โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

Benjamarachalai School Under the Royal Patronage of His Majesty the King

Home / academy / โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เดิมเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุล “วัฒนวงศ์” ได้ทรงอุทิศ ให้รัฐบาลตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรก เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำบุญเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456… See More

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เดิมเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุล “วัฒนวงศ์” ได้ทรงอุทิศ ให้รัฐบาลตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรก เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำบุญเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 และเปิดสอนในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีนักเรียน 24 คน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “เบญจมราชาลัย” และกรมศึกษาธิการได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงเปิดนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2456

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เบญจมราชาลัย

ประวัติความเป็นมา
เมื่อกระทรวงธรรมการได้รับสถานที่นี้แล้ว ได้จัดซ่อมแซมแก้ไขให้เข้ารูปเหมาะที่จะเป็นโรงเรียน โดยใช้อาคารซึ่งเป็นพระตำหนัก 2 หลัง และอาคารเรือนไม้ 5 หลัง เป็นอาคารเรียน เริ่มเปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถม ทั้งประจำและไปกลับ รับนักเรียนในกรุงเทพฯ และมณฑลต่าง ๆ ได้ขยายการสอนถึงวิชาครูมัธยม ต่อมาในภายหลังได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ชั้นสูง เทียบเท่าประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย เรียกว่า ประโยคมัธยมวิสามัญ

พ.ศ. 2472 ได้เปิดสอนประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย มีทั้งแผนกภาษา แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกกลาง นับเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกที่สอนวิชาในหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์ชาย และมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ. 2475 กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตำบลถนนราชบุรี จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทรพระปิตุจฉาเจ้าให้จัดสร้างเป็นโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งย้ายครูและชั้นมัธยมบริบูรณ์ชาย (ม.7-8) ทั้งหมดไปอยู่โรงเรียนเพชรบุรี – วิทยาลงกรณ์ นับเป็นการย้ายครั้งใหญ่ที่ทำให้โรงเรียนเบญจมราชาลัย ต้องลดฐานะมาเป็นโรงเรียนสามัญ คงมีแต่นักเรียนเช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมปีที่ 6 ต่อมาในปีพ.ศ. 2476 โรงเรียนเบจมราชาลัยได้ปรับปรุงการสอนเพิ่มถึงชั้นประโยคบริบูรณ์อีกดังเช่นเดิม แต่ใน พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งย้ายนักเรียนชั้นสูงไปเรียนรวมที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยและยุบเลิกชั้นประถม ตั้งแต่บัดนั้นมาคงเปิดทำการสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามคำสั่งของกรมสามัญศึกษา ในปีพ.ศ. 2496 ได้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาทั้งแผนกอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2499 ได้เริ่มเปิดสอน 2 รอบ คือรอบเช้า และรอบบ่าย ในปีพ.ศ. 2503ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง คือ ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และในปี พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาของชาติ เป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-2-3 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-5-6 เนื่องจากอาคารเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ เมื่อเวลาผ่านไปอาคารเรียนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ประกอบกับมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางโรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่แทนเรือนไม้หลังเดิม กล่าวคือ

ปี พ.ศ. 2500 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าด้านทิศเหนือ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 1 คือ ตึก “มรุพงศ์อนุสรณ์”
ปี พ.ศ. 2504 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าทางด้านทิศใต้ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 2 คือตึก “จันทรนิภา”
ปี พ.ศ. 2508 ได้รื้ออาคารไม้ด้านทิศตะวันออก สร้างอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 3 คือตึก “วัฒนานุสสรณ์”
ปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 2 ที่ตำบลประชานิเวศน์ 3 แขวงท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
ปี พ.ศ. 2524 ได้สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของโรงเรียน อาคารเรียนหลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามว่า “เทพรัตน” (อ่านว่า เทบ-พะ-รัด-ตะ-นะ) และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 28มิถุนายน พ.ศ. 2526
ปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระมหา-กรุณาธิคุณ ให้โรงเรียนเบญจมราชาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ปี พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 3 สาขามีนบุรี ที่ตำบลสามวาตะวันตก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนสหศึกษา ในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
ปี พ.ศ. 2536 ได้รื้ออาคารวัฒนานุสสรณ์ซึ่งเป็นอาคาร 3ชั้น สร้างให่เป็นอาคาร 6 ชั้น มีสระว่ายน้ำ “วิบูลวรรณ” บนดาดฟ้า เพื่อเป็นที่ระลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ องค์ต้นราชสกุล “วัฒนวงศ์” ผู้ทรงอุทิศวังแห่งนี้ อาคารหลังใหม่นี้เปิดใช้ในปีการศึกษา 2536 อาคารหลังนี้คือ “อาคารวัฒนวงศ์”

เบญจมราชาลัย

ตราประจำโรงเรียน
พระเกี้ยวบนพานแว่นฟ้า

สีประจำโรงเรียน
เลือดหมู – ขาว

บัวจงกลณี

ดอกไม้ประจำโรงเรียน
ดอกบัวจงกลณี

เบญจมราชาลัย

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
พระศรีศากยมุณี ยุวนารีบูชิต สถิตเบญจมราชาลัย

ปรัชญาโรงเรียน
สวาจารตา จ พาหุสสจจ นารีนาภรณ วร ศึกษาดี มีจริยา เป็นอาภาของกุลสตรี

ปณิธานโรงเรียน
บุคลิกงามสง่า แนวหน้าวิชาการ สืบสานความเป็นไทย มุ่งไปสู่โลกกว้าง สรรสร้างสังคม อุดมคุณธรรม

คติพจน์โรงเรียน
การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี มีคุณธรรม กิจกรรมเยี่ยม

คำขวัญโรงเรียน
คล่องแคล่วอย่างงดงาม

อักษรย่อ : บ.ร. / B.R.
ประเภท : รัฐ
สถาปนา : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456
รหัส : 1000100105
เพลง : มาร์ชเบญจมราชาลัย
สังกัดการศึกษา : สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ตั้ง : 126 ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๐๐
เว็บไซต์ : http://www.br.ac.th
facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100004412970553&fref=ts

 

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://www.br.ac.th

See Less

ข่าวการศึกษา โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

กิจกรรม โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ดาวเด่น โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

วาไรตี้ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้