มมส ชวนชมหุ่นฟาง “น้องกระต่ายปรารถนา” จากวัสดุท้องถิ่นอีสาน

วันที่ 21 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติสุข แหล่งสนาม ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า หุ่นฟางตัวนี้มีชื่อว่า “น้องกระต่ายปรารถนา” ที่มาของชื่อ คือปีนี้เป็นปีกระต่าย หรือปีเถาะ อยากทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสีสัน ให้กับพื้นที่ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเชื่อมโยงกับพื้นที่ตรงนี้เป็นสวนหย่อมที่มหาวิทยาลัยกำลังปรับปรุงพัฒนา ให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของนิสิตบุคลากรและผู้แขกผู้มาเยือน

หุ่นฟาง “น้องกระต่าย”

แนวคิดการออกแบบ

สำหรับแนวคิดในการออกแบบคือ มีไอเดียว่า จะทำกระต่ายอย่างไร ที่ไม่เคยเจอในบริบทที่เป็นจริง เรียกง่าย ๆ ว่า กระต่ายในจินตนาการ ทำให้ดูน่ารัก เป็นการ์ตูน มีหูที่ใหญ่มาก และดูโดดเด่น

วัสดุที่นำมาใช้เป็นวัสดุในพื้นถิ่น วัสดุทางการเกษตรที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยว คือ ฟาง ส่วนที่นำมาเป็นสีสันคือเศษผ้าที่เหลือจากการปักเย็บของชาวบ้านในชุมชน ที่ตัดผ้าไหมผ้าไทย

น้องกระต่ายปรารถนา มีความสูง 4 เมตร กว้าง 3 เมตร มีอาจารย์นิสิต และชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้และช่วยกันผูกฟาง ใช้เวลาประกอบจากโครงสร้างเหล็กจนถึงการผูกมัดฟาง ประมาณ 1 เดือน และช่วยกันการเคลื่อนย้ายจากคณะ โดยใช้ล้อเลื่อนมาบริเวณจุดที่ตั้งแสดง

ผลงานประติมากรรมหุ่นฟางชิ้นนี้ เกิดขึ้นภายใต้โครงการ “กิจกรรมหุ่นฟางและวัสดุท้องถิ่นอีสาน เพื่อพัฒนามูลค่าเพิ่มด้วยกระบวนการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ใหม่ จากวัตถุดิบวัฒนธรรมชาวนา” โดยภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์

ผู้ที่สนใจสามารถชมต้นแบบหุ่นฟางน้องกระต่ายปรารถนา ได้ที่ ลานสนามหญ้าแยกไฟแดง หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ตั้งอยู่ที่ ลานสนามหญ้าแยกไฟแดง หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหาสารคาม

เชิญชวนมา “ขอพรกับน้องกระต่าย” กระต่ายปรารถนา มมส หากมาอธิษฐานกับคนรัก (เพื่อนรัก) ก็จะได้ความรักความไว้ใจจากเขามากขึ้น และความรักจะลงเอยสมดังใจปรารถนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติสุข กล่าว

สีสันคือเศษผ้าที่เหลือจากการปักเย็บของชาวบ้านในชุมชน ที่ตัดผ้าไหมผ้าไทย

พื้นที่สวนหย่อมที่มหาวิทยาลัยกำลังปรับปรุงพัฒนา

น้องกระต่ายปรารถนา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง