โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

Wat Bowonniwet School

Home / academy / โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายเป็นโรงเรียนชายล้วน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า… See More

โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายเป็นโรงเรียนชายล้วน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อจัดการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศได้ก็กลายเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ตามพระราชประสงค์ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนแห่งนี้ในปัจจุบันมีองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเป็นองค์อุปถัมภ์

โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง วิทยาลัย ขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัยในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตินิกาย ตามพระดำริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหารในขณะนั้น โดยแบ่งเป็น ๒ แผนกคือส่วนวิทยาลัยใช้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และจัดตั้งโรงเรียนตามพระอารามเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยนี้

โรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นผู้จัดการพระองค์แรก ต่อมาการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในปีพุทธศักราช 2442 (ร.ศ.๑๑๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียน ต่างๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียนสาธิตในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสได้ทรงประทานที่ดินประมาณ ๐-๐-๘๐ ไร่ ที่ตั้ง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อจัดสร้างโรงเรียน โดยได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนบวรนิเวศพิทยา” ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๒๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนบวรนิเวศศาลายา” นับตั้งแต่ประกาศตั้งโรงเรียนจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ยังมิได้เปิดรับนักเรียนเนื่องจากมีปัญหาในเรื่องที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จนกระทั่งวันที่ ๑๖เมษายน ๒๕๒๕ คณะรัฐบาลกำหนดให้เป็นปีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี และได้กำหนดให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นอนุสรณ์การสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยโรงเรียนหนึ่ง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์” และให้เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายอนันต์ คงถาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบวรนิเวศมารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งลูกเสือขึ้น เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ ตามระเบียบปกครองลูกเสือของชาติ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๔๕๔ กองลูกเสือโรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งขึ้นในมณฑลกรุงเทพมหานคร เป็นกองร้อยที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดสร้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยหลวงสาโรชรัตนนิมานก์ เป็นสถาปนิก โดยตึกมนุษยนาควิทยาทาน ใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ตราประจำโรงเรียน
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ครอบจุลมงกุฎ ประดิษฐานบนพญานาคสองหัว มีชื่อโรงเรียน “บวรนิเวศ” อยู่กลางลำตัวพญานาค

รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวมีนัยความหมายดังต่อไปนี้

“จ.ป.ร” หมายถึงพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นสาขาของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งย่อมาจากคำว่า มหาจุฬาลงกรณ์ ปรมราชาธิราช
“จุลมงกุฏ” หรือ”พระเกี้ยว หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ขณะที่ผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งยังทรงพระเยาว์ยังมิได้เป็นพระมหากษัตริย์ ต่อมาขึ้นครองราชย๋เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
“พญานาค” หมายถึง พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดบวรนิเวศพระองค์แรก

สีประจำโรงเรียน
สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ซึ่งสื่อถึงวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
สีดำ หมายถึง ความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ของนักเรียนบวรนิเวศ

คติพจน์
เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด

สุภาษิต
ปญฺญา นรานํ รตนํ หมายถึง ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน

คำขวัญ
“คนดีสีเหลือง-ดำ ”
“เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด”
“ลูกนาคาไหว้พระ คารวะครู”

คูน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน ออกดอกเป็นช่อสีเหลือง ต้นราชพฤกษ์ออกดอกบานในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ตรงกับช่วงเวลาที่นักเรียนจบหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ปัจจุบันต้นราชพฤกษ์ของโรงเรียนปลูกอยู่ด้านหน้ามุขอรพินทุ์ ตรงข้ามศาลาจตุรมุข

อักษรย่อ : บ.น. / B.N.
ประเภท : รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ก่อตั้ง : 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436
ผู้ก่อตั้ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตการศึกษา : เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2
รหัส : 00100103
ผู้อำนวยการ : นายชาญณรงค์ แก้วเล็ก
เพลง : มาร์ชบวรนิเวศ
สังกัดการศึกษา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ตั้ง : 250 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2282-0025 ต่อ 130
โทรสาร : 0-2280-0564
เว็บไซต์ : http://www.bn.ac.th
facebook : watbowonniwetschool

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

See Less

ข่าวการศึกษา โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

กิจกรรม โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ดาวเด่น โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

วาไรตี้ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้