วิชาวิทยาศาสตร์มักจะใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และตัวอักษรภาษากรีก ในการแทนค่าความหมายของบางคำ ที่ใช้อธิบายผลการทดลอง หรือผลคำนวณต่างๆ วันนี้เราก็เลยมี 20 สัญลักษณ์ควรรู้ ของหน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์ (SI unit) มาฝากกัน
20 สัญลักษณ์ หน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์
International System of Units/Systeme-International d’ UnitesSI unit (SI unit) หรือ ระบบการวัด ปริมาณต่างๆ เป็นระบบมาตรฐานระหว่างชาติ ที่ใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งหน่วยวัดแต่ละตัวจะถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และภาษากรีก แล้วมีหน่วยวัดไหนที่เราควรรู้จักบ้าง มาดูกัน
หน่วยฐาน (Base Units)
เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน จะมีทั้งหมด 7 ตัวได้แก่
1. หน่วยวัดความยาว = เมตร (m)
2. หน่วยวัดมวลสาร = กิโลกรัม (kg)
3. หน่วยวัดเวลา = วินาที (s)
4. หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า = แอมแปร์ (A)
5. หน่วยวัดอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิก = เคลวิน (K)
6. หน่วยวัดความเข้มข้นของการส่องสว่าง = แคนเดลา (cd)
7. หน่วยวัดปริมาณมวลสาร = โมล (mol)
หน่วยอนุพัทธ์ (Derived Units)
เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที ซึ่งมีเมตร และวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วย และบางหน่วยก็ใช้ชื่อสัญลักษณ์เป็นพิเศษ วันนี้เราก็เลยเลือกเอาสัญลักษณ์พิเศษบางตัว ที่น่าสนใจมาแนะนำ ได้แก่
– หน่วยวัดความถี่ = เฮิรตซ์ (Hz)
– หน่วยวัดมุม = เรเดียน (rad)
– หน่วยวัดพลังงาน = จูล (J)
– หน่วยวัดแรง = นิวตัน (N)
– หน่วยวัดกำลัง = วัตต์ (W)
– หน่วยวัดความดัน = ปาสกาล (Pa)
– หน่วยวัดความสว่าง = ลักซ์ (lx)
– หน่วยวัดประจุไฟฟ้า = คูลอมบ์ (C)
– หน่วยวัดความต่างศักย์ = โวลต์ (V)
– หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า = โอห์ม (Ω)
– หน่วยวัดกันมันตภาพของรังสี = เบกเคอเรล (Bq)
– หน่วยวัดขนาดกำหนดของการดูดกลืนรังสี = เกรย์ (Gy)
– หน่วยวัดอำนาจการเร่งปฏิกิริยา = คาทัล (kat)
ที่มา : www.scimath.org , www.qcsd.org