9 วิชาสามัญ GAT Onet PAT TCAS การศึกษาไทย การสอบ เคลียริงเฮาส์ โอเน็ต

32 คำถาม การศึกษาไทย TCAS, GAT/PAT, O-NET, 9 วิชาสามัญ และ ระบบเคลียริ่งเฮาส์

Home / ข่าวการศึกษา / 32 คำถาม การศึกษาไทย TCAS, GAT/PAT, O-NET, 9 วิชาสามัญ และ ระบบเคลียริ่งเฮาส์

หลังจากที่ ทปอ. ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางใหม่ จากเดิมคือระบบ Admission มาเป็นระบบ TCAS : Thai University Central Admission System ที่นำมาใช้เป็นระบบกลางในการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา ก็ได้มีการแบ่งการรับสมัครออกเป็น 5 รอบด้วยกัน พร้อมทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงการสอบ GAT/PAT ให้เหลือเพียงรอบเดียวอีกด้วย รวม คำถามเกี่ยวกับการศึกษาไทย มาให้อ่าน

32 คำถามเกี่ยวกับการศึกษาไทย

โดยในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมคำถามที่น้องๆ หลายคนสงสัยพร้อมคำตอบ เกี่ยวกับระบบ TCAS, การสอบ GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, O-NET และ ระบบเคลียริ่งเฮาส์ (Clearing – house) มาให้ด้วย ถ้พร้อมแล้วไปดูกันเลย… จะได้เตรียมตัวกันทัน พร้อมทั้งจะได้รู้ว่าตนเองจะต้องเข้าสอบอะไรบ้าง

– – – เกี่ยวกับ O-NET – – – 

สายวิทย์-คณิต ได้เปรียบกว่าศิลป์ภาษา คำนวณ?

คำถามที่ 1 เด็กสายวิทย์-คณิตฯ เวลาเข้าสอบ O-NET จะได้เปรียบกว่าเด็กสายศิลป์ภาษาและศิลป์คำนวณ จริงหรือไม่? 

การสอบ O-NET เป็นการทดสอบเพื่อวัดมาตรฐารสาระการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนได้เรียนมาเหมือนกันหมด ซึ่งประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (เฉพาะเด็ก ม.6 เท่านั้นที่จะต้องเข้าสอบวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมด้วย ส่วนเด็ก ป.6 และ ม.3 สอบแค่ 4 วิชาเท่านั้น) ดังนั้นจะสรุปว่าเด็กสายวิทย์-คณิตฯ จะได้เปรียบในการสอบมากกว่าเด็กสายศิลป์นั้น ก็คงไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะข้อสอบที่ออกนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เด็กๆ ทุกคนได้เรียนมาแล้วในห้องเรียนเหมือนกันหมด

ไม่สบาย ขาดสอบโอเน็ต ต้องทำยังไง?

คำถามที่ 2 ถ้านักเรียนขาดสอบหรือไม่สบาย ไม่สามารถเข้าอบ O-NET ได้ จะต้องทำอย่างไร?

การสอบ O-NET เป็นการทกสอบที่จัดสอบโดย สทศ. ซึ่งจะทำการจัดสอบเพียง 1 ครั้งต่อปีเท่านั้น ดังนั้นน้องๆ คนไหนที่ไม่สามารถเข้าสอบได้ จะต้องการทำส่งเรื่องไปที่ สทศ. เพื่อทำการขอสมัครสอบในรอบพิเศษสำหรับผู้ที่เกิดเหตุสุดวิสัย ซึ่งทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับทาง สทศ. ว่าจะอนุญาตหรือไม่ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ สทศ. : www.niets.or.th

สมัครสอบโอเน็ตทำยังไง?

คำถามที่ 3 วิธีการสมัครสอบ O-NET ต้องทำอย่างไร?

สำหรับวิธีการสมัครสอบ O-NET น้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ไม่ต้องทำการสมัครเอง เพราะทางโรงเรียนจะเป็นคนที่ทำการสมัครให้น้องๆ ทุกคน ซึ่งน้องๆ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดทั้งหมดที่เว็บไซต์ สทศ. : www.niets.or.th

คะแนนสอบโอเน็ตใช้ได้กี่ปี

คำถามที่ 4 คะแนนสอบ O-NET สามารถใช้ได้กี่ปี?

สำหรับคะแนนสอบ O-NET สามารถใช้ได้ตลอดชีพเลย ไม่มีวันหมดอายุ

นักเรียนเทียบเท่า สอบโอเน็ตได้ไหม?

คำถามที่ 5 ในกรณีที่น้องๆ เป็นนักเรียนเทียบเท่าจะสามารถสมัครสอบ O-NET ได้อย่างไร?

สอบได้, โดยทาง สทศ. จะทำการเปิดระบบรับสมัครนักเรียนเทียบเท่า ม.6 ผ่านทางเว็บไซต์ สทศ. : www.niets.or.th

หลักฐานในวันสอบมีอะไรบ้าง?

คำถามที่ 6 เอกสารที่ใช้แสดงเป็นหลักฐานในวันสอบ O-NET ต้องมีอะไรบ้าง?

น้องๆ จะต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือบัตรที่ออกให้โดยหน่วยงานราชการมีรูปถ่าย (และบัตรจะต้องยังไม่หมดอายุด้วย)

อุปกรณ์ที่นำเข้าห้องสอบมีอะไรบ้าง?

คำถามที่ 7 อุปกรณ์ที่สามารถนำเข้าห้องสอบ O-NET ได้ มีอะไรบ้าง?

ได้แก่ ปากกา, ดินสอดำ 2B, ยางลบ และกบเหลาดินสอ

ระเบียบการเข้าห้องสอบโอเน็ต

คำถามที่ 8 ระเบียบการเข้าห้องสอบ O-NET ที่น้องๆ ควรรู้?

น้องๆ ที่ไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไม่มีบัตรแสดงตัวตน ไปผิดสนามสอบ จะไม่มีสิทธิ์สอบ, ไปสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์สอบในวิชานั้น, ห้ามนำอุปรกณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ, นั่งสอบจนหมดเวลา จึงจะสามารถลุกออกจากห้องได้ และนอกจากนี้น้องๆ สามารถใส่นาฬิกาที่ดูเวลาได้เท่านั้น

ฟิสิกส์แม่งเถื่อน!! เผยข้อสอบ O-NET ฟิสิกส์… 

น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่

– – – การสอบ GAT/PAT – – – 

นักเรียน ม.5 สอบ GAT/PAT ได้มั้ย?

คำถามที่ 9 นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 สามารถสมัครสอบ GAT/PAT ได้หรือไม่?

สอบไม่ได้ เพราะการสอบ GAT/PAT ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบ ณ วันสอบว่าต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 ขึ้นไปเท่านั้น (น้องๆ ที่กำลังเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ม.6 สทศ. ไม่อนุญาตให้เข้าสอบ และหากน้องๆ กรอกข้อมูลในระบบรับสมัครว่าเป็นนักเรียน ชั้น ม.6 หรือสูงกว่า ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นความผิดด้วยนะ)

ลืมรหัสผ่านเข้าระบบ

คำถามที่ 10 ถ้าเราลืมรหัสผ่านของผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านเข้าระบบต้องทำอย่างไรบ้าง?

ถ้าน้องๆ ลืมรหัสผ่านการเข้าใช้งาน สามารถดำเนินการได้ดังนี้

วิธีที่ 1 เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า : เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า ต้องการสอบถามรหัสผู้ใช้งานหรือรหัสผ่าน (วิธีนี้ผู้สมัครสอบต้องจำคำถามและคำตอบเมื่อลืมรหัสผ่านได้)

ขั้นที่ 1 เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า

วิธีที่ 2 โทรศัพท์สอบถามในระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของ สทศ. : โทรศัพท์ที่เบอร์ 02-217-3800 เมื่อมีเสียงตอบรับแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้

  1. กด 1 เพื่อสอบถามเกี่ยวกับระบบ GAT/PAT
  2. กด 1 อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
  3. ทำตามขั้นตอน โดยกดเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตามด้วย #
  4. ระบบจะประมวลผล ถ้าเจอ ระบบจะถามว่า ถ้าทราบรหัสผู้ใช้ กด 1 ไม่ทราบ กด 2 (กรณีกด 1 ระบบจะให้กดรหัสผู้ใช้งาน 10 หลักแล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผ่านให้ และในกรณีกด 2 ระบบจะให้กด วัน เดือน ปีเกิด แล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้)

วิธีที่ 3 สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย) : ผู้สมัครสอบต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้พนักงานและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการขอรหัสผ่าน GAT/PAT ของ สทศ. โดยในกรณีที่พนักงานไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร ให้แจ้งว่า ให้เปิดแผ่นผู้ว่าจ้างและหา Barcode สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GAT/PAT และให้พนักงานยิง Barcode พนักงานจะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้เป็นแผ่นสลิป พร้อมให้ผู้สมัครสอบเสียค่าบริการ 20 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม)

ชาวต่างชาติ สมัครสอบ GAT/PAT ได้อย่างไร

คำถามที่ 11 ชาวต่างชาติที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนจะทำการสมัครสอบได้อย่างไร?

กรณีชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ แต่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนประสงค์จะสมัครสอบให้ดำเนินการ ดังนี้

1. ให้กรอกรายละเอียดตามแบบคำขอลงทะเบียนสมัครสอบ GAT/PAT สำหรับผู้สมัครสอบ (รายใหม่) ที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (พร้อมแบบคำขอลงทะเบียนจะแนบท้ายประกาศรับสมัครสอบด้วย)

2. แนบสำเนาหลักฐานหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีรูปถ่าย และข้อมูลของผู้ถือหนังสือและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จัดส่งเอกสารมายัง สทศ. ตามช่องทาง ดังนี้ ยื่นด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ สทศ. อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 วันทำการตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น. วันหยุดทำการ (วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (เฉพาะช่วงการรับสมัครสอบ)

หรือทางโทรสาร หมายเลข 02-219-2996 ระบบอัตโนมัติ และทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองว่า กลุ่มงานบริการการทดสอบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

สทศ. จะดำเนินการลงทะเบียนในระบบให้ และจะแจ้งรหัสชื่อผู้ใช้งาน สำหรับเข้าระบบกลับไปทางโทรศัพท์ หรือทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้สมัครสอบ ภายใน 1 วันทำการนับแต่ได้รับแบบคำขอลงทะเบียนของผู้สมัครสอบ เพื่อให้ผู้สมัครสอบดำเนินการตามขั้นตอนการสมัครสอบที่กำหนด ทั้งนี้ผู้สมัครสอบต้องดำเนินการกรอกแบบคำขอลงทะเบียนสมัครสอบและชำระเงิน ภายในระยะเวลาการเปิดและปิดระบบรับสมัครสอบและชำระเงินที่ประกาศกำหนดไว้

สนามสอบเต็ม จะต้องทำยังไง?

คำถามที่ 12 ถ้าตอนสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็ม จะต้องทำอย่างไร?

ถ้าเกิดกรณีที่ในช่วงสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็มทุกสนามสอบแล้วยังไม่ได้เลือกสนามสอบไว้เลย ให้น้องๆ คงเขต/อำเภอที่เลือกไว้ตอนสมัครสอบ โดยที่ทาง สทศ. จะจัดสนามสอบให้กับน้องๆ ได้สอบตามเขต/อำเภอที่ระบุไว้ หรือที่ใกล้เคียง หรือที่ยังมีที่ว่างอยู่ โดยที่น้องๆ ไม่จำเป็นต้องเลือกสนามสอบในจังหวัดอื่นๆ หากไม่ได้ประสงค์จะไปสอบในจังหวัดนั้นๆ

สมัครสอบแล้ว จะเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมรายวิชา ทำได้ไหม?

คำถามที่ 13 หลังจากสมัครสอบไปแล้ว ถ้าจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร?

สามารถแบ่งออกเป็นกรณีต่างๆ ได้ ดังนี้

1.สมัครสอบแล้ว แต่ยังไม่ชำระเงิน น้องๆ สามารถสมัครสอบใหม่ได้ โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น หากน้องๆ สมัครสอบใหม่แต่ใช้ใบชำระเงินใบเดิม สถานะการชำระเงินของเราก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องติดต่อ สทศ. ทันที

2.สมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้น้องๆ สมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน ระบบจะรวมวิชาทุกใบสมัครที่ชำระเงินแล้วให้เองอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น

3.ต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชาภาษาต่างประเทศ (PAT 7) หลังจากชำระเงินแล้ว ให้น้องๆ ทำการยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลที่ขอเปลี่ยนรายวิชามายัง สทศ. แล้วทาง สทศ. จะทำการพิจารณาตามความจำเป็น และจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้หากเห็นเหตุสมควร

ต้องการแก้ไขข้อมูล หลังจากชำระเงินแล้ว

คำถามที่ 14 ถ้าน้องๆ ต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ หลังการชำระเงินแล้ว ต้องทำอย่างไร?

การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครสอบในระบบ แบ่งเป็น..

1.ข้อมูลที่ผู้สมัครสอบไม่สามารถแก้ไขได้เอง คือ คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชน น้องๆ จะต้องส่งเอกสารมายัง สทศ. ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ e-mail : [email protected] หลังจากนั้น สทศ. จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลหลังจากได้รับเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ไม่เกิน 2 วัน

2.ข้อมูลอื่นๆ ในระบบ นอกจากข้อมูลตามข้อ 1 ผู้สมัครสอบ สามารถแก้ไขข้อมูลได้เองในระบบส่วนบุคคล การดำเนินการแก้ไขข้อมูลต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ สทศ. กำหนด

พิมพ์ใบจ่ายเงินไม่ได้

คำถามที่ 15 พิมพ์ใบจ่ายเงินไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?

ในกรณีที่กดพิมพ์ใบจ่ายเงิน หรือบัตรแสดงข้อมูลสถานที่สอบ เลขที่นั่งสอบ แล้วไม่ปรากฎหน้าจอใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้

1. ให้น้องๆ ทำการเลือกเมนูด้านบนคำว่า TOOLS

ให้น้องๆ ทำการเลือกเมนูด้านบนคำว่า TOOLS

2. ไปที่ POP UP BLOCKER แล้วเลือกคำว่า TURN OFF POP UP BLOCKER แล้วกดคำว่า พิมพ์

ไปที่ POP UP BLOCKER แล้วเลือกคำว่า TURN OFF POP UP BLOCKER แล้วกดคำว่า พิมพ์

3. หลังจากกดคำว่า พิมพ์ จะปรากฎหน้าจอใหม่ ดังภาพด้านล่างนี้

หลังจากกดคำว่า พิมพ์ จะปรากฎหน้าจอใหม่ ดังภาพด้านล่างนี้

จำง่ายๆ GAT สัญลักษณ์แบบที่ 3 Part 3

น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่

– – – 9 วิชาสามัญ – – – 

การสอบ 9 วิชาสามัญ คือ

คำถามที่ 16 การสอบ 9 วิชาสามัญคืออะไร?

สืบเนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดการระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ (Clearing – house) โดยยึดหลักการและวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

1.มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ดำรงไว้ซึ่งเอกสิทธิ์ในการที่จะรับนักเรียนเข้าศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย

2.นักเรียนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ตนสนใจ หรือมีความถนัดดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับระบบการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์

ดังนั้น ทปอ. จึงได้มอบหมายให้ สทศ. จัดการทดสอบวิชาสามัญ ใน 9 วิชา คือ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ (สายวิทย์-คณิตฯ) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา) วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา) วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา

เพื่อนำผลคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาระบบรับตรง นอกจากนี้ ผลคะแนนวิชาสามัญ 7 วิชา ประกอบ ด้วย วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ (สายวิทย์-คณิตฯ) วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา ยังนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ ในสถาบันที่อยู่ในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยอีกด้วย

จะต้องสอบ 9 วิชาสามัญตอนไหน

คำถามที่ 17 เราจะต้องสอบ 9 วิชาสามัญตอนไหน?

สทศ. จะจัดการทดสอบ 9 วิชาสามัญ โดยจัดการสอบปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงต้นปี ประมาณมกราคม-มีนาคม

ม.5 เข้าสอบ 9 วิชาสามัญได้ไหม

คำถามที่ 18 นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 สามารถเข้าสอบ 9 วิชาสามัญ ได้หรือไม่?

ไม่ได้ เพราะการสอบ 9 วิชาสามัญ ทปอ. ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบ ณ วันสอบว่าต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 ขึ้นไปเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลวิชาสอบ หลังสมัครสอบ

คำถามที่ 19 หลังจากสมัครสอบไปแล้ว ถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องดำเนินการภายในกำหนดการการรับสมัครสอบเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. สมัครสอบแล้ว แต่ยังไม่ชำระเงิน น้องๆ สามารถสมัครสอบใหม่ได้ โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น หากน้องๆ สมัครสอบใหม่แต่ใช้ใบชำระเงินใบเดิม สถานะการชำระเงินของผู้สมัครสอบจะไม่เปลี่ยนแปลง และต้องทำการติดต่อ สทศ. ทันที

2.สมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้น้องๆ สมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน ระบบจะรวมวิชาทุกใบสมัครที่ชำระเงินแล้วให้เองอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น

แก้ไขข้อมูลส่วนตัวในระบบ

คำถามที่ 20 ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวในระบบ หลังการชำระเงินแล้ว ต้องทำอย่างไร?

การแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครสอบในระบบ แบ่งออกเป็น…

1.ข้อมูลที่ผู้สมัครสอบไม่สามารถแก้ไขได้เอง คือ คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชน น้องๆ จะต้องส่งเอกสารมายัง สทศ. ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ e-mail : [email protected] หลังจากนั้น สทศ. จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลหลังจากได้รับเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ไม่เกิน 2 วัน

2.ข้อมูลอื่นๆ ในระบบ นอกจากข้อมูลตามข้อ 1 ผู้สมัครสอบ สามารถแก้ไขข้อมูลได้เองในระบบส่วนบุคคล การดำเนินการแก้ไขข้อมูลต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ สทศ. กำหนด

คะแนนสอบใช้ได้กี่ปี

คำถามที่ 21 ผลคะแนนวิชาสามัญ 9 วิชา ใช้ได้กี่ปี และหากต้องการใบรายงานผลการสอบ อย่างเป็นทางการ ต้องดำเนินการอย่างไร?

คะแนนวิชาสามัญ 9 วิชา มีอายุ 1 ปี (นับจากวันที่สอบ) และสำหรับการขอใบรายงานผลการสอบ สามารถดำเนินการได้ 3 วิธี คือ

  1. ขอใบรายงานผลผ่านระบบ E-SCORE หน้าเว็บไซต์ของ สทศ.
  2.  ขอใบรายงานผลด้วยตนเองที่ สทศ.
  3. ขอใบรายงานผลทางไปรษณีย์ โดยส่งแบบคำร้อง (ดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ไปรษณีย์ธนาณัติ (ค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 20 บาท/แผ่น) และซองเปล่าสำหรับใส่ใบรายงานผล ติดแสตมป์ จ่าหน้าซองถึงตนเอง

– – – TCAS & Clearing – house – – – 

ระบบ TCAS มีกี่รอบ

คำถามที่ 22 ระบบ TCAS แบ่งการรับสมัครคัดเลือกบุคคล เข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดกี่รอบ มีอะไรบ้าง?

สำหรับการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในระบบ TCAS (เว็บไซต์ TCAS : http://tcas.cupt.net/) จะถูกแบ่งออกเป็น 5 รอบ ดังนี้

  • แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) รอบที่ 1
  • การรับแบบโควตา ที่มีการสอบข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ รอบที่ 2
  • การรับตรงร่วมกัน และการจัดสอบของ กสพท. จะอยู่ในรอบนี้ด้วย รอบที่ 3
  • รับแบบ Admissions สำหรับนักเรียนทั่วไป รอบที่ 4
  • รับตรงแบบอิสระ รอบที่ 5

สามารถคณะได้กี่คณะ กี่อันดับ

คำถามที่ 23 นักเรียน 1 คน สามารถเลือกคณะที่ต้องการเข้าเรียนได้ทั้งหมดกี่คณะ/กี่อันดับ?

เราสามารถเลือกคณะที่ต้องเข้าเรียนได้ทั้งหมด 4 อันดับด้วยกัน โดยที่ กสพท. จะถูกนับเป็น 1 ใน 4 อันดับคณะ ที่ใช้ในการเลือกอันดับด้วย

ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์คืออะไร ?

คำถามที่ 24 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ (Clearing – house) คืออะไร?

ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ คือ ระบบที่ใช้ยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกันของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นระบบที่จะช่วยทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยรับตรงได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับคนที่สอบตอดรับตรงได้หลายมหาวิทยาลัยอีกด้วย เพื่อช่วยลดปัญหาการกั๊กที่เรียนสำหรับคนที่สอบได้หลายๆ ที่นั่นเอง

การยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์

คำถามที่ 25 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษา ในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮาส์ จะต้องเข้าไปยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์ทุกคนหรือไม่?

เฉพาะผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาในโครงการรับตรงที่กำหนด ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษา ต้องเข้ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบระบบเคลียริ่งเฮาส์เท่านั้น ทั้งนี้เพราะในบางมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์จะเข้าร่วมแค่บางโครงการเท่านั้น อาทิเช่น มหาวิทยาลัย A เปิดรับตรง 20 โครงการ แต่มีเพียง 11 โครงการเท่านั้น ที่เข้าร่วมรับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ ดังนั้นผู้ที่จะต้องเข้ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์ คือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาในโครงการรับตรง 11 โครงการของมหาวิทยาลัย A เท่านั้น ส่วนโครงการที่เหลือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกก็ไม่ต้องยืนยันสิทธิ์ในระบบนี้

ยืนยันสิทธิ์ที่ไหน?

คำถามที่ 26 ยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ที่ไหน?

การยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ จะทำผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์ระบบการคัดเลือกรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) : www.aupt.or.th

ใช้อะไรยืนยันสิทธิ์บ้าง ?

คำถามที่ 27 ผู้ที่ต้องการยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ จะต้องใช้อะไรในการยืนยันสิทธิ์บ้าง?

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยที่มาเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ จะได้รับรหัสการเข้าระบบยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์จากมหาวิทยาลัยที่ตนเองผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษา เพื่อนำมายืนยันสิทธิ์ในระบบการยืนยันสิทธิ์ของ สอท.

เปลี่ยนแปลงการยืนยันสิทธิ์ได้มั้ย ?

คำถามที่ 28 การยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ หากยืนยันสิทธิ์ไปแล้วสามารถเปลี่ยนแปลงการยืนยันสิทธิ์ได้หรือไม่?

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยที่มาเข้าร่วมเคลียริงเฮาส์ เข้ามายืนยันสิทธิ์ในระบบการยืนยันสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงไดไม่เกิน 3 ครั้ง ภายในวันที่ สอท. กําหนดการยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ อาทิเช่น นาย ก. ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษารับตรง 4 โครงการ ของ 4 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮาส์ ได้แก่ โครงการ A โครงการ B โครงการ C และโครงการ D

เมื่อถึงช่วงเวลาของการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา หากนาย ก. เข้ายืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ โครงการ A แล้ว นาย ก. สามารถเปลี่ยนแปลงการยืนยันสิทธิ์ไปเลือกโครงการ B ได้ หรือไปเลือกโครงการ c ได้ หรือไปเลือกโครงการ D ได้ โดยเลือกยืนยันสิทธิ์และเปลี่ยนแปลงการยืนยันสิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง นั่นเอง

สละสิทธิ์ได้มั้ย

คำถามที่ 29 การยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ หากยืนยันสิทธิ์ไปแล้วสามารถสละสิทธิ์ได้หรือไม่?

สามารถเลือกสละสิทธิ์ได้ ถึงแม้ว่าจะยืนยันสิทธิ์ไปแล้ว แต่ก็ต้องอยู่ในวัน/เวลา ที่ทาง สอท. กำหนดเอาไว้ด้วย หากเลยกำหนดวัน/เวลาดังกล่าวไปแล้ว ไม่สามารถเลือกสละสิทธิ์ได้

ผลการยืนยันสิทธิ์คืออะไร

คำถามที่ 30 ผลของการยืนยันสิทธิ์รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์คืออะไร?

เป็นการยืนยันสิทธิ์รับตรงโครงการที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ ก็จะได้สิทธิ์เข้าศึกษาต่อในโครงการที่ได้ยืนยันสิทธิ์ไป และก็ยังเป็นลดปัญหาเด็กนักเรียนกั๊กที่เรียนได้อีกด้วย โดยที่ใครสอบได้มากกว่า 1 โครงการ สามารถเลือกยืนยันสิทธ์ได้เพียง 1 มหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนโครงการที่เหลือจะถูกตัดสิทธิ์ออกไป

ผ่านคัดเลือก มีสิทธิ์เข้าศึกษา แต่อยากสละสิทธิ์

คำถามที่ 31 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษา ในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริงเฮาส์ หากต้องการสละสิทธิ์รับตรงในระบบเคลียริ่งเฮาส์ต้องทำอย่างไร?

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยที่มาเข้าร่วมระบเคลียริ่งเฮาส์ หากต้องการสละสิทธิ์สามารถเลือกทำได้ 2 วิธี คือ

  1. ไม่เข้ายืนยันสิทธิ์ รับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ในระยะเวลาที่กำหนด
  2. เข้าระบบยืนยันสิทธิ์ รับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อทำการสละสิทธิ์ในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด

ผลของการไม่ยืนยันสิทธิ์ หรือสละสิทธิ์

คำถามที่ 32 ผลของการไม่ยืนยันสิทธิ์ หรือสละสิทธิ์ รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์คืออะไร?

โครงการรับตรงที่เข้าร่วมเคลียริงเฮาส์ จะถูก สอท. รวบรวมรายชื่อนักเรียนที่ทำการยืนยันสิทธิ์ เพื่อตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกในระบบอื่นๆ ทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยที่มาเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ แต่ไม่เข้ายืนยันสิทธิ์ หรือเข้าระบบยืนยันสิทธิ์เพื่อทำการสละสิทธิ์ รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ จะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์การเข้าศึกษาในโครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยที่มาเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ และจะไม่ถูก สอท. รวบรวมรายชื่อเพื่อตัดสิทธิ์สอบผ่านช่องทางอื่นๆ จึงยังมีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกในระบบต่อไป

Present Tense ทุกรูปแบบใน 5 นาที!!!

น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่

บทความที่น่าสนใจ