สจล. โชว์ 7 หลักสูตรไฮไลท์ผสาน “ศาสตร์-ศิลป์” รับเทรนโลกยุคใหม่ ตอบโจทย์ภาคธุรกิจฯ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โชว์ 7 หลักสูตรผนวกศาสตร์และศิลป์ หนุนเตรียมความพร้อม “คนรุ่นใหม่” ตอบโจทย์ตลาดงานในอนาคตนานาชาติ)

สจล. โชว์ 7 หลักสูตรไฮไลท์ผสาน “ศาสตร์-ศิลป์” รับเทรนโลกยุคใหม่ ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมทุกเซกเมนต์

ประกอบด้วย

1. คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ แขนงการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม
2. คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
3. วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
4. คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
5. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร
6. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
และ 7. หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) และ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยว่า ท่ามกลางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานในปัจจุบันที่ต้องการ “คนทำงานที่มีศักยภาพสูง” เข้ามาเติมเต็มหรือร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนองค์กร ให้บรรลุเป้าหมายในมิติต่างๆ ด้วยทักษะความรู้และความสามารถในแต่ละสายอาชีพ (Hard Skill) รวมถึงทักษะทางสังคม (Soft Skill) ที่ครอบคลุมทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การนำเสนอไอเดีย การมีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น

สจล. จึงได้พัฒนา 7 หลักสูตรที่ขมวดรวม “ศาสตร์และศิลป์” ซึ่งจำเป็นต่อโลกการทำงานในอนาคต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมคนรุ่นใหม่ ให้สามารถเข้าทำงานได้ในทุกเซกเมนต์ของภาคอุตสาหกรรม

คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ แขนงการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม : สร้างสรรค์นวัตกรรม มองธุรกิจอย่างรอบด้าน

มุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการทางนวัตกรรม ที่มีความรู้ด้านการจัดการธุรกิจและการประยุกต์การจัดการกับองค์กรและการประกอการนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนครอบคลุมตั้งแต่การสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ การนำเสนอทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรตอบความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสถานประกอบการและตลาดยุคใหม่ ที่กำลังเดินหน้าด้วยนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ : เทรนด์ใหม่แห่งองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด

สร้างบุคลากรที่มีความสามารถ มีองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกและสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเสริมสร้างศักยภาพของบัณฑิต เพื่อให้เป็นกำลังคนดิจิทัล มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภาษาต่างประเทศ และทักษะวิชาชีพ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา นโยบายการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ เพื่อให้บัณฑิตมีสมรรถนะที่ทันสมัย สามารถบูรณาการให้สอดรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศได้

วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต : ร่วมรัน “วงการสื่อและบันเทิงไทย” ผ่านหลักสูตร “วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม”

หลักสูตรที่มองเห็นศักยภาพไทยในการเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมบันเทิงแห่งอาเซียน ผ่านการผนวกรวมความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ครอบคลุมศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมการประมวลผลสัญญาณ ร่วมกับด้านศิลป์ที่ประกอบด้วยความรู้ในสาขาวิชาดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี สู่การสร้างสรรค์ ‘เทคโนโลยีดนตรีแนวใหม่’ ไปพร้อมกับการเปิดมุมมองใหม่ด้านเทคโนโลยีทางดนตรี ที่สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมสื่อฯ ได้หลากรูปแบบ ทั้งในวงการเพลงทีป็อป คอนเสิร์ต เฟสติวัล ภาพยนตร์โฆษณา งานจัดแสดงต่างๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Soft Power สำคัญที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ในอนาคต

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (นานาชาติ): ก่อร่างสร้างแบบเสิร์ฟ “อุต ฯ ก่อสร้างสีเขียว” ทั้งไทย และต่างประเทศ

หลักสูตร บีวัน (BE.I: Built Environment Intelligence) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีมุมมอง และความคิดเชิงออกแบบด้านสถาปัตยกรรมในเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมต่าง ๆ อาทิ BIM, AR, VR, และ AI เข้ากับรายวิชาที่ส่งเสริมองค์ความรู้เฉพาะทาง ได้แก่ สถาปัตยกรรมดิจิทัล (Digital Architecture), การจัดการโครงการก่อสร้าง และอาคาร (Construction and Facility Management), สถาปัตยกรรมเขตร้อนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Tropical Architecture), และ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

รวมถึงเดินทางไปแลกเปลี่ยน กับสถาบันคู่สัญญาในต่างประเทศที่ขึ้นชื่อด้านการออกแบบ ทั้ง Liverpool John Moore University (สหราชอาณาจักร), New Castle University (ออสเตรเลีย), Queensland University (ออสเตรเลีย), Singapore Polytechnic (สิงคโปร์), เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเปิดโอกาสในการทำงาน และการเป็นบุคลากรสถาปัตยกรรมที่เป็นที่ต้องการจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งใน และต่างประเทศ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร : ยกระดับการสื่อสาร “อุตสาหกรรมเกษตรไทย” ด้วยดิจิทัล

มุ่งปั้น “นักนิเทศศาสตร์เกษตร” ทำหน้าที่เป็นตัวกลางการสื่อสารหรือถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ด้านการเกษตร ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ร่วมกับพื้นฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ ที่ครอบคลุมการออกแบบและผลิตสื่อทุกรูปแบบ

การโฆษณาประชาสัมพันธ์วิทยาการสารสนเทศ การสื่อสารการตลาด รวมถึงศิลปะในการสื่อสารกับชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ สามารถรับรู้และเข้าใจประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจน อาทิ การออกแบบแผ่นพับการใช้งานเครื่องเจาะดินนิวบอร์นสำหรับใช้ขุดดินปลูกต้นไม้ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านสื่อสารการเกษตร หรือการจัดทำคลิปอธิบายการทำงานของระบบสมาร์ทฟาร์ม เป็นต้น

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม : พัฒนาครูรุ่นใหม่ ถ่ายทอดวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมด้วยศิลปะและเทคโนโลยี

สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์หนึ่งที่สัมพันธ์กับทุกๆ ด้านในสังคม ทางเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเป็นศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวเสมอ ทั้งด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง วัสดุ แนวคิดในการออกแบบ มีนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรในด้านการบริหารจัดการองค์ความรู้ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงการสร้างฐานความรู้ เพื่อผลิตบุคลากรสู่สังคมที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางการสอน

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา (หลักสูตรนานาชาติ) : แห่งแรกในประเทศไทยที่รวมสองศาสตร์ วิศวะ-สถาปัตย์ ไว้ด้วยกัน

ด้วยความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ที่เล็งเห็นความเกี่ยวข้องกันทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงออกแบบหลักสูตรเพื่อปั้นบุคลากรที่มีองค์ความรู้อย่างรอบด้าน เข้าใจงานก่อสร้างที่ปลอดภัย โดดเด่นด้วยศิลปะการออกแบบ รวมทั้งเข้าใจเทรนด์ของสังคม โดยหลักสูตรนี้ถือเป็น “ดับเบิ้ลดีกรี” เรียนครั้งเดียว รับปริญญา 2 ใบ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเพจ www.facebook.com/kmitlofficial และเว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8000

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง