วิชาแปลกๆ ด้านบันเทิง ที่เปิดสอนในอเมริกาและอังกฤษ

สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเปิดสอนหลักสูตรวิชา “ร่วมสมัย” ทั้งวิชาที่เกี่ยวข้องกับซูเปอร์ฮีโร่ นักร้องสาวชื่อดัง “บียอนเซ่” พ่อมดน้อย “แฮร์รี่ พอตเตอร์” และซอมบี้ โดยส่วนใหญ่เป็นวิชาที่เน้นให้ผู้เรียนตีความ วิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็น

วิชาแปลกๆ ด้านบันเทิง ที่เปิดสอนในอเมริกาและอังกฤษ

วิชา “ซุปเปอร์ฮีโร่”

สำหรับคนที่เคยสงสัยว่า

รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอย่างภาวะโลกร้อน สามารถรู้ได้ด้วยหลักสูตรฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ในวิชา “วิทยาศาสตร์จากยอดมนุษย์สู่ภาวะโลกร้อน” วิชานี้รวบรวมกรณีศึกษาจากมุมมองที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการประเมินค่าทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยวิชานี้เป็นของศูนย์ศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์วิน สหรัฐอเมริกา ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปเรียนออนไลน์ได้ด้วย

วิชา “แฮร์รี่ พอตเตอร์”

ส่วนวรรณกรรมเยาวชนสุดฮิตที่สร้างปรากฏการณ์ความนิยมไปทั่วโลกอย่าง “แฮร์รี่ พอตเตอร์” ก็มีหลายสถาบันการศึกษานำไปเปิดหลักสูตรวิชาที่เกี่ยวข้องกับพ่อมดน้อย ทั้งวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยรัฐสเตทวอเตอร์ สหรัฐอเมริกา ที่เปิดสอนวิชา “จริยธรรมของแฮรี่ พอตเตอร์” เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยเห็นว่ามีหลักปรัชญามากมายที่น่าสนใจในเรื่อง เช่น ข้อความที่ดัมเบิลดอร์กล่าวกับแฮร์รี่ในตอนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ว่า “ทางเลือกของเรา เป็นสิ่งที่บอกตัวตนที่แท้จริงของเรามากกว่าความสามารถที่เรามี”

โดยหลักสูตรเน้นการมองภาพแฮร์รี่ พอตเตอร์ผ่านหลักปรัชญา เพื่อพิจารณาทางเลือกของแฮร์รี่ที่เกี่ยวกับหลักคุณธรรมต่างๆ เช่น ความกล้าหาญ การยับยั้งชั่งใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความยุติธรรม ส่วนมหาวิทยาลัยเดอรัม ประเทศอังกฤษก็เปิดสอนวิชา “แฮร์รี่ พอตเตอร์และยุคแห่งภาพลวงตา”เป็นวิชาบังคับในการเรียนชั้นปีที่สองของคณะศึกษาศาสตร์ จิตวิทยาด้วย

วิชา “ซอมบี้”

สำหรับเทรนด์ “ซอมบี้” ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศแถบตะวันตก นอกจากภาพยนตร์และซีรีส์หลายภาคหลายตอนแล้ว ยังมีการเปิดคอร์สสั้นๆ เพื่อเรียนรู้การเอาชีวิตรอดจากซอมบี้ และในวิทยาโคลัมเบีย ชิคาโก ก็มีการเปิดคอร์ส “ซอมบี้ในสื่อยอดนิยม”เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ความสำคัญและทัศนคติต่อผีดิบในภาพยนตร์สยองขวัญและแฟนตาซี โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจารณ์และแหล่งข้อมูลสื่อ ทั้งจากบทประพันธ์ การ์ตูนและภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สำหรับผู้เรียนที่หลงใหลและต้องการเข้าใจในผีดิบอย่างลึกซึ้ง

วิชา “สตาร์เทรค”

นักศึกษาที่ชอบมหากาพย์ภาพยนตร์ไซไฟ “สตาร์เทรค” ก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ก็เปิดสอนวิชา “ปรัชญาและสตาร์เทรค” ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งของการเรียนวิชานี้ต้องให้นักเรียนชมมหากาพย์ไซไฟสตาร์เทรค และข้อความที่ยกมาจากหนังสือที่นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ประพันธ์ จากนั้นจึงให้วิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์บทวิพากษ์ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับปรัชญาในสตาร์เทรคอย่าง “การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ไหม? คุณจะกลับไปฆ่าบรรพบุรุษของคุณได้ไหม? เวลาใด?” หรือ “วันหนึ่งหุ่นยนต์จะสามารถคิดได้เองไหม” เป็นต้น

วิชา “บียอนเซ่”

ล่าสุด เมื่อไม่กี่วันนี้ มหาวิทยาลัยรัทเจอร์ส ในนิวเจอร์ซีย์ อเมริกา ก็เพิ่มวิชาที่เกี่ยวกับนักร้องสาวผิวสีชื่อดังแห่งยุค “บียอนเซ่” ไว้ในหลักสูตรแล้ว หลังจากมหาวิทยาจอร์จทาวน์ได้เปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับแรพเปอร์หนุ่ม “เจย์-ซี”สามีของเธอในชื่อวิชา “สังคมวิทยาของฮิปฮอป: เจย์-ซี”

โดยวิชานี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบียอนเซ่ ทั้งเรื่องบุคลิกลักษณะและการทำงานที่ทำให้เธอแตกต่างจากนักร้องคนอื่น และกลายเป็นนักร้องสาวชื่อดังแห่งยุค นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับนักร้องสาวคนอื่นๆ เช่น เลดี้ กาก้าอีกด้วย

โดยทีมเดลินิวส์ออนไลน์ / เมื่อ 15 ธันวาคม 2515

ข่าวที่เกี่ยวข้อง