วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

NakhonRatchasima College of Agriculture and Technology

Home / academy / วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา เป็นสถาบันการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ปวช.และ ปวส. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ประวัติความเป็นมา พ.ศ. 2472 เจ้าคุณสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา มหาอำมาตย์โทพระยาเพชรดา (นายสะอาด… See More

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา เป็นสถาบันการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ปวช.และ ปวส.

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2472 เจ้าคุณสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา มหาอำมาตย์โทพระยาเพชรดา (นายสะอาด ณ ป้อมเพชร) ได้ปรารถนาตั้งโรงเรียนกสิกรรมขึ้นตามอำเภอต่างๆ ในมณฑลนี้ และจัดให้เป็นโรงเรียนกินอยู่ประจำเพื่อรับฝึกเด็กนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประถมปีที่ 3 เข้าเรียนและฝึกหัดทำการอาชีพกสิกรรม หลักสูตร 2 ปี คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ประถมบริบูรณ์ชาย) เป็นการฝึกอบรมเด็กไทยให้มีนิสัยรักใคร่อาชีพกสิกรรม เพื่อให้มีความรู้ในวิชา กสิกรรมพอเป็นทางช่วยทำมาหากิน เพื่อจะได้ออกไปทำมาหากินยังภูมิลำเนาเดิมของตนเอง จึงได้สั่งกำชับให้นายอำเภอจันทึกจัดหาที่ดินเตรียมไว้

ดังนั้น รองอำมาตย์มณฑลโทขุนเหมสมาหาร (นายประพงศ์ สกุนตะนาค) นายอำเภอจันทึก พร้อมด้วย นายสวัสดิ์ ศิริพัฒน์ กรรมการอำเภอ จึงได้ออกสำรวจที่ว่างเปล่า และเมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้วเห็นว่าที่นาของราษฎรซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านใหม่สำโรง ที่ดินของ ผู้บริจาคมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ สมควรตั้งเป็นโรงเรียนประถมกสิกรรมได้เพราะ
ก. มีเนื้อที่กว้างขวางพอแก่ความต้องการ
ข. ดินดีอุดมสมบูรณ์
ค. อยู่ใกล้ลำตะคอง ทดน้ำมาใช้ในโรงเรียนคงสำเร็จ ประกอบกับอาศัยน้ำจากลำคลองเล็กๆ ในฤดูฝน ไหลจากเขาน้อยและเขาสะเดาทางทิศเหนือของโรงเรียน

ครั้นต่อมา อำมาตย์เอกพระยานายกนรชนวิมลภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดกับอำมาตย์ตรี พระชนุปการกิจ เกษตรมณฑลนครราชสีมา เป็นกรรมการพิจารณาซื้อที่ดินรายนี้ ราคา 1,200 บาท

ต่อจากนั้น ขุนเหมสมาหาร นายอำเภอจันทึก ได้เริ่มลงมือก่อตั้งโดยขอแรงราษฎรจากตำบลบ้านหัน ตำบลสีคิ้ว ตำบลลาดบัวขาว ตำบลกุดน้อย และบางหมู่บ้าน ลงมือถางป่านี้จนเสร็จ และได้ขอแรงราษฎรตำบลสีคิ้ว ตำบลลาดบัวขาว สุมเผาและขุดตอไม้ ปราบพื้นที่ให้ราบเรียบจนเสร็จโดยมีขุนเหมสมาหาร ควบคุมดูแลตลอดมา และได้เริ่มทำแผนผัง ปลูกสร้างโรงเรียน อาคารเรียน บ้านพักครู โรงครัวและโรงอาหาร ช่างปลูกสร้างอาศัยราษฎรบ้านบุ่งลำไย โดยมีขุนบาลบุ่งลำไย กำนันตำบล บุ่งลำไย เป็นหัวหน้าช่างปลูกสร้าง โดยขุนเหมสมาหาร ควบคุมการปลูกสร้างจนเสร็จเรียบร้อย ในขณะนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 564 ไร่

พ.ศ. 2474 ทางจังหวัดได้ส่งราชบุรุษ แก้ว กสิภาร์ ป.ป.ก. เป็นครูใหญ่พร้อมด้วยครูตามตำบลต่างๆ ในอำเภอจันทึก รวม 4 คน ในปีแรกเปิดรับนักเรียนในอำเภอจันทึกและอำเภอสูงเนิน รวม 80 คน เริ่มเปิดเรียนวันที่ 10 มิถุนายน 2474 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2482 โรงเรียนกสิกรรมประจำอำเภอจันทึก ได้เลื่อนฐานะจากโรงเรียนประถมกสิกรรม ประจำอำเภอจันทึกเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมบ้านใหม่สำโรง สังกัดกองโรงเรียน กรมอาชีวศึกษา และได้เปิดทำการสอนจากประโยคประถมศึกษาบริบูรณ์ชาย เป็นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) มีหลักสูตรการเรียน 2 ปี โดยรับนักเรียนที่สำเร็จประถมบริบูรณ์ชาย (ป.4) เข้าเรียนต่อชั้นอาชีวศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2490 โรงเรียนเกษตรกรรมบ้านใหม่สำโรง มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก โดยขอซื้อจากชาวบ้านอีก 128 ไร่ รวมกับเนื้อที่อยู่ก่อนแล้ว 564 ไร่ เป็นเนื้อที่ทั้งหมด 692 ไร่

พ.ศ. 2492 ในปีนี้ทางโรงเรียนได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย(แผนกเกษตรกรรม) มีหลักสูตรการเรียนต่อจากชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นอีก 3 ปี โดยรับนักเรียนที่เรียนจบประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) และรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนสามัญศึกษา และในปีเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมนครราชสีมา

พ.ศ. 2498 โรงเรียนได้ยุบการสอนระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม คงเปิดสอนเพียงประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายแต่แผนกเดียว

พ.ศ. 2503 ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ได้เปลี่ยนจากการเรียกชื่อประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม) เรียกใหม่ว่าประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพแผนกเกษตรกรรม

พ.ศ. 2507 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพแผนกเกษตรกรรม (ระดับ ม.ศ. 4-5-6) หลักสูตร 3 ปี รับนักเรียนจากผู้สำเร็จ ม.ศ. 3 เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง

พ.ศ. 2509 ได้ยุบการสอนระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม คงเหลือระดับเดียว คือ ระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม

พ.ศ. 2513 – 2518 โรงเรียนเปิดสอนระดับประโยคประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาเกษตรกรรม (ป.กศ. เกษตร) หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.ศ. 3 เข้าเรียน เมื่อเรียนสำเร็จแล้วได้ออกไปเป็นครูสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

พ.ศ. 2519 ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม (ปวส.) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะให้เป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมนครราชสีมา

พ.ศ. 2535 ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2537 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม กลุ่มวิชาช่างกลเกษตร

พ.ศ. 2538 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างยนต์ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี

พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต กันยายน 2539 ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาพืชศาสตร์ กลุ่มวิชาไม้ดอกไม้ประดับ

พ.ศ 2546 เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ

พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรและสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์

พ.ศ. 2551 เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล และเปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป และเปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ และสาขาวิชาช่างไฟฟ้า

วิสัยทัศน์ของวิทยาลัย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาวิชาชีพที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น สถานประกอบการ และตลาดแรงงาน ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน มีความเป็นเลิศในด้านเทคโนโลยีการเกษตรของการอาชีวศึกษา

ปรัชญาของวิทยาลัย
“การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม”

พันธกิจของวิทยาลัย
1. จัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานการอาชีวศึกษา ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น สถานประกอบการและตลาดแรงงาน
2. จัดบริการวิชาการและวิชาชีพด้านเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น สถานประกอบการและตลาดแรงงาน
3. พัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช สัตว์ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการแข่งขันของประเทศ

คำขวัญของวิทยาลัย
ความรู้ดี มีฝีมือ ถือคุณธรรม นำชุมชน

สีประจำของวิทยาลัย
เขียว ขาว เหลือง

สถานที่ตั้ง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา
เลขที่ 146 หมู่ที่ 3 บ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30340
หมายเลขโทรศัพท์ 0-4432-5495, 0-4432-5274 โทรสาร 0-4432-5494

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา : NakhonRatchasima College of Agriculture and Technology
ชื่อย่อ : วษท.นม.
คติพจน์ : ความรู้ดี มีฝีมือ ถือคุณธรรม นำชุมชน
สถาปนา : พ.ศ. 2472
ประเภท : รัฐบาล – วิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์ : http://www.kasetkorat.ac.th/korat/index.php
Facebook : https://www.facebook.com/kasetkorat84/

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

See Less

ข่าวการศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

กิจกรรม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ดาวเด่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

วาไรตี้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้