มทร.ธัญบุรี วิจัยหมูส้ม ดหนีห่างจากมะเร็ง ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า การทำหมูส้มแบบดั้งเดิมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้ส่วนผสมอื่นเพื่อลดระยะเวลาการหมักหมู รวมถึงปรุงแต่งสีและกลิ่น เช่น สารไนเตรทและไนไตรท์ เพื่อให้ได้สีชมพูหรือสีแดง เมื่อบริโภคบ่อย ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
มทร.ธัญบุรี ทดลอง วิจัยหมูส้ม หนีห่างจากมะเร็ง!
การรับประทานหมูเนื้อแดง เมื่อบริโภคบ่อย ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้น ทางคณะจึงได้ศึกษาวิจัยนำข้าวยีสต์แดงมา ใช้เป็นส่วนผสมในหมูส้ม ซึ่งมีจุดเด่น คือ มีสีแดงเข้ม ให้สารโมนาคอลินส์ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ขณะเดียวกันยังมีสารไคโตซานช่วยดักจับไขมัน ตามระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งมีสารไคตินช่วยเสริมสร้างไขข้อ และลดการเสื่อมของไขข้อในผู้สูงอายุ และยังมีสารกาบาซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ช่วยรักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองผ่อนคลาย รวมถึงมีสารแอนติออก ซิแดนท์ที่ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ
การวิจัยหมูส้มหนีห่างจากมะเร็ง
“การวิจัยครั้งนี้ นอกจากช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ยังสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนให้สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ ทำให้ได้ รับรางวัลเหรียญเงินจากการประชุมวิชาการและแสดงผลงานวิจัยระดับเวทีนานาชาติ ในงาน IEI & WIIF 2018 เมืองฝอซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ผู้สนใจสอบถามได้ที่ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ โทร. 08-7518-1144” ผศ.ดร.เลอลักษณ์ กล่าว
ข้อมูลจาก www.pr.rmutt.ac.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คณะต่างๆ ใน มทร.ธัญบุรี – 11 คณะ กับ 1 วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- วิทยบริการ – ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุด มทร.ธัญบุรี – RMUTT
- มทร.ธัญบุรี สวนกระแส TCAS รอบแรก เด็กแห่สมัครล้นกว่า 3 พันคน
- ศิษย์เก่า คนดัง ที่เรียนจบจาก มทร.ธัญบุรี – RMUTT
- พาส่อง 10 นักศึกษาหนุ่มหล่อ ของ มทร.ธัญบุรี