โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกหญิงแห่งแรกของประเทศ และเป็นโรงเรียนแรกในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของเซอร์ไอแซก นิวตัน ปัจจุบันอายุ 325 ปี
โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2448- 2 มีนาคม เปิดทำการสอนนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 37 คน การสอนใช้ภาษาต่างประเทศเป็นหลัก เช่น ภาษาอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และฝรั่งเศส ภาษาไทยวันละชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีวิชาจริยธรรม ดนตรี เย็บปักถักร้อย และมารยาททั่วไป ขณะนั้นยังไม่มีเครื่องแบบนักเรียน- 7 มีนาคม คณะเซอร์ย้ายเข้ามาอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยมีเซอร์แซงต์ ซาเวียร์ ท่านอธิการิณีท่านแรกสอนภาษาฮอลันดา, เซอร์อันนา ซาเวียร์ สอนภาษาฝรั่งเศส, เซอร์อักแนส เดอ เซนต์ปอล สอนภาษาอังกฤษและเยอรมัน, เซอร์อังเชลิก โยแซฟ สอนภาษาโปรตุเกส, เซอร์มารีย์บลังซ์ สอนงานฝีมือและงานประดิษฐ์, เซอร์ดอมินิก สอนภาษาอังกฤษ, เซอร์เทแรส (โนวิส) สอนภาษาไทย,เซอร์มาร์เกอริต ดูแลเรื่องอาหาร โดยมี คุณพ่อการิเอ สอนภาษาไทยให้กับคณะเซอร์วันละ 1 ชั่วโมง- 18 มิถุนายน มีพิธีเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ฯพณฯหลุยส์ เวย์ เป็นประธานการเสกอาคารเรียน 3 ชั้น และการเฉลิมฉลองเริ่มด้วยสหบูชามิสซา มีเซอร์จากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์และสามเสนมาร่วมยินดี- 19 มิถุนายน หนังสือพิมพ์ในกรุงเทพฯลงข่าวเรื่องการเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์อย่างเป็นทางการ สำหรับหญิงสาวที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน โปรตุเกส ฯลฯ
พ.ศ. 2450 – เซอร์อันนา ซาเวียร์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 2 ขณะนั้นนักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของชาวยุโรปที่ทำงานในประเทศไทย
พ.ศ. 2461 – โรงเรียนได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ขึ้นตรงกับกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2472 – เซอร์อานน์ แชร์แมน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 3
พ.ศ. 2474 – โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 8
พ.ศ. 2476 – โรงเรียนได้ช่วยเหลือนักเรียนที่ขัดสนให้เรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ชั้นมูลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนาใดๆ- เริ่มมีเครื่องแบบนักเรียนและครู โดยใส่เสื้อแขนยาวสีขาวทับไว้นอกผ้าซิ่นแดง นักเรียนจะผูกไทสีแดง ส่วนคุณครูจะผูกโบว์- คุณพ่อกอลมเบต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ถึงแก่กรรม
พ.ศ. 2478 – โรงเรียนส่งนักเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (ม.8) เข้าสมทบในการสอบไล่ของกระทรวง
พ.ศ. 2480 – โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
พ.ศ. 2483 – คุณครู ถนอมจิต หุตะสิงห์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนแทนเซอร์อานน์ แชร์แมน โดยมีครู รุจิรา ชโนดม ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2487 – เกิดสงครามแปซิฟิก โรงเรียนได้อพยพคณะเซอร์ ครู และนักเรียนที่ผู้ปกครองฝากไว้ไปที่โรงเรียนเซนต์ปอลฉะเชิงเทรา (ปัจจุบันคือโรงเรียนเซนต์แอนโทนี)
พ.ศ. 2489 – โรงเรียนได้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์แทน ม.8 เดิม
พ.ศ. 2490 – เซอร์แซงค์ บาร์บ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 4- โรงเรียนเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนให้เหมือนกับของโรงเรียนรัฐบาล
พ.ศ. 2494- เซอร์เมรี่ เดอแลง กานาซีออง ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 5 และครูใหญ่ของโรงเรียน- ก่อตั้งสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยยื่นขอจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมกับสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. 2496- ด้วยจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจึงแยกออกเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ซึ่งภายหลังมอบให้อยู่ในความดูแลของอาสนวิหารอัสสัมชัญ)- เปลี่ยนเครื่องแบบจากเดิมมาเป็นเครื่องแบบในปัจจุบัน (ส่วนเครื่องแบบเดิมมอบให้โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา)- สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น เพื่อแยกตึกเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีงานฉลองเปิดอาคารเรียนหลังใหม่- ท่านอธิการิณีเมรี่ ได้รับเหรียญเกรียติยศด้านการสอนจากประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2498 – วันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน ได้จัดงานครบรอบ 50 ปีของโรงเรียน และจัดทำหนังสืออนุสรณ์เล่มแรกขึ้น
พ.ศ. 2500 – เซอร์เอมิเลียน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 6 โดยท่านเป็นอธิการิณีชาวไทยคนแรก และเป็นศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์
พ.ศ. 2501 – เริ่มใช้สมุดระเบียบการ (School Note-Book) อย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2503 – เซอร์มารี ลูเชียน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 7
พ.ศ. 2505 – ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมบาสเก็ตบอลแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2506 – ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมบาสเก็ตบอลแห่งประเทศไทยเป็นปีที่ 2
พ.ศ. 2507 – โรงเรียนได้รับพระราชทานรางวัลประเภทโรงเรียนดีจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม
พ.ศ. 2508 – จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งโรงเรียน และมีการทำหนังสืออนุสรณ์ 60 ปี
พ.ศ. 2509 – เซอร์เออเชนี มารี สุดารา ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 8
พ.ศ. 2510 – โรงเรียนได้เปลี่ยนวันหยุดจากวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ มาเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์
พ.ศ. 2511 – สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ 4 ชั้น มีพิธีเสกอาคารเรียนในวันที่ 11 กรกฎาคม โดยมีฯพณฯยวง นิตโย เป็นประธานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา- โรงเรียนได้ร่วมกับสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์จัดงานสงเคราะห์เด็กยากจนในแหล่งเสื่อมโทรมเขตบางรัก
พ.ศ. 2512 – ทีมบาสเก็ตบอลของโรเรียน ชนะเลิศการแข่งขันบาสเก็ตบอลรุ่นใหญ่ของการแข่งขันกีฬาในกลุ่มคอนแวนต์
พ.ศ. 2513 – โรงเรียนฉลองการก่อตั้งครบ 65 ปี โดยจัดโครงการโรงเรียนน้อง คือ โรงเรียนทหารม้าอนุสรณ์ ต.หมู่บ้านวังดิน จ.เชียงใหม่ โดย คณะเซอร์ ครู และนักเรียน ได้ร่วมกันนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้านและนักเรียนในหมู่บ้าน รวมถึงอบรมให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ รู้จักดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย
พ.ศ. 2514 – เปิดสอนชั้นมัธยมปลายแทนชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่งดสอนไประยะหนึ่ง
พ.ศ. 2516 – เซอร์เวโรนิค เดอ มารี กลิ่นไกร ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 9- มีการมอบทุนการศึกษาและรางวัลเรียนดีให้แก่นักเรียน- ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยเซอร์ฮองรี อ่อนสว่าง และนายสกล มังคละรัช
พ.ศ. 2518 – โรงเรียนฉลองครบ 70 ปี แห่งการก่อตั้ง ฯพณฯ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงาน และ ฯพณฯ อัครมุขนายกไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในศาสนพิธี มีการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ 70 ปี
พ.ศ. 2519- เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ วรศิลป์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 10 – โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนระบบชั้นเรียนเป็น 6-3-3 ตามนโยบายของรัฐบาล คือ ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
พ.ศ. 2521 – จัดงานกตเวทิตาคุณ เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูที่สอนตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไปในงานวันครู วันที่ 16 มกราคม
พ.ศ. 2522 – ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นตึก 6 ชั้น แทนอาคารเรียนหลังเก่า
พ.ศ. 2523 – โรงเรียนฉลองครบ 75 ปี วันที่ 31 พฤษภาคม มีพิธีเสกอาคารเรียนหลังใหม่ชื่อ “ตึกอนุสรณ์ 75 ปี” โดย ฯพณฯ ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู- 6 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน โรงเรียนได้หยุดเรียนตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเกิดอุทกภัย- จัดงานแสดงวิวัฒนาการทางศาสนา โอกาสงานชุมนุมผู้แทนองค์การศาสนาต่างๆ ครั้งที่ 15 ในวันที่ 19 – 21 กันยายน
พ.ศ. 2524 – แมร์มอนิค มหาธิการิณีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เยี่ยมชมกิจการของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในโอกาสที่ท่านเยือนแขวงประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2525 – เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ สะอาด วรศิลป์ ได้รับโล่ครูดีเด่นจากสมาคมโรงเรียนราษฏร์ ในฐานะผู้จัดการและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในวันที่ 22 มกราคม- จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน วันที่ 15 – 21 เมษายน- เซอร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 11
พ.ศ. 2526 – สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์ร่วมกับโรงเรียนจัดงาน “สุวรรณสมโภช”ให้คุณครูรุจิรา ชโนดม ที่ทำงานครบ 50 ปี ในวันที่ 15 มกราคม
พ.ศ. 2527 – สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนประเทศไทย และได้เสด็จ ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ชาวอัสสัมชัญคอนแวนต์ร่วมรับเสด็จด้วยความปลื้มปิติ
พ.ศ. 2528 – ฉลองครบ 80 ปีของโรงเรียน มีการแสดงละครเรื่อง “นันทวัน” ณ โรงละครแห่งชาติ โดยรายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศล
พ.ศ. 2529 – ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของกรุงเทพมหานคร 3 ปีซ้อน (2527 – 2529) และชนะเลิศการแข่งขันร้องเพลงฝรั่งเศส จากสมาคมฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2530- โรงเรียนได้จัดงานเกษียณอายุให้แก่ครูรุจิรา ชโนดม ครูใหญ่ โดยมีเซอร์เรอเน เด มารี อาภรณ์ แสงหิรัญ ดำรงตำแหน่งแทน- ซ่อมแซมอาคารเรียนหลังแรก เพื่อใช้เป็นตึกเรียนของระดับประถมศึกษา- โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรเป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ. 2532 – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในงานจตุราสีติสมโภช อันเป็นปีที่โรงเรียนครบรอบ 84 ปี
พ.ศ. 2533 – เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 12
พ.ศ. 2534 – ได้รับโล่เกียรติยศชนะเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. 2535 – ได้รับรางวัลชนะเลิศผลงานวิชาคณิตศาสตร์ จากกระทรวงศึกษาธิการในงานสถาปนาครบ 20 ปี ของสำนักงานการศึกษาเอกชน
พ.ศ. 2536 – เซอร์มารี เซเวียร์ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 13
พ.ศ. 2537 – เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ สะอาด วรศิลป์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2538- ขยายการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยซื้อกิจการโรงเรียนผดุงดรุณี และเรียกชื่อโรงเรียนใหม่ว่า อัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ส่วนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บางรัก เป็นแผนกมัธยม- งานฉลอง 90 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บางรัก โดยมี ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในศาสนพิธี
พ.ศ. 2539 – ได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2540 – เปิดการสอนหลักสูตร Intensive Course
พ.ศ. 2541 – เซอร์วาเลนติน มุกดา มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2542- เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 14 – โรงเรียนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9200) จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)
พ.ศ. 2544 – สร้าง Terrace ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นลานอเนกประสงค์
พ.ศ. 2545 – เซอร์แอนนี สนเจริญ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 15- เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน- ตัวแทนคณะเนตรนารีโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เข้าร่วมกิจกรรมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 ณ ต.หาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ประเทศไทย
พ.ศ. 2546 – เซอร์ดอมีนิก กิจเจริญ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 16- เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
พ.ศ. 2549- ได้รับโล่เชิดชูเกียรติและธงสถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติด จากนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม- วันที่ 2 มีนาคม จัดพิธีสหบูชามิสซาโมทนาคุณพระเป็นเจ้า เฉลิมฉลองศตพรรษภัชรสมโภชอัสสัมชัญคอนแวนต์ เนื่องในโอกาสโรงเรียนครบรอบ 100 ปี โดย ฯพณฯ อาร์ชบิชอป ซัลวาตอเร เพนนัคคีโอ เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย และพระคาร์ดินัล ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน จัดงานเฉลิมฉลองและการแสดง ณ ลานหน้าอาสนวิหารอัสสัมชัญ- วันที่ 19 มีนาคม สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญคอนแวนต์ จัดงานเฉลิมฉลองศตพรรษภัชรสมโภช ณ หอประชุมกองทัพเรือ
ชื่อโรงเรียน
ชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์ เดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “COUVENT DE L’ASSOMPTION” ภายหลังเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษว่า “ASSUMPTION CONVENT” คำว่า ASSUMPTION (AS+SUMP+TION) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่าการยกขึ้น ส่วนคำว่า COUVENT หมายถึงสถานที่ซึ่งภคินีพำนักอยู่รวมกัน การใช้ชื่อโรงเรียนว่าอัสสัมชัญคอนแวนต์เพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในบริเวณอาสนวิหารอัสสัมชัญ (Assumption Catherdral) แห่งมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการถวายเกียรติแด่การที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เป็นการขอความคุ้มครองอารักขาและพระพรจากพระนางมารีพรหมจารีพระมารดาของพระเยซู นอกจากนี้ เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ยังได้อธิบายคำ “อัสสัมชัญ” ไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยการอ้างอิงภาษาบาลีและสันสกฤตว่า “อัสสัม” แผลงเป็นไทยว่า “อาศรม” ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ ส่วน “ชัญ” แผลงมาจาก “ชญญ” แปลว่า ความรู้ เมื่อนำมารวมกันจะได้ความหมายว่า “สถานที่อยู่ของความรู้” หรือ “สถานที่ก่อให้เกิดความรู้” ดังนั้นชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์จึงเป็นชื่อที่มีความหมายพิเศษ
ตราประจำของโรงเรียน
ประกอบด้วยปริมณฑล ภายในวงกลมมีเส้นขอบ และมีเส้นโค้งลงประดับรอบนอก บังเกิดเป็นกลีบกลางปริมณฑล มีโล่ป้องกันศัสตราวุธ ภายในโล่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนบนมีอักษร อ.ส.ค อยู่หน้าเส้นตรงตั้ง ส่วนกลางเว้นว่าง ส่วนล่างมีตะเกียงเปล่งประทีปวางอยู่บนหนังสือซ้อนกัน 2 เล่ม มีเส้นนอกเป็นฐาน มีดาบขัดอยู่หลังโล่ ปลายดาบปรากฏที่ด้านบนซ้าย ด้ามดาบปรากฏที่ด้านล่างขวา มอฝเห็บใบไม้ทอดปลายด้านบนขวา และด้านล่างซ้ายวงกลม หมายถึงความมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาเยาวชน ให้เป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคุณค่าแห่งศาสนธรรม วัฒนธรรม และวิชาความรู้ ขณะเดียวกันก็หมายถึงการรวมศรัทธาธรรมของนักบวชเข้ากับความรักของผู้ปกครอง เมตตาธรรมของครู และการแสวงหาความรู้ความเจริญของนักเรียนเส้นประดับเจ็ดกลีบ แทนพระคุณ 7 ประการ ของพระจิตเจ้า อันได้แก่ พระดำริ สติ ปัญญา ความคิดอ่าน กำลังความรู้ ความศรัทธา ความยำเกรงโล่ แสดงนัยของคุณธรรม ความรู้เป็นเครื่องป้องกันภัยดาบคม คือ ปัญญา ด้าม คือ สติ ดาบนี้จึงเป็นเครื่องประหารความเขลาและความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย และป้องกันตนเอง จึงต้องใช้ด้วยความสุขุม คัมภีรภาพอย่างองอาจกล้าหาญใบไม้ แทน ใบมะกอก ใบของพืชเป็นส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ ใบมะกอกจึงแทนการดำรงชีวิตในสันติสุขเพื่อสันติสุข
สีประจำโรงเรียน
สัญลักษณ์สีประจำโรงเรียน คือ แดง ขาว ประกอบขึ้นเป็นความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไว้ด้วยความบริสุทธิ์อ่อนโยนอยู่ภายในสีแดง เป็นสีแห่งความรัก ความกล้าหาญ และเสียสละ เป็นพลังสำคัญในการต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อความถูกต้องยุติธรรม ไมหวาดหวั่นต่อภยันตรายทั้งปวง แม้จะเสียสละเลือดเพื่อให้คุณธรรมความดีคงอยู่ ก็จะยอมรักษาไว้แหนือสิ่งใดสีขาว เป็นสีแห่งความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มั่นอยู่ในหลักธรรม ไม่ยอมให้สิ่งใดเข้ามาเจือปน เป็นความบริสุทธิ์พร้อมที่จะพัฒนาตนสู่ความดีเรื่อยไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นพิกุล เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็กถึงกลาง ความสูง 5 – 15 เมตร ใบเป็บใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยง ขอบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบ ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น นิยมใช้บูชาพระ ออกระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผลกลมรี หัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง ส้ม หรือแดง มี 1 – 2 เมล็ด เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เปรียบเสมือนโรงเรียนที่เป็นที่พักพิงให้แก่เด็กนักเรียน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นๆเปรียบเสมือนชื่อเสียงของโรงเรียนที่ขจรขจายไปไกล มีชื่อเสียงมายาวนานและจะยั่งยืนตลอดไป
อักษรย่อ : อสค ASC
ประเภท : เอกชน
ก่อตั้ง : 2 มีนาคม พ.ศ. 2447
ผู้ก่อตั้ง : บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์
เพลง : อัสสัมชัญคอนแวนต์,ในรั้วคอนแวนต์, ร่มพิกุล
ที่ตั้ง : เลขที่ 25 ถนนเจริญกรุง 40 แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร : 02-2343095, 02-2347779
โทรสาร : ต่อ 217
E-Mail : [email protected]
เว็บไซต์ : www.asc.ac.th
facebook : assumption.convent.school
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ www.asc.ac.th