เก่งสุดยอด “วิทยาลัยสารพัดช่างตราด” คว้าแชมป์โลกแกะสลักหิมะสองปีซ้อน

วิทยาลัยสารพัดช่างตราด สร้างชื่อให้ประเทศไทยอีกครั้ง คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมรางวัล Best creative Award การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ (12th International Collegiate Snow Sculpture Contwst (2020) เมืองฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4-7 มกราคม 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด จาก 8 ประเทศ 55 ทีม ภายใต้ผลงาน ชื่อ “รักยืนยาว” ในธีมฉลองวาระครบรอบ 70 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และมิตรภาพที่ดีอันยาวนานระหว่างไทย- จีน

วิทยาลัยสารพัดช่างตราด คว้าแชมป์โลกแกะสลักหิมะ

นอกจากทีมวิทยาลัยสารพัดช่างตราดที่คว้ารางวัล  ชนะเลิศ พร้อมรางวัล Best creative Award การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ (12th International Collegiate Snow Sculpture Contwst (2020) เมืองฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ยังมีอีกสองทีมจากอาชีวะไทย ได้แก่ อาชีวศึกษาอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ก็คว้ารางวัลมาด้วยเช่นกัน 

วิทยาลัยสารพัดช่างตราด คว้ารางวัลชนะเลิศ

โดยทีมแกะสลักหิมะวิทยาลัยสารพัดช่างตราด ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมรางวัล Best creative Award การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ประกอบด้วยนักศึกษา นายธวัชชัย สนธิพิณ หัวหน้าทีม นายชโยทิต สุขสวัสดิ์ นางสาวน้ำฝน จันทร์จรูญ และนางสาวพรรณนิภา นามวิชัย นักศึกษาแผนกการโรงแรม

ภาพผลงาน สวยงามวิจิตรจริง ๆ

มีอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ได้แก่ นางรุ่งนภา อุดมชลปราการ และนายเกริกไกร นนทลักษณ์ อาจารย์แผนกการโรงแรมพร้อมด้วย นายชยกร กุลธวัชชุลิตา อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งมีประสบการณ์ในการแข่งขันและมีความผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คว้ารางวัลที่ 2

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คว้ารางวัลที่ 2 (Second Prize) ของการแข่งขันโดยทีมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ประกอบด้วย นายพิศิษฐ์ อู่ศิริกุลพาณิชย์ หัวหน้าคณะวิชาศิลปกรรม นายสุระชาติ พละศักดิ์ หัวหน้าแผนกวิชาวิจิตรศิลป์ ครูผู้ฝึกสอน นักศึกษา ประกอบด้วย นายอัฐกร แก้วหาวงศ์ นักศึกษา ปวส.2 นายพลรบ รูปคม นักศึกษา ปวส.1 นายอนันตชัย วอทอง นักเรียน ปวช.3 และนายอำพล ธรรมทอง นักเรียน ปวช.1 ทั้งหมดเป็นนักเรียน นักศึกษาในสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ คณะวิชาศิลปกรรม

ภายใต้ผลงานชื่อ พลังแห่งความสามัคคี “Unity is Strength” ด้วยการจำลองเหตุการณ์ในโลกจินตนาการของกลุ่มสัตว์ที่อยู่ในแดนป่าหิมพานต์ ได้แก่ ไกรสรคชสิงห์ วารีคชสิงห์ เหรา สกุณาเหรา ถ่ายทอดเรื่องราวของ วารีคชสิงห์ ถูกลูกศรของนายพรานลอบทำร้าย ทำให้ ไกรสรคชสิงห์ พร้อมด้วย เหรา สกุณาเหรา สัตว์ทั้ง 3 ได้รวมพลังกันเข้าช่วยเหลืออย่างไม่รีรอ ด้วยจิตใต้สำนึกแห่งสัญชาติญาณที่ดี ที่ควรค่าอย่างยิ่งที่จะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในจิตใจของสังคมมนุษย์โลกในปัจจุบัน

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี คว้ารางวัล ที่ 3

สำหรับทีมวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี คว้ารางวัล ที่ 3 จากผลงานพลังแห่งชีวิตมนุษย์เพื่ออนาคต จากผลงาน The power of human life to the future ประกอบด้วยนายไสว สีบูจันดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี นายกิตติพล วิเชียรเชื้อ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อม มีนายอมรรัตน์ ศรีหิน หัวหน้าสาขาวิชาวิจิตรศิลป์เป็นผู้ฝึกซ้อม และนักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ นายธนากร นวลปลา นายนพดล ศรีอินกิจ นายพัธนพงค์ จันทร์เตย และนายธีรพัฒน์ ฟั่นตื้อ

ถือเป็นเรื่องราวดี ๆ น่าชื่นชม ในความสามารถของเด็กไทย

ที่มาจาก : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง