สุดยอด! เคล็ดลับการเรียนเคมี ให้เก่งขั้นเทพ ทำได้ไม่ยากเลย

เมื่อพูดถึงวิชาเรียนของน้องๆ ม.ปลาย ที่เรียนอยู่ในแผนการเรียนวิทย์-คณิตแล้วล่ะก็คงหนีไม่พ้นวิชาที่อยู่ในหมวดของวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ต่างก็เป็นวิชาเรียนค่อนข้างยาก ยิ่งถ้าเราเรียนในบทเรียนแรกๆ ไม่รู้เรื่องแล้วล่ะก็ บทต่อไปยิ่งเรียนไม่รู้เรื่องเลยจ้า… และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้องๆ ไม่อยากเรียน เบื่อวิชานั้นสุดๆ ไปเลย

วันนี้พี่เลยอาจจะขอนำเสนอเคล็ดลับการเรียนเคมี ให้เก่งขั้นเทพ ที่น้องๆ คนไหนก็สามารถทำได้มาฝากกันจ๊ะ แต่ก่อนที่เราจะไปดูเคล็ดลับดีๆ กัน เรามารู้จักประวัติความเป็นมาของวิชาเคมีกันก่อนดีกว่าจ้า ^^

4 เคล็ดลับเรียนเคมี ให้เก่ง

เรื่องน่ารู้ ประวัติความเป็นมาของวิชาเคมี ที่น้องๆ อาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

เคมี (chemistry)

เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้าง และคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมี มักจะเน้นไปที่อะตอม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณสมบัติของพันธะเคมี

บางครั้งเคมีก็ถูกเรียกว่า เป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมากนะจ๊ะ

มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง

เริ่มต้นศึกเรียน

โดยทั่วไปวิชาเคมีจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาอนุภาคพื้นฐาน, อะตอม, โมเลกุล ซึ่งแต่ละอย่างนั้นก็จะเกี่ยวข้องกับสสาร การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารด้วยกันเอง หรือปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสาร อย่างเช่น เรื่องพลังงาน แต่หัวใจสำคัญของเคมีโดยทั่วไปคือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมี โดยสารเคมีนั้นมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม (ในเคมีแสง) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปีนั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาถึงเคล็ดลับดีๆ ที่พี่เอามาฝากน้องๆ กันจ้า (ซึ่งเป็นวิธีที่พี่เคยทำตอนเรียนมัธยมนะจ๊ะ)

วิชานี้เรียนกับอะไรบ้าง

ขั้นแรกเลยนะ… เราจะต้องทำความเข้าใจกับวิชาเคมีก่อนว่า วิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

อย่างที่น้องๆ รู้กันนะจ้า ว่าเคมีเป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, ชีววิทยา) ถึงจะอยู่ในหมวดเดียวกัน แต่ก็มีวิธีการเรียนที่แตกต่างกัน เพราะว่าการเรียนวิชาเคมีนั้น น้องๆ ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การท่องตารางธาตุที่ควรจำให้ได้มากที่สุด โครงสร้างอะตอม เคมีอินทรีย์ ฯลฯ พอน้องๆ จำโครงสร้างได้แล้ว ต่อมาน้องๆ ก็ต้องจำสูตรในการคำนวณให้ได้ ตัวอย่างเช่น สูตรโมเลกุล การคำนวณค่าคงที่สมดุล และการคำนวณความเข้มข้นสารละลาย เป็นต้น

ดังนั้นการเรียนวิชาเคมี จำเป็นต้องเรียนให้สอดคล้องกับรูปแบบเนื้อหาแต่ละบทเรียนที่มีความแตกต่างกัน 2 รูปแบบข้างต้นนะจ้า… ถ้าน้องๆ ลองหาเทคนิคการทำความเข้าใจเป็นของตัวเองได้แล้วล่ะก้ การเรียนวิชาเคมีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วจ้า

ตั้งคำถาม สงสัย หาคำตอบ

ขั้นที่สอง… เราต้องตั้งคำถามบ่อยๆ ในสิ่งที่เราสงสัย และหาคำตอบให้ได้

เนื้อหาหลายๆ บทในวิชาเคมี เกิดขึ้นจากการที่นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นบางอย่างในการทดลอง แล้วตั้งคำถามว่า ถ้าเปลี่ยนสารนี้เป็นสารนู้น แล้วผสมเข้าด้วยกันจะเป็นอย่างไร แล้วทำการบันทึกผลการทดลอง หลังจากนั้นจึงพยายามอธิบายความสอดคล้องหรือความแตกต่างที่เกิดขึ้นในการทดลอง โดยการตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมาอธิบาย เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

ขั้นที่สาม… เวลาเรียนก็ตั้งใจเรียน ฟังที่อาจารย์สอนให้เข้าใจ

ในเมื่อเข้าใจแล้วว่า วิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง มีคำถามที่ต้องการคำตอบพร้อมแล้ว ต่อมาในชั่วโมงเรียนน้องๆ ก็ต้องตั้งใจเรียน จดในสิ่งที่อาจารย์สอนพูดย้ำหลายๆ ครั้ง เพราะส่วนนั้นเป็นส่วนที่สำคัญของเนื้อหานั้นๆ อืม… แล้วถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ก็ให้ถามอาจารย์เลย อย่าเก็บไว้ เพราะยิ่งเก็บไว้มันจะทำให้เรายิ่งไม่เข้าใจเนื้อหาไปกันใหญ่เลยนะ และในที่สุดมันจะทำให้เราเบื่อไม่อยากเรียนวิชานี้เลย

อ้อ!! แล้วนอกจากการที่เราตั้งใจเรียนในห้องเรียนแล้ว เวลาการทำการทดลองต่างๆ ก็ช่วยเราได้เยอะเหมือนกันนะ เพราะการทำการทดลองนั้น จะช่วยให้น้องๆ จำเนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น เช่น การทดลอง “กรด+เบส” โดยการนำกรดแก่ HCl มาใส่กับเบสแก่ KOH จะได้เกลือ KCl และน้ำ ดังนี้สมการนี้เลย HCl (aq) + KOH (aq) KCl (aq) + H2O (l) เป็นต้น

ขั้นที่สี่… หลังจากเรียนจบไปแล้ว ก็อย่าลืมกลับมาทบทวนด้วยนะ

อ่านทบทวนบทเรียนอีกครั้ง ถ้าเป็นเรื่องคำนวณก็ให้ฝึกทำโจทย์เยอะๆ และหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะ และวิธีการในการคำนวณให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น จนเกิดความชำนาญ แค่นี้น้องๆ ก็เรียนเคมีได้อย่างมีความสุข สนุกกับเรียนแล้วจ้า เวลาสอบก็ไม่ต้องกลัวแล้ว ทำไปเลยจ้า สู้สู้ ^^

เพิ่มเติม.. ในช่วงที่น้องๆ ใกล้จะสอบ หรือ แอดมิชชั่นนั้น การที่เราเอาข้อสอบเก่าๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบ O-NET ข้อสอบโควต้า รับตรง ของมหาวิทยาลัยต่างๆ มาลองฝึกทำดูขอบอกเลยว่า ช่วยเราได้เยอะเลยนะจ้า พอเราไปเจอข้อสอบจริงๆ จะได้ไม่กังวลมากเกินไป แล้วทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

เป็นยังไงกันมั้งจ้า เห็นแล้วใช่มะว่าเคล็ดลับเหล่านี้ทำได้ไม่ยากเลยเนอะ ยังไงก็ลองนำไปทำกันดูนะจ้า แล้วถ้าน้องๆ คนไหนมีเคล็ดลับอะไรเพิ่มเติมก้มาแชร์กันได้เลยนะ

บทความแนะนำ

 ภาพจาก : mysliderule.com/, www.flickr.com/photos/greenlightforgirls/4947341907 , www.cheminst.ca/outreach

ข่าวที่เกี่ยวข้อง