วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

Kanchanaphisek Technical Coollege Mahanakorn

Home / academy / วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก
วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ประวัติความเป็นมา วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชสมบัติมาเป็นระยะเวลา 50 ปี จึงได้รับพระราชทานตราสัญลักษณ์งานราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยตราสัญลักษณ์กาญจนาภิเษก 50 ปี มีความหมายดังนี้ 1. ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีกาญจนาภิเษก… See More

วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชสมบัติมาเป็นระยะเวลา 50 ปี จึงได้รับพระราชทานตราสัญลักษณ์งานราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยตราสัญลักษณ์กาญจนาภิเษก 50 ปี มีความหมายดังนี้

1. ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีกาญจนาภิเษกฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ประกอบด้วย พระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ราชกาลที่ 9 ตราพระบรมราชจักรีวงศ์ และตรามหามงกุฎอยู่เหนือพานสูงสองชั้น หมายถึง พระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยพานเป็นสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญสองข้างมีช่างสองเชือก เทินตราอยู่ใต้เศวตฉัตรความหมายของช้างคือ ช้างเป็นพาหนะของพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรียบเสมือนประชาชนที่เป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทและเทิดทูนเชิดชูพระมหากษัตริย์และพระบรมราชจักรีวงศ์ขณะเดียวกันก็ได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มฉัตรของพระองค์

2. ความหมายของพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก คือ พระราชพิธีการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

3. พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
นับจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบราชสันตวงศ์ ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2489 จนเมื่อวันที่ 9 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2539พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเถลิงถวัลยสมบัติครบ 50 ปีบริบูรณ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งประชาชนไทยได้น้อมเกล้าถวายฯพระเกียรติจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองสมโภช อย่างยิ่งใหญ่ แต่เนื่องจากพระราชพิธีกาญจนาภิเษกนี้ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จึงได้นำพระราชพิธีรัชดาภิเษก และ ราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเป็นแนวทางในการจัดงานกาญจนาภิเษกขึ้น ถืออันเป็นมหามงคลยิ่งที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อการจัดงานว่า “ การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี” และพระราชทานชื่อพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีกาญจนาภิเษก” และโปรดเกล้าฯ ให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Fiftieth Anniversary (Golden Jubilee) Celebrations of His Majesty ‘s Accession to the Throne”

ความเป็นมาของการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามความต้องการของตลาดแรงงาน กรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กนป.ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม ๑๔ คน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

๑) จัดทำข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในประเด็นการพัฒนาการอาชีวศึกษา

๒) ประสานและให้คำแนะนำ คำปรึกษาการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ในประเด็นการพัฒนาการอาชีวศึกษา

๓) รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาการอาชีวศึกษา

๔) แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานตามที่คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษาเห็นสมควร

๕) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองมอบหมาย

ในการจัดทำข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา ทางคณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษาได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาข้อมูลทั้งด้านความต้องการ กําลังคน และความสามารถในการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาจำนวน ๓ ครั้ง อีกทั้งได้ศึกษารวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบัน และปัญหาที่พบด้านกำลังคนอาชีวศึกษา จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความต้องการกําลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ” รายงานผลการศึกษา “แนวโน้มความต้องการแรงงานในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๗” แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ จากนั้นได้สังเคราะห์จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ด้านการพัฒนาการอาชีวศึกษา

วัตถุประสงค์ในการกำหนดข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ด้านการพัฒนาการอาชีวศึกษา เพื่อให้ได้นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา และเพื่อเป็นกรอบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา

กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาอาชีวศึกษา ประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม และเพื่อให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง จึงขอทบทวนความหมายของ “การอาชีวศึกษา” ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.๒๕๕๑ ดังนี้

– มาตรา ๔ “การอาชีวศึกษา” หมายความว่า กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี
– มาตรา ๖ การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถน3ไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดยอิสระได้

จากข้อความข้างต้นสรุปได้ว่า “การอาชีวศึกษา” หมายความถึง กระบวนการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาอาชีวศึกษาในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง จึงมิได้หมายความถึง ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้สอน และผู้กำกับนโยบาย ในสถานศึกษาของอาชีวศึกษาเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสถานศึกษาอื่นๆ ซึ่งผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษา ผู้ประกอบการในตลาดแรงงาน กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นกำลังคนระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี

หลักการนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา ได้กําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนการศึกษาวิชาเฉพาะ เพื่อให้เกิดความชำนาญ คำว่า “อาชีวศึกษา” ปรากฏเป็นครั้งแรกในระบบการศึกษาของประเทศไทยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๙ หมายถึง การศึกษาวิชาชีพซึ่งจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชยการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ ส3หรับประกอบการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ ลักษณะเฉพาะด้านการศึกษาอันเป็นอัตลักษณ์ของการอาชีวศึกษาดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นการศึกษาซึ่งมุ่งผลิตกําลังคนที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อให้ไปประกอบวิชาชีพ เป็นกําลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศ ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีแผนการศึกษาแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน

การผลิตและพัฒนากําลังคนผ่านระบบการอาชีวศึกษานี้ เป็นมาตรการอันสำคัญในยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ ซึ่งได้รับมติเห็นชอบจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ เพื่อใช้ในการก3หนดกรอบแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ความสามารถให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ ภาวะเศรษฐกิจ และการรวมกลุ่มเขตเสรีทางการค้า ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “ระบบการผลิตและพัฒนากําลงคนของประเทศมีความสอดคล้องกับความต้องการ และมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน”

เป้าหมายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ มีการกําหนดเป้าหมายในปี ๒๕๖๑ ไว้ดังนี้

๑. มีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ และมีการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากําลังคนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

๒. การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อการรับรองสมรรถนะความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ

๓. ขยายการศึกษาระบบทวิภาคี สหกิจศึกษา และการฝึกงานให้มากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนในระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษา เป็นร้อยละ ๓๐ ของผู้เรียนอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

๔. สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็น ๖๐:๔๐

๕. กําลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๕ และมีสมรรถนะตามวิชาชีพตามมาตรฐาน

การผลิตและพัฒนากําลังคนนี้ ยังเป็นยุทธศาสตร์และมาตรการสำคัญ ๑ ใน ๙ ประเด็นของ “ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง” อันเป็นกลไกที่จะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ภายในปี ๒๕๖๑ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา จึงได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยได้พิจารณาความส3คัญในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสอดคล้องกับความต้องการและมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งนี้ได้พิจารณาสาเหตุปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการอาชีวศึกษา ใน ๒ มิติ โดยทบทวนจากการรายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิต และพัฒนากำลังคนของประเทศ” ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อวางแผนการผลิต และพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน (กรอ.ศธ.) ให้จัดทำเพื่อศึกษาความต้องการและวางแผนผลิตพัฒนาและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งติดตามผลการผลิต ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง

จากรายงานการวิจัยดังกล่าว โดยได้ศึกษามิติของความต้องการกำลังคน (Demand Side) และมิติของการผลิตกำลังคน (Supply Side) พบประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก3ลังคนด้านอาชีวศึกษา ดังนี้

– การผลิตกําลังคนส่วนใหญ่ไม่ได้อิงความต้องการของประเทศ (Demand Driven) สถาบันหรือสถานศึกษาต่างๆ เลือกผลิตกำลังคนไปตามขีดความสามารถทางทรัพยากรของตนเอง (Supply Driven) ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานไปพร้อมๆ กับปัญหาการขาดแคลนกําลังคน
–  ผลการศึกษาจำนวนกําลังคนที่ขาดแคลน (Skill Shortage) ในปี ๒๕๕๑ พบว่าแรงงานที่ขาดแคลนมากที่สุด คือ แรงงานในด้านการผลิต/แรงงานทั่วไป คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๕๕ ของจำนวนแรงงานที่ขาดแคลนทั้งหมด ส่วนใหญ่จะอยู่ในสายอาชีพการผลิตและการบริการ
– โครงสร้างตลาดแรงงานที่เป็นอยู่มีลักษณะแหว่งกลาง คือ มีการใช้แรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมต้นหรือตํ่ากว่าสูงมาก รองลงมาคือมัธยมปลาย ส่วนตรงกลางซึ่งเว้าไปอยู่ฐานรากมีการใช้น้อยที่สุด คือ ปวช.,ปวส. จากนั้นก็ขยับขึ้นไปที่ปริญญาตรีปริญญาโท ตลาดแรงงานในระดับ ปวช. เป็นตลาดแรงงานที่เล็กมาก มีกำลังการผลิตแรงงานมากกว่าความต้องการแรงงาน เฉลี่ยปีละ ๒-๓ หมื่นคน
– ผู้ที่เรียนจบสายวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประมาณ ๗๕% จะเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรี เนื่องจากต้องการเรียนต่อ เพื่อให้ได้เงินเดือนที่สูงขึ้น และมีเพียง ๒๕% เข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงทำให้เกิดสภาพความขาดแคลนแรงงานในระดับกลางรุนแรงมาก
– ผู้ที่เรียนในสายวิชาชีพ อาทิ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แล้วเรียนต่อระดับปริญญาตรีจำนวนหนึ่ง ยอมใช้ ปวช. และ ปวส. เพื่อสมัครเข้าทำงาน เนื่องจากสถานประกอบการหลายแห่งไม่ต้องการจ้างงานระดับปริญญาตรี จึงยอมเข้าทำงานโดยใช้วุฒิการศึกษาตํ่ากว่าที่จบแล้ว ยังพบอีกว่า มีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีแล้วต้องเข้าเรียนหลักสูตรอาชีพระยะสั้นต่างๆ เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ
– สถานศึกษาในสายสามัญศึกษา เพิ่มเป้าหมายการรับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น โดยมีเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นส่วนสำคัญที่ทุกสถานศึกษาเร่งเพิ่มปริมาณผู้เรียนเพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบให้มีผู้สมัครเรียนอาชีวศึกษาลดลง
– ความไม่สอดคล้องกันอย่างมากของการผลิตผู้จบการศึกษาในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในระดับ ปวช. ปวส.,อุดมศึกษา (ป.ตรี/โท) จำนวนมากเกินกว่าความต้องการในพื้นที่จะดูดซับเอาไว้ได้ ส่วนที่เกินนี้จึงต้องไปหางานนอกพื้นที่ มีเพียงบางจังหวัดเท่านั้นที่มีสาขาที่มีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ แต่โดยทั่วไปแล้วพบว่า มีความต้องการมากกว่าคนที่ผลิตได้ จะเกิดขึ้นในกลุ่มแรงงานระดับมัธยมลงมา แต่ที่ผลิตเกินคือแรงงานสายช่าง ปวช. ปวส. ขึ้นไป ซึ่งมีการใช้น้อยในระดับกลุ่มจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาตํ่า สิ่งที่ขัดแย้งกันคือ หลายจังหวัดยังพบการขาดแคลนแรงงานระดับบนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
– ปัญหาความไม่สอดคล้องกันกันทั้งในเชิงปริมาณผู้ที่จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาทั้งสาขา และจำนวนเมื่อออกสู่ตลาดแรงงานก็ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการเชิงคุณภาพด้านสมรรถนะพื้นฐาน (Core Competencies) และระดับวิชาชีพ (Functional Competencies) ที่จ3เป็นในการท3งาน ความต้องการก3ลังคนในเชิงคุณภาพ พบว่าทุกกลุ่มแรงงานยังมีช่วงห่าง (GAP) ระหว่างระดับความสามารถด้านต่างๆ ที่มีอยู่กับความคาดหวังของสถานประกอบการอยู่ โดยเฉพาะความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ และทักษะในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา
– คุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับจากสถานประกอบการ สาเหตุเนื่องจากสถานศึกษาจัดการศึกษาโดยไม่ได้ศึกษาความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งการขาดความพร้อมในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ อาคาร สถานที่ และข้อจำกัดของเงินอุดหนุนที่ได้รับ
– ครูที่สอนในระดับอาชีวศึกษามีปริมาณและคุณภาพไม่สอดคล้องกับภารกิจ ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษามีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ
– ภาพลักษณ์ในการใช้ความรุนแรงในการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาบางกลุ่ม ส่งผลต่อทัศนคติและการยอมรับของผู้ปกครองและสังคม
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา จึงกําหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตกำลังคนทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่

๑) มุ่งสร้าง/ผลิตกําลังคนด้านอาชีวศึกษาให้สนองความต้องการของตลาด
๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ครูพันธุ์ใหม่ ครูสาขาที่ขาดแคลน
๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่
๔) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

สถานที่ตั้ง : 66 หมู่ 8 ร่วมพัฒนา ซอย 4 แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทรศัพท์: 0-2988-7739 โทรสาร: 0-2988-7990
Website :www.knice.net
E-mail : [email protected]
Facebook : วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

See Less

ข่าวการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

กิจกรรม วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ดาวเด่น วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

วาไรตี้ วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้