เจ๋ง! มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ Webometrics Ranking ปี 2019 | รัฐฯ-มรภ.-มทร.-เอกชน

กลับมาเจอกันเป็นประจำทุกปี สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Webometrics Ranking of World Universities หรือ Ranking Web of World Universities ประจำปี 2019 เว็บไซต์การจัดอันดับจากประเทศสเปน ของ Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab

มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ Webometrics Ranking ปี 2019

ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC) สภาวิจัยแห่งชาติ (Spanish National Research Council – CSIC) ที่ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับสถาบันการศึกษาจากทั่วโลกในด้านคุณภาพวิชาการและด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการแบ่งการจัดอันดับออกเป็น 2 ครั้งต่อปี ได้แก่ เดือนมกราคมและเดือนกรกฏาคม ของทุกปี

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา Cybermetrics Lab ก็ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำเดือนมกราคม ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผ่านทางเว็บไซต์ www.webometrics.info/en โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยไทยที่ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามลำดับ เป็นต้น

ส่วนมหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏนั้น ก็ยังคงเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ยังคงสามารถรักษาตำแหน่งอันดับ 1 เอาไว้ได้เป็นสมัยที่ 9 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ก็ยังคงเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 เอาไว้อีกหนึ่งสมัย และมหาวิทยาลัยในกลุ่มเอกชนอันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

20 อันดับแรก มหาวิทยาลัยไทย ได้แก่

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อยู่อันดับ 490 ของโลก)

2. มหาวิทยาลัยมหิดล (อยู่อันดับ 591 ของโลก)

3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อยู่อันดับ 691 ของโลก)

4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อยู่อันดับ 788 ของโลก)

5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อยู่อันดับ 793 ของโลก)

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อยู่อันดับ 1054 ของโลก)

7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อยู่อันดับ 1083 ของโลก)

8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อยู่อันดับ 1142 ของโลก)

9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อยู่อันดับ 1160 ของโลก)

10. มหาวิทยาลัยนเรศวร (อยู่อันดับ 1169 ของโลก)

11. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (อยู่อันดับ 1379 ของโลก)

12. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (อยู่อันดับ 1474 ของโลก)

13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (อยู่อันดับ 1724 ของโลก)

14. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อยู่อันดับ 1860 ของโลก)

15. มหาวิทยาลัยบูรพา (อยู่อันดับ 1892 ของโลก)

16. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อยู่อันดับ 2136 ของโลก)

17. มหาวิทยาลัยศิลปากร (อยู่อันดับ 2178 ของโลก)

18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อยู่อันดับ 2407 ของโลก)

19. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อยู่อันดับ 2465 ของโลก)

20. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (อยู่อันดับ 2652 ของโลก)

10 อันดับแรก กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

8.  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

9. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

10. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

9 อันดับ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

10 อันดับแรก กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

2. มหาวิทยาลัยรังสิต

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

4. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

5. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

6. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

7. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

8. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

9. มหาวิทยาลัยพายัพ

10. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย ดูรายละเอียดได้ที่ : www.webometrics.info

เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับ มีรายละเอียดดังนี้

1. PRESENCE : 5 %

คือ จำนวนการแสดงผลของ webdomain หลักของสถาบันการศึกษา ซึ่งจะรวมถึงโดเมนย่อยทั้งหมด : สืบค้นได้จาก Google

2. VISIBILITY : 50 %

คือ จำนวนการมองเห็นครือข่ายภายนอกที่มีต้นกำเนิดย้อนกลับไปยังสถาบันการศึกษาหน้าเว็บ : สืบค้นได้จาก Ahrefs, Majestic

3. TRANSPARENCY (OR OPENNESS) : 10 %

คือ จำนวนการอ้างอิงจากนักเขียนยอดนิยมตามแหล่งที่มา ดูการจัดอันดับใส่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม : สืบค้นได้จาก Google Scholar, Citations, Citations

4. EXCELLENCE (or SCHOLAR) : 35%

คือ จำนวนบทความวิชาการและการอ้างอิงบทความทางวิชาการ : สืบค้นได้จาก Scimago

** หมายเหตุ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT เป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยไทยเป็นประเทศที่บริจาคให้กับสถาบันการศึกษาแห่งนี้มากที่สุด เพื่อใช้ในการบริหารสถาบันและด้านการศึกษา

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง