วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

Kanchanaphisek Technical Coollege Mahanakorn

Home / academy / วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร
เป็นสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่แยกสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมออกมา จาก “วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี” ซึ่งก็ถือได้ว่า “วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร” เป็นสถาบันอาชีวะที่มีประวัติที่เก่าแก่สถาบันหนึ่ง วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร ประวัติความเป็นมา วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เดิมเป็นแผนกๆ หนึ่ง ที่เปิดทำการสอนอาชีพช่างไม้ และช่างจักสานให้กับนักเรียนชั้นประถมต้น… See More

เป็นสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่แยกสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมออกมา จาก “วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี” ซึ่งก็ถือได้ว่า “วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร” เป็นสถาบันอาชีวะที่มีประวัติที่เก่าแก่สถาบันหนึ่ง

วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เดิมเป็นแผนกๆ หนึ่ง ที่เปิดทำการสอนอาชีพช่างไม้ และช่างจักสานให้กับนักเรียนชั้นประถมต้น ของโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลทรายกองดิน แขวงมีนบุรี

พ.ศ. 2480 แยกตัวเองมาจากโรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลทรายกองดิน มาใช้อาคารของหอทะเบียนที่ดินจังหวัดมีนบุรี ตั้งเป็นโรงเรียนแห่งใหม่ชื่อ “โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้มีนบุรี”

พ.ศ. 2481 กรมอาชีวศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณ สำหรับสร้างอาคารเรียน และอาคารโรงฝึกงานบนเนื้อที่ 4 ไร่ บริเวณตรงข้ามที่ทำการเรือนจำมีนบุรี และได้ย้ายโรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้มาอยู่สถานที่แห่งใหม่นี้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างไม้มีนบุรี”

พ.ศ. 2502 เนื่องจากโรงเรียนช่างไม้มีนบุรี มีสถานที่คับแคบ ไม่สามารถขยายเพิ่มชั้นเรียนและเปิดสอนสาขาวิชาใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และความต้องการกำลังคนในงานด้านอุตสาหกรรมได้ กรมอาชีวศึกษาจึงได้จัดหาที่ดินผืนใหม่
จำนวน 20 ไร่ บนถนนสีหบุรานุกิจ แขวงเมืองมีนบุรี (สถานที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีในปัจจุบัน) พร้อมกับจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับสร้างอาคารเรียนและอาคารโรงฝึกงานเพิ่ม ขึ้น และได้ย้ายโรงเรียนช่างไม้มีนบุรี มาอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น
” โรงเรียนการช่างมีนบุรี ” ในระยะแรกเปิดทำการสอน แผนกช่างไม้ และแผนกช่างก่อสร้าง ในระดับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายอาชีพ)

พ.ศ. 2515 เปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ จากระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายอาชีพ) เป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และเปิดทำการสอนเพิ่มขึ้นอีก 2 แผนก คือ “แผนกช่างกลโรงงาน” และ “แผนกช่างไฟฟ้า”

พ.ศ. 2518 เปลี่ยนระบบการวัดผลใหม่จากเดิมที่คิดเป็นร้อยละ มาเป็นระบบหน่วยกิต พร้อมกับเปิดทำการสอน “แผนกช่างยนต์” ขึ้นมาอีกแผนกหนึ่ง

พ.ศ. 2519 ยกฐานะของโรงเรียนการช่างมีนบุรี เป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครวิทยาเขต 2 มีนบุรี” และเปิดทำการสอน “แผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่น” ขึ้นอีกแผนกหนึ่ง

พ.ศ. 2520 เปิดทำการสอนแผนกช่างวิทยุและโทรคมนาคม (ปัจจุบันใช้ชื่อแผนกวิชาอิเล็คทรอนิกส์) และเปิดทำการสอนภาคนอกเวลาทุกแผนก ทำให้สามารถรับนักเรียนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และในปีเดียวกันนี้ กรมอาชีวศึกษาได้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยใหม่ เป็น
“วิทยาลัยอุตสาหกรรมกรุงเทพ วิทยาเขตมีนบุรี”

พ.ศ. 2521 เปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยอุตสาหกรรมกรุงเทพ วิทยาเขตมีนบุรี เป็น “วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี”

พ.ศ. 2522 เริ่มขยายการศึกษาให้มีระดับสูงขี้น จากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในระยะแรกนี้ได้เปิดทำการสอน 2 แผนก คือ แผนกช่างยนต์ และ แผนกช่างกลโลหะ และวิทยาลัยก็ยังดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องจนในปีพ.ศ. 2524 สามารถเปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) สาขาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล และในปี พ.ศ. 2527 สามารถทำการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้ครบทุกแผนก

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2527 เป็นต้นมา ประชาชนได้ส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพิ่มมากขึ้น แต่สถานที่ของวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี มีพื้นที่เพียง 14 ไร่ จึงไม่สามารถขยายพื้นที่ก่อสร้างอาคารให้รองรับนักเรียน จำนวน 3,000-4,000 คนได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้อำนวยการ “เสริญ หรุ่นรักวิทย์” จึงขอรับที่ดินจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการอาชีวศึกษา จำนวน 2 แปลง คือ…..

แปลงที่ 1 นางนกคล้า รอดอนันต์ ได้บริจาคที่ดินบนถนนรามอินทรา (กม.11) จำนวน 56 ไร่ ติดกับสวนสัตว์เปิดซาฟารีเวิลด์
ปัจจุบันกรมอาชีวศึกษาได้จัดตั้งเป็น “วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ”
แปลง ที่ 2 นางสาวโชติมา ปัทมนุช โดยความเห็นชอบจาก ร้อยเอกโชติ-นางบุญมาก ปัทมนุช ผู้เป็นบิดา-มารดา ได้บริจาคที่ดินในซอยวัดทองสัมฤทธิ์ ถนนสุวินทวงศ์ จำนวน 40 ไร่ ซึ่งผู้อำนวยการ เสริญ หรุ่นรักวิทย์ ได้ทำโครงการสร้างอาคารปฏิบัติการสาขาวิชาเทคนิคการผลิตขึ้น จำนวน 3 หลัง ได้รับความเห็นชอบจากกรมอาชีวศึกษา ให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี แห่งที่ 2”

พ.ศ. 2533 เนื่องจากสถานที่และอาคารเรียนของวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี คับแคบ และมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนนักศึกษา
ประกอบ กับอาคารปฏิบัติการที่ก่อสร้างไว้ที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีแห่งที่ 2 ที่ซอยวัดทองสัมฤทธิ์ ได้แล้วเสร็จเป็นบางส่วน วิทยาลัยฯ จึงได้
พิจารณา ย้ายแผนกช่างกลโรงงาน ไปจัดการเรียนการสอนก่อนแผนกวิชาอื่น ๆ และในปี พ.ศ. 2534 ได้ย้ายแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะแผ่น และ แผนกวิชาช่างยนต์ รวมเป็นสามแผนกวิชา โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากครู-อาจารย์ ทุกท่าน และทุกท่านได้ไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ เพราะสถานที่ห่างไกลจากชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ต่อมาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้ของบประมาณสร้างอาคารหอประชุม โรงอาหาร และอาคารเรียนเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 หลัง

พ.ศ. 2536 จากการที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี แยกจากการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 แห่ง ทำให้การบริหารสถานศึกษาไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ประกอบกับกรมอาชีวศึกษาได้จัดทำโครงการเทอดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ พรรษา ขึ้น โดยกำหนดให้สถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิคใน 5 ภาค ภาคละ 1 แห่ง คือภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกที่จังหวัดสมุทรปราการ ภาคใต้ที่จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษาอาชีพ 1 แห่ง ที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อสืบทอดงานช่างสิบหมู่และเครื่องทองในพระราชสำนัก อีก 1 แห่ง คือ กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง รวมเป็น 7 แห่ง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี แห่งที่ 2 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาในโครงการประจำภาคกลางและได้รับการประกาศ จัดตั้งเป็น “วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2536 โดยมี นายประดิษฐ์ ธรรมเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้ง…..

พ.ศ. 2537 เพื่อให้การดำเนินงานจัดตั้งวิทยาลัยแห่งใหม่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จึงได้ทำโครงการโอนอัตรากำลังครู-อาจารย์ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมปรับอัตราครู-อาจารย์ เป็นตำแหน่งบริหาร จำนวน 5 อัตรา ซึ่งกรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายศักดา จินตะเวช , นายสมพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , นายวรินทร์ รอดโพธิ์ทอง , นายศักดา สนิทศิริวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และแต่งตั้งให้ “นายประดิษฐ์ ธรรมเจริญ” ดำรงค์ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัย เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 เป็นการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร โดยสมบูรณ์ และแยกการบริหารตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

พ.ศ. 2541 ได้เปิดทำการสอนเพิ่มขึ้นมาอีกแผนกหนึ่งคือ “แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง” และต่อมาในปี2546 ได้ทำการเปิดสอนในระดับปวช.ในสาขาช่างเขียนแบบเครื่องกล หลังจากที่รร.ได้เปิดในระดับปวท.ในสาขานี้มาร่วม22ปี

พศ. 2548 ทางวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของศาสตร์ทางด้านพณิชยกรรม ที่ควรมีควบคู่ไปกับสาขาทางด้านช่างเทคนิค จึงได้เปิดทำการสอนขึ้นเป็นปีแรกใน “สาขา พณิชยการ”

พ.ศ. 2552 ได้เปิดทำการสอนเพิ่มขึ้นอีกแผนกหนึ่งคือ “แผนกช่างอิเล็คทรอนิกส์”

อัตลักษณ์ : สุภาพชน คนมีน้ำใจ

เอกลักษณ์ : เรียนดี มีคุณธรรม

สถานที่ตั้ง : 73 หมู่ 18 กม.7 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทรศัพท์ : 02 175 4046

เว็บไซต์ : http://www.ktcm.ac.th/index.php

Facebook : วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก-มหานคร-

ข้อมูลจาก http://www.ktcm.ac.th

See Less

ข่าวการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

กิจกรรม วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ดาวเด่น วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

วาไรตี้ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้