เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตจบใหม่ แต่ละรุ่นออกมาจำนวนมาก แต่จำนวนงานที่รองรับ กับปริมาณเด็กที่จบมานั้นไม่สัมพันธ์กัน ในขณะที่สถาบันอาชีวะซึ่งตอบโจทย์ของการทำงานมากกว่า แต่มีเด็กที่เลือกเรียนน้อยกว่า ด้วยสาเหตุปัจจัยหลายสิ่งอย่าง กระทรวงศึกษาจึงมีนโยบาย ผลักดันอาชีวศึกษาให้เปิดหลักสูตร ‘นานาชาติ’ หวังยกระดับการศึกษา
ศธ. ผลักดันอาชีวศึกษาให้เปิดหลักสูตร ‘นานาชาติ’
หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งจะนำมาปรับใช้กับอาชีวศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาไว้ก็คือ Bussiness and Technology Education Council หรือ BTEC ของ Pearson Education Limited สหราชอาณาจักร, ICDL Digital Literacy สาธารณรัฐไอร์แลนด์ และหลักสูตร Tourism and Hospitality Vocational Training ของ William Angliss Institute ประเทศออสเตรเลีย
และสามหลักสูตรที่กล่าวมา สถาบันอาชีวะ เอกชนสามารถนำไปใช้ได้เลยตั้งแต่ ปีการศึกษา 2562 โดยไม่ต้องขออนุญาตคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา แต่ทางสถาบันจะต้องมีความพร้อม และต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบันหลักสูตรนานาชาติ
หวังผลักดันหลักสูตรนานาชาติ ส่งเสริมอาชีวะไทย
หลักสูตรนานาชาตินี้จะเพิ่มโอกาสให้กับเด็กๆ ด้วยการให้วุฒิจากต่างประเทศด้วย น้องๆ ก็จะสามารถทำงานได้เลย เพราะนอกจากจะมีสมรรถนะสอดคล้องกับที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) ของไทยให้การรับรอง ยังเป็นการยกระดับความรู้ความสามารถของเด็กอีกด้วย ซึ่งหลักสูตรนานาชาตินี้จะเริ่มให้วิทยาลัยอาชีวะ เอกชน เป็นผู้เริ่มก่อน จากนั้นจึงจะเป็นคิวของวิทยาลัยอาชีวะ ของภาครัฐ เพราะหน่วยงานของภาครัฐ นั้นยังติดปัญหาเรื่องของระบบราชการ จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ช้า
พร้อมเปิดทุนกู้ยืม สำหรับหลักสูตรนานาชาติ
ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังประสานงานกับกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน เพื่อพิจารณาให้ทุนกับผู้ที่สมัครเรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษาไทยมาตรฐานสากล หรืออาจจะหาทางออกสำหรับผู้ที่อยากเรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้เด็กเข้าเรียนก่อน แล้วค่อยจ่ายค่าเรียนทีหลัง เพราะยังไงนักเรียน นักศึกษากลุ่มนี้จบแล้วก็มีงานทำอย่างแน่นอน
ซึ่งก็ไม่รู้ว่านโยบายหลักสูตรนานาชาติ ที่กระทรวงศึกษาธิการวางแผนไว้ให้กับวิทยาลัยอาชีวะ เพื่อยกระดับการศึกษา ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรดึงดูดให้คนไปเรียนมากขึ้นจะได้ผลอย่างไร แล้วสถาบันไหนจะนำหลักสูตรนานาชาตินี้ไปใช้เป็นที่แรก คงจะต้องติดตามดูต่อไป ว่าหลักสูตรนานาชาตินี้จะประสบความเร็จหรือไม่
ที่มา : matichon