วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (Medical Engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เช่น ด้านการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วัสดุศาสตร์ โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนให้สามารถนำมาใช้ได้จริง

เรียนเกี่ยวกับอะไร? วิศวกรรมชีวการแพทย์

เครื่องมือทางด้านชีวการแพทย์ที่ถูกมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การสร้างอวัยวะเทียม (Artificial Organs) ซึ่งจะนำมาใช้สร้างผิวหนังเทียม ลิ้นหัวใจเทียม, Computer integrated surgery แขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือนำมาใช้เป็นระบบนำทางในการผ่าตัด และ Neural Network คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยทำให้คุณหมอสามารถทำนายการเกิดโรคมะเร็งซ้ำ โดยอาศัยจากข้อมูลการรักษาที่ผ่านมาของผู้ป่วย และทำนายจากอาการของโรค เป็นต้น

แบ่งออกเป็น 9 สาขาย่อย ได้แก่

1. Bioinstrumentation เป็นสาขาที่นำความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือคุณสมบัติทางไฟฟ้า  ที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือเปลี่ยนคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือระดับอวัยวะ โดยใช้อุปกรณ์มาเป็นตัวกลางในการติดต่อกับเครื่องจักรกล ไฟฟ้า หรือสัญญาณเสียง

2. Biomaterials เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุธรรมชาติ ประกอบด้วย โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต หรืออุปกรณ์ด้านการแพทย์ ที่สามารถทำงานแทนอวัยวะเดิมที่ได้รับความเสียหาย เช่น ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น

3. Biomechanics เป็นการประยุกต์หลักทางกลศาสตร์เพื่อระบบของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงการวิจัยและการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้หลักทางวิศวกรรมในสิ่งมีชีวิต

4. Cellular, Tissue and Genetic Engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตอวัยวะเทียมจากวัสดุชีวภาพ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะปลูก ถ่าย โดยวิศวกรในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีหน้าที่ในการวิจัยเพื่อหาวิธีมาผลิตและนำอวัยวะเทียมมาใช้งานแทนอวัยวะเดิม เช่น ตับเทียม เป็นต้น

5. Clinical Engineering เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสถานพยาบาล บทบาทหลักของ Clinical Engineering คือการให้ความรู้และควบคุมดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต

6. Medical Imaging เป็นสาขาที่ศึกษาเทคนิคหรือกระบวนการที่ใช้ในการสร้างภาพของร่างกายมนุษย์ หรือบางส่วนของร่างกาย และหน้าที่การทำงานร่างกาย เพื่อจุดประสงค์ทางคลินิกหรือทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

7. Orthopedic Engineering เป็นสาขาที่เน้นการทำให้โรคหรือการได้รับบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกทุเลาลง โดยการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานทางกลศาสตร์ของวัสดุชีวภาพร่วมกับวิศวกรรม เนื้อเยื่อ

8. Rehabilitation Engineering เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมมาออกแบบ พัฒนา ดัดแปลง ทดสอบ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียความสามารถต่าง ๆ ของร่างกาย งานวิจัยด้านนี้ครอบคลุมการเคลื่อนไหว การติดต่อสื่อสาร การได้ยิน การมองเห็น การจดจำ และการช่วยให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

9. ystems Physiology เป็นสาขาที่รวมศาสตร์ทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ เพื่อศึกษาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่อธิบายถึงพฤติกรรมของระบบสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปการคำนวณทางสรีรวิทยาได้จากการรวมเทคโนโลยีและฟังก์ชันการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การหมุนเวียนเลือด การหายใจ เมตาบอลิซึม กลศาสตร์ชีวภาพ และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ระดับปริญญาตรี)

1. มหาวิทยาลัยมหิดล 

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เน้นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีอย่างเข้มข้นและภาคปฏิบัติที่ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติงานจริง ไม่ว่าจะเป็นด้านการคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกงานต่างประเทศ อีกด้วย

เว็บไซต์ : www.eg.mahidol.ac.th

2. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นด้านทักษะการปฏิบัติและการสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และสามารถประยุกต์หรือบูรณาการได้อย่างหลากหลาย  เช่น ด้านชีวกลศาสตร์ ด้านวัสดุชีวภาพ ด้านภาพทางชีวภาพและการแพทย์ ด้านชีวสารสนเทศ ด้านอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ ด้านอุปกรณ์ชีวการแพทย์ และด้านชีววิทยาศาสตร์ เป็นต้น มีการเรียนการสอนเน้นการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เว็บไซต์ : bme.eng.swu.ac.th

3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหลักสูตรที่สอนให้นักศึกษาเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ โดยเป็นการนำเอาความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์เข้ากับวิชาความรู้ทางด้านการแพทย์ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรม ที่เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการรักษาพยาบาล และการพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ อีกด้วย

เว็บไซต์ : www.bme.psu.ac.th

4. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและมีทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานตลอดจนการวิจัยด้านวิศวกรรมการแพทย์ เพื่อตอบสอนงความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

เว็บไซต์ : engineer.kmitl.ac.th

ติวเตอร์พี่บูม รวีวัฒน์ วิชาคณิตศาสตร์ และพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์

Link : seeme.me/ch/teen/kKRdgq

5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต) มุ่งมั่นให้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เน้นการฝึกทักษะให้นักศึกษาสามารถ ออกแบบวิเคราะห์พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ ฟิสิกส์วิศวกรรม และวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยมุ่งหวังให้ณฑิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้อย่างครอบคลุม

เว็บไซต์ : imi.kmutnb.ac.th

6. มหาวิทยาลัยรังสิต

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสาขาวิชาที่สอนให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการบูรณาการความรู้ด้านการแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ คิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถนำมาช่วยในการวินิจฉัยหรือช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ ให้มีอาการที่ดีขึ้น

เว็บไซต์ :  bme.rsu.ac.th

7. มหาวิทยาลัยคริสเตียน

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จะเน้นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยจะเป็นการนำศาสตร์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และด้านการแพทยศาสตร์ มาประยุกต์ร่วมกันในการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถความรู้ที่ได้เหล่านี้ไปใช้ในการจริงในตอนทำงาน

เว็บไซต์ : service.christian.ac.th

จบแล้วทำงานอะไร?

1. วิศวกรชีวการแพทย์/วิศวกรคลินิคประจำโรงพยาบาล/วิศวกรอีเล็กทรอนิกส์
2. นักวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
3. วิศวกร เพื่อผลิต ขาย ซ่อมบำรุง ติดตั้ง วิจัย และพัฒนา (ในบริษัทเอกชนและภาครัฐ)
4. ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์
5. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
6. ประกอบธุรกิจส่วนตัว ทางด้านการจำหน่าย การให้บริการ หรือการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับงานทางด้านเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง