7 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GAT/PAT เด็ก ม.6 ควรรู้ – ตัวอย่างข้อสอบ พร้อมเฉลย

สำหรับน้องๆ ที่จะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะน้องๆ ม.6 จะต้องทำการแอดมินชั่น มีการทดสอบ GAT PAT เพื่อวัดศัพยภาพในการเข้าเรียนสู่รั้วมหาวิทยาลัย ว่าน้องๆ มีความพร้อมแค่ไหน หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า GAT PAT คืออะไร ต้องสอบวิชาไหนบ้าง ลองไปอ่านทำความเข้าใจกันค่ะ – 7 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GAT/PAT ที่เด็ก ม.6 ควรรู้ การสอบวัดความรู้ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย

7 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GAT/PAT

1. GAT คืออะไร?

เป็นการสอบที่ดูว่า นักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อม ในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ซึ่งก็คือเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย ให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 พาร์ทภาษาไทย คือ วัดความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา

ส่วนที่ 2 พาร์ทภาษาอังกฤษ คือ วัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and /Conversation/Vocabulary/Structure and Writing/Reading Comprehension

รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนน

2. PAT คืออะไร?

เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test)  การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม  มี 7 สาขาวิชาตามกลุ่มวิชาชีพดังนี้คือ

PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย

3. GAT PAT สำคัญต่อแอดมิชชั่นอย่างไร?

แอดมิชชั่นกลางนั้น GAT PAT รวมกันจะเป็นสัดส่วนถึง 50% และอีก 50% ที่เหลือก็มาจากสัดส่วนรวมกันของเกรด(GPAX) และคะแนน O-NET นั่นเองค่ะ นั่นหมายความว่า ถ้าไม่มี GAT PAT ก็จะไม่สามารถแอดมิชชั่นได้นั่นเอง นอกจากนี้การรับตรงในบางมหาลัยนั้นก็ใช้ GAT PAT เป็นเกณฑ์คัดเลือกสำคัญด้วย อาทิ รับตรงปกติ จุฬาฯ, รับตรง มธ.บางคณะ, รับตรงแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น

และรับตรงรอบแรกส่วนใหญ่ก็จะใช้ GAT PAT รอบแรกเท่านั้น เพราะรับตรงโครงการนั้นๆ จะเสร็จสิ้นก่อนจะสอบ GAT PAT จึงใช้ได้แค่รอบเดียว ดังนั้น เตือน ม.6 ถ้าถึงเวลาสมัครสอบแล้ว ก็อย่าลืมสมัครด้วยนะ จะได้ไม่เสียสิทธิ์รับตรง (ในบางคณะ)

4. คณะไหนใช้ PAT อะไรบ้าง

PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์  กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์ กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ (ยื่นคะแนนรูปแบบที่1)

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์

PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว(ยื่นคะแนนรูปแบบที่2) กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์(ยื่นคะแนนพื้นฐานศิลป์ รูปแบบ2)

5. ใครสอบได้บ้าง

สำหรับการสอบ GAT PAT ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร เพราะทุกคนมีสิทธิในการสอบหมด ทั้ง ม.6 เด็กซิ่ว และ สายอาชีพ และจะสมัครกี่ครั้งก็ได้(แต่ปีนึงมีแค่ 2 ครั้ง) เพราะการสมัครสอบสามารถดำเนินการสมัครได้ด้วยตนเอง ดังนั้นอยู่ที่ความรับผิดชอบของตัวเอง หากสมัครไม่ทัน ผลเสียก็ตกอยู่ที่ตัวเอง

อายุของคะแนนสอบ GAT PAT อยู่ได้ 2 ปี  นั่นหมายความว่า หาก ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้  ดังนั้นในความหมายเดียวกัน ถ้ารุ่นพี่แอด55 จะซิ่วในปีนี้ ก็สามารถใช้คะแนนปีที่แล้วได้ด้วย โดยในการสมัครแอดมิชชั่นกลางจะมีระบุไว้ว่าใช้รอบใดได้บ้าง

แต่ในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างคือรายละเอียดล้วนๆ ต้องดูให้ถี่ถ้วนเอง

6. วิธีเตรียมตัวสอบ

สำหรับการเตรียมตัวสอบ GAT PAT พี่มิ้นท์จะขอข้ามเรื่องการกวดวิชาไปนะ   เพราะเรื่องกวดวิชาขึ้นอยู่กับดุลพินิจในเรื่องความจำเป็นและความหนาของกระเป๋าสตางค์ ><  แต่จะพูดถึงการเตรียมตัวด้วยตนเอง มีเคล็ดลับง่ายๆ แต่จะยากตรงที่ต้องใช้ลูกขยันของเราล้วนๆ ค่ะ

1. เริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ ว่าเราจะสอบวิชาอะไรบ้าง และวางแผนการอ่านหนังสือของเรา เช่น จะอ่าน GAT ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอ่าน PAT วันที่เหลือ เป็นต้น

2. เข้าใจข้อสอบก่อนว่า ข้อสอบ GAT PAT จะมีระดับความยากกว่า O-NET เพราะอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ เพราะฉะนั้น จะอ่านหนังสือแต่ละทีต้องตั้งใจและมีสมาธิมากๆ รวมถึงหาขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบมาดู และไปตามหาหนังสือที่มีรายละเอียดเรื่องนั้นๆ มาอ่าน ซึ่ง อาจจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือที่ใช้เรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลกว้างขึ้นนะ

3. ดาวน์โหลดข้อสอบเก่าๆ มาลองทำ การอ่านเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยอะไรจริงๆ  เราต้องลงมือทำข้อสอบด้วย เพื่อให้คุ้นกับแนวข้อสอบ ยิ่งทำเยอะ ยิ่งได้เปรียบ

4. ทุกครั้งที่ทำข้อสอบจับเวลาด้วย เอาให้ใกล้เคียงกับเวลาในการสอบจริงมากที่สุด หากเลยเวลาไม่เป็นไร ค่อยๆ ปรับตัว ขออย่าเดียว อย่าหยุดทำ

5. ตามข่าวว่ามีที่ไหนให้ติวฟรีบ้าง ซึ่งในแต่ละปีมีหน่วยงานหลายหน่วยงานจัดติวฟรี และส่วนใหญ่จะรับจำนวนจำกัด อยากได้ของฟรีต้องรีบ แต่ก็อย่าสักแต่ว่าจะไปฟรีนะ ถ้าคิดจะไปก็ควรตั้งใจเรียนให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าในการจัดติวแบบนี้เราจะได้เทคนิคดีๆ มาเยอะมาก ส่วนเอกสารหรือหนังสือที่ได้มา มีเวลาว่างก็ขอให้อ่าน อย่าดองนะ เดี๋ยวปลวกขึ้น!!

7. ข้อสอบเก่าๆ ช่วยได้

ลองเข้าไปฝึกทำกันบ่อยๆ ค่ะ ในลิงค์ต่อไปนี้จะมีข้อสอบเก่าๆ ตั้งแต้ปี 2548ข้อสอบ O-NET

ข้อสอบ GAT PAT

เฉลยข้อสอบ

เฉลยข้อสอบ GAT PAT ตุลาคม 2553 By สทศ.  อ้างอิงข้อมูลจาก: krupom.sbp.ac.th/?p=577 , www.niets.or.th/, www.admission58.com

ง่ายนิดเดียว สูตรยกของยังไงให้เบาที่สุด

Link : https://seeme.me/ch/devilphysic

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง