รัฐฟลอริดา เตรียมบรรจุเรื่อง สุขภาพจิต ในหลักสูตรเด็ก ป.6 ขึ้นไป – ป้องกันโรคซึมเศร้า

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โรคซึมเศร้า อาการเครียด อาการวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นกับน้อง ๆ ในวัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นน้อง ๆ ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ความเครียดต่าง ๆ ล้วนแต่เริ่มมาจากการถูกกดดันเรื่องการเรียน การสอบ หรือแม้แต่เรื่องที่ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งที่โรงเรียน ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้น้อง ๆ เหล่านี้ตกอยู่ในสภาวะเครียด หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้

รัฐฟลอริดา เตรียมบรรจุเรื่อง สุขภาพจิต ในหลักสูตรการเรียน

ส่งผลทำให้ คณะบริหารการศึกษาของรัฐฟลอริดา ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พยายามหาทางป้องกันด้วยการเปิดสอนเรื่องสุขภาพจิตในโรงเรียน โดยที่คณะบริหารการศึกษาของฟลอริดา ได้ทำการลงคะแนนโหวตเรียกร้องให้โรงเรียนของรัฐ ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรเปิดสอนให้มีการสอนเรื่องสุขภาพจิตเข้าไปด้วย โดยจะเริ่มสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อปี

เรื่องสุขภาพจิต เรียนอะไรบ้าง?

ทั้งนี้เรื่องสุขภาพจิตจะมีการสอนตั้งแต่เรื่องการรับรู้อาการสุภาพจิต การแสดงอาการ กระบวนการขอความช่วยเหลือสำหรับตนเองและผู้อื่น การตระหนักถึงสิ่งที่ต้องการทำหรือพูดกับเพื่อนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต

การบรรจุวิชานี้ลงในไปในหลักสูตรการศึกษา จะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเผยผลการศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเหล่าวัยรุ่น ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างไร และยังมีรายงานอีกด้วยว่า เวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่มีส่วนส่งผลกระทบต่อจิตใจของวัยรุ่น เนื่องจากเยาวชนราว 1 ใน 5 คนของรัฐฟลอริดา และทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาสุขภาพจิตก่อนอายุ 25 ปี

คณะบริหารการศึกษาของรัฐฟลอริดา Richard Corcoran กล่าวว่า นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เรากำลังหาวิธีกับการต่อสู้กับโรคเหล่านี้อยู่ เพื่อให้เหล่าเด็ก ๆ ไม่ต้องประสบปัญหาด้านสุขภาพจริง โดยที่หลักสูตรนี้จะร่วมมือกับมูลนิธิ Hope for Healing ของ First Lady รัฐฟลอริดา Casey DeSantis

ซึ่งได้มีการจัดทำเว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้ด้านสุขภาพจิตเอาไว้อย่างครบถ้วน สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งรัฐฟลอริดาเป็นรัฐที่ 3 ที่ได้มีการเรียกร้องให้มีการบรรจุเรื่องสุขภาพจิตลงในหลักสูตรกาเรียนการสอน โดยในตอนนี้มีแค่รัฐเวอร์จิเนีย และนครนิวยอร์กเท่านั้น ที่ได้บรรจุความรู้ด้านสุขภาพจิตลงไปในการสอนด้วยเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา

ข้อมูลจาก : www.huffpost.com, https://thematter.co/, https://edition.cnn.com/

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง