ภาคเคมีเทคนิค วิทยาศาสตร์เคมี วิศกรรมเคมี

สาขาเคมีวิศวกรรม กับ วิศวกรรมเคมี จุฬา ต่างกันอย่างไร?

Home / วาไรตี้ / สาขาเคมีวิศวกรรม กับ วิศวกรรมเคมี จุฬา ต่างกันอย่างไร?

จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย มีชื่อสาขาวิชาที่คล้ายกันอยู่ก็คือ สาขาเคมีวิศวกรรม กับ วิศวกรรมเคมี  ซึ่งสองสาขาวิชานี้มาจากคนละคณะกันเลย เคมีวิศวกรรม (ภาควิชาเคมีเทคนิค) จะต้องเรียนอะไรบ้าง ต่างจากวิศวกรรมเคมียังไง วันนี้เราก็มีคำตอบมาฝากกัน

สาขาเคมีวิศวกรรม กับ วิศวกรรมเคมี จุฬา ต่างกันอย่างไร?

ทำไมถึงต้องตั้งชื่อสาขาวิชาให้คล้ายกัน? แค่สลับคำกันไม่ใช่เหรอ แล้วนอกจากนี้จะมีความต่างอะไรอีก ซึ่งต่างแน่นอนค่ะ เพราะคณะที่เรียนก็คนละคณะกันแล้ว สาขาเคมีวิศวกรรม (ภาควิชาเคมีเทคนิค) อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ วิศวกรรมเคมี จะเป็นสาขาวิชาที่อยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้บัณฑิตที่จบมาได้วุฒิต่างกันแล้ว เพราะถ้าเป็นของวิทยาศาสตร์ก็จะเป็น วทบ. ส่วนวิศวกรรมศาสตร์ก็จะเป็น วศบ. แต่สิทธิพิเศษสำหรับคนที่จบเคมีเทคนิคคือ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้ 

ความแตกต่างในเรื่องของวิชาเรียน

ในด้านของวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ หรือการทำแลปก็จะคล้ายๆ กัน พอเลื่อนขึ้นไปเป็นชั้นปีที่สูงขึ้นก็จะเข้าสู่วิชาภาคที่ต่างกัน แต่ก็จะยังมีวิชาที่เรียนซ้ำกันอยู่บ้าง เช่น Unit Operations หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น ใครที่สนใจว่าทั้งสองสาขาวิชานี้ต้องเรียนอะไรบ้าง สามารถเช็คจากตารางเรียนด้านล่างนี้ได้เลย

ความแตกต่างด้านการทำงาน

ถ้าหากจบวิศวกรรมเคมี ก็จะเป็นนักวิศวกรเคมี ซึ่งจะมีหน้าที่ในการออกแบบ และการปฏิบัติการในกระบวนการผลิตขั้นตอนต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเคมี หรือฟิสิกส์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ

แต่วิทยาศาสตร์เคมี สำหรับคนที่เรียนเคมีเทคนิค แล้วทำงานในสายงานด้านเคมีเป็นหลัก ก็จะเป็นนักเคมี ซึ่งจะเป็นลักษณะงานค้นคว้า หรือปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต ด้วยเครื่องมือทดลอง รวมทั้งการคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเมื่อนักเคมีได้ทำการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้นแล้ว วิศวกรเคมีจะเป็นผู้คิดวิธีที่จะนำไปปรับสภาวะต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตต่อไป

ที่มา : dek-d , unigang

บทความแนะนำ