลเอาไว้ด้วยนั้นดีที่สุดแล้ว
อุปกรณ์การเรียนก็ต้องพร้อม เราเรียนคณะไหนก็ต้องเตรียมสิ่งที่ต้องใช้เรียนมาให้ครบ เช่น โน๊ตบุ๊ก หนังสือเรียน ฯลฯ
– ส่วนสิ่งสุดท้ายนี้บอกเลยว่าห้ามลืมเด็ดขาด นั่นก็คือ เงิน เพราะถึงแม้ว่าเราจะมีครบทุกอย่าง แต่ไม่มีเงินก็ทำอะไรไม่ค่อยสะดวกนะ (แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้อย่างประหยัดด้วยนะจ๊ะ)

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.admissionpremium.com, hostelhunting.com

บทความที่น่าสนใจ