อย่างที่เราทราบกันดีกว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านระบบเศรษฐกิจ ด้านภาคธุรกิจ การจ้างงาน ฯลฯ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่าเด็ก ๆ และเยาวชนก็ได้รับผลกระทบในด้านต่าง ๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน โดยผลสำรวจของ UNDP ได้เผยให้เห็นถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในหลากหลายแง่มุม
ผลกระทบเด็กไทย จากโควิด-19
โดยเฉพาะผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการเติบโตของเยาวชน พบ 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.รายได้และภาวะทางการเงิน (financial stability) พบว่า 25% มีความกังวลในสถานะทางการเงินของครอบครัว
2.สุขภาวะทางจิตใจ (Mental Health) โดย48% มีความกังวลในเรื่องโอกาสทางด้านการศึกษาต่อ
3.ความท้าทายทางด้านการศึกษา (Education) พบว่าเยาวชนมีความกังวลในเรื่องการศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากมีความไม่พร้อมของสภาพแวดล้อมรวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ
และ 4.ความรุนแรงที่เกิดจากพื้นฐานเพศสภาพ (Gender-based Violence) โดย 7% มีความกังวลเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และ 4% รู้สึกกังวลเรื่องการแสดงออกทางเพศสภาพ ในระหว่างครอบครัว
นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ตัวแทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล้วนส่งผลกระทบในหลากหลายด้านต่อทุกคน ๆ โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้นการยกระดับเยาวชนและสังคมให้มีคุณภาพและเป็นไปอย่างยั่งยืน ถือเป็นโจทย์ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะเยาวชนที่มีมุมมอง แนวคิด และความสามารถในสิ่งใหม่ ๆ จะเป็นตัวแปรสำคัญของโลกอนาคต และยังสามารถทำให้เป้าหมายการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนสำเร็จได้
โดยโครงการยูธ โคแล็บ ประจำปี 2563 (Youth Co:Lab 2020) จากความร่วมมือกันของมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จึงถูกจัดขึ้นภายใต้ธีม “Youth for COVID-19 Recovery การฟื้นฟูสังคมหลังโรคระบาดโควิด-19″ เพื่อสะท้อนทางออกของสถานการณ์ของการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนไทยคนรุ่นใหม่มาโชว์การคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่จะมาแก้ไขปัญหาที่ส่งกระทบต่อเยาวชนในด้านต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ซึ่งเยาวชนไทยหลากหลายกลุ่มได้นำเสนอนวัตกรรม ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาและขับเคลื่อนสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดี อาทิ
- ยั่งยืนสำเร็จได้ โดยโครงการยูธ โคแล็บ ประจำปี 2563 (Youth Co:Lab 2020) จากความร่วมมือกันของมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation)
- และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จึงถูกจัดขึ้นภายใต้ธีม “Youth for COVID-19 Recovery การฟื้นฟูสังคมหลังโรคระบาดโควิด-19″ เพื่อสะท้อนทางออกของสถานการณ์ของการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนไทยคนรุ่นใหม่ มาโชว์การคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะมาแก้ไขปัญหาที่ส่งกระทบต่อเยาวชนในด้านต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเยาวชนไทยหลากหลายกลุ่มได้นำเสนอนวัตกรรมที่จะมาช่วยแก้ปัญหาและขับเคลื่อนสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดี อาทิ
Peace of Art
เยียวยาจิตใจ ผ่านการทำอาหาร และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่มีจุดเริ่มต้นจากการที่มีเด็กและเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบเจอเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มาตลอดระยะเวลากว่า 15ปี หลายคนในครอบครัวถูกควบคุมตัว ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดความรู้สึกวิตกกังวลและรู้สึกหวาดกลัว รวมถึงไม่มีช่องทางให้ปรึกษาและระบายความเครียดจากสิ่งที่ประสบพบเจอ ซึ่งการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด
เวิร์คช็อป Peace of Art จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา หลังการสำรวจพบว่าvเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต่างใช้ศิลปะหลากหลายแขนงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบำบัด ซึ่งการทำอาหาร เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่หลากหลายคนชื่นชอบ จึงเลยเลือกการทำอาหารมาช่วยบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาทางจิตเวชโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยนอกจากการเวิร์คช็อปร่วมกันแล้ว ยังต่อยอดด้วยการทำ Booklet ให้เด็กและเยาวชนสามารถนำไปศึกษาที่บ้านเพิ่มเติมได้อีกด้วย
Mindventure
Mindventure พื้นที่แห่งการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจ และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ – ที่มีจุดเริ่มต้นจากการที่พบเห็นว่าเยาวชนไทยในปัจจุบันต่างประสบกับปัญหามากมายและไม่มีพื้นที่ให้ระบายได้อย่างสบายใจ จนทำให้เกิดวงจรซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
Mindventure จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในการช่วยให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจตัวเองและมีความสุขจากภายใน รวมถึงช่วยป้องกันความเสี่ยงปัญหาทางสุขภาพจิต ผ่านการทำกิจกรรมเวิร์คช็อปออนไลน์ ในหลากหลายหลักสูตร เช่น ค่ายรู้จักตัวตน ค้นหาอาชีพ ค่ายปลุกไฟการเรียนสอบติดไปด้วยกัน และค่ายรักตัวเองเป็น เห็นตัวเองมั่นใจ ซึ่งหลังจากการเข้าร่วมเวิร์คช็อปแล้วก็ยังมีการจัดกิจกรรมส่งต่อความรู้จากศิษย์เก่าที่เคยเข้าร่วมให้เพื่อน ๆ และกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนเด็ก เยาวชน คนอื่น ๆ ต่อไป
โครงการสินค้าพื้นเมืองร่วมสมัยสีรุ้ง
การรวมตัวกันของทีมเยาวชนจากชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Indigenous Youth for Sustainable Development) ที่ต้องการยกระดับคนในชนเผ่าพื้นเมืองที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและไม่มีสัญชาติให้สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนนอกจากอาชีพรับจ้างแบกของเพียงอย่างเดียว ผ่านการให้ความรู้และเสริมทักษะด้านอาชีพที่หลากหลายผ่านการทอผ้า ตัดเย็บ และย้อมสี ออกมาเป็นสินค้าพื้นเมืองร่วมสมัยสีรุ้ง อาทิ เสื้อผ้า ถุงผ้า ผ้ าพันคอ ฯลฯ
Urban Farming Bang Chalong Model
แนวคิดปลูกผักในพื้นที่เศษเหลือของชุมชนบางโฉลง ที่มีจุดเริ่มต้นจากการที่เห็นว่าคนในพื้นที่มีอาชีพเฉพาะทางคือการปลูกผักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งในช่วงเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบด้านรายได้ของคนในชุมชน จึงอยากพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้มากขึ้นกว่าเดิม
โดยการเอาพื้นที่เหลือใช้ในชุมชน เช่น พื้นที่ว่างระหว่างอาคาร พื้นที่บนดาดฟ้าหรือใต้หลังคา แล้วนำแนวคิด Urban Farming มาปรับใช้ โดยที่คนในชุมชนก็จะมีรายได้จากการทำงานปลูกผัก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องหาปลายทางรับซื้อ ส่วนนิติบุคคลหรือเจ้าของสถานที่ก็มีรายได้จากการจัดสรรพื้นให้เกิดประโยชน์มากกว่าปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนอื่น ๆ ที่มีความถนัดแตกต่างกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อการปลูกผักเพียงอย่างเดียว
แพลตฟอร์มต้มยำ (Tomyam Platform)
แพลตฟอร์มรวบรวมเยาวชนด้อยโอกาสใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยเหลือให้มีโอกาสในด้านต่าง ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นจากการที่เห็นว่ามีเยาวชนทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากที่ขาดโอกาสทั้งด้านการศึกษา การดำรงชีวิต เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ทำให้เยาวชนหลายคนต้องดิ้นรนไปทำงานในแถบประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซีย เพื่อความอยู่รอดแทน ซึ่งตอนที่เกิดโควิด-19 เยาวชนเหล่านี้ก็ทำได้รับผลกระทบ ในเรื่องของการจ้างงาน เพราะต้องเดินทางกลับมายังประเทศไทย ทำให้ขาดรายได้
ดังนั้นจึงคิดค้นโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเยาวชนเหล่านี้ ให้สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ผ่านการให้ความรู้การศึกษาและอาชีพ เช่น การเรียน กศน. และการทำงานผ่านธุรกิจจัดงานแต่งงาน เนื่องด้วยทางภาคใต้นิยมจัดงานแต่งงานกันที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นธุรกิจจัดงานแต่งงานจึงเป็นธุรกิจที่ต้องการแรงงานคนทำงานสูง ซึ่งเยาวชนเหล่านี้ก็จะมีทักษะการทำงานด้านบริการอยู่แล้ว ก็จะช่วยเอื้อให้การจัดงานสะดวก และเป็นระบบระเบียบมากขึ้น อีกทั้งลูกค้ายังได้รับการบริการจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ ก็จะเป็นอีกทางที่ช่วยลดการย้ายถิ่นฐานการทำงานของเยาวชนไทยอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงไอเดียส่วนหนึ่งของเยาวชนไทยคนรุ่นใหม่ ที่คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่จะมาแก้ไขปัญหาที่ส่งกระทบต่อเยาวชน ซึ่ง โครงการยูธ โคแลป ยังมุ่งเน้นศักยภาพและการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนและสังคมให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างยั่งยืน
เพราะเชื่อมั่นว่าเยาวชนเหล่านี้ จะกลายเป็นทุนมนุษย์ที่ทรงคุณค่าในอนาคต โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการยูธ โคแล็บ ได้โดยการติดตาม #YouthCoLab และ youthcolab.org หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citifoundation.com หรือ www.youthcolabthailand.