นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการสั่งยกเลิกหลักสูตรเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย เพราะไม่ใช่หน้าที่ของ กศน.ที่จะมาเปิดสอนแพทย์ความงาม การจัดหลักสูตรเกี่ยวกับแพทย์ความงามนั้นจะต้องได้รับการรับรองจากแพทยสภาเท่านั้น
กระทรวงศึกษาฯ สั่งยกเลิกหลักสูตร แพทย์ความงาม กศน.
หลักสูตรแพทย์ความงาม หรือ หลักสูตรเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย เป็นหลักสูตรเรียนทางไกล ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กศน. กับ สมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย ซึ่งมีบันทึกข้อตกลงจัดหลักสูตรนี้ขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2560 ทำให้มีผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้จบไปแล้ว 1 คอร์ส แต่ผู้ที่จบหลักสูตรนี้ไปแล้วจะไม่สามารถนำใบประกาศนียบัตรนี้ไปเปิดคลีนิคเสริมความงาม และไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการประกอบอาชีพแพทย์ความงามได้
เพราะหลักสูตรแพทย์ทุกแขนงจะต้องได้รับการรองรับจากแพทยสภาเท่านั้น การที่ กศน. เปิดหลักสูตร หลักสูตรเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องถูกต้อง และเข้าข่ายผิดกฎหมายด้วย ดังนั้นในวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเร่งส่งคนไปจัดการกับเรื่องนี้ พร้อมสั่งปิดหลักสูตร
หลักสูตรเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย
เป็นหลักสูตรที่จะสอนเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการให้บริการในเชิงเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวย ทั้งในด้านศัลยกรรมความงาม และเวชสำอางค์ โดยการเรียนการสอนจะมีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จะแบ่งหลักสูตรการสอนออกเป็น 6 กลุ่มด้วยกัน
1. ส่วนศัลยกรรมเสริมสวยใบหน้า
2. ส่วนศัลยกรรมเสริมสวยเรือนร่าง
3. ส่วนศัลยกรรมเสริมสวยกระดูกโครงสร้างใบหน้า
4. ส่วนศัลยกรรมปลูกผม
5. ส่วนศัลยกรรมเสริมสวยระบบสืบพันธุ์
6. เวชศาสตร์เสริมสวย
ซึ่งโครงการนี้จะเปิดรับสมัครแพทย์ที่สนใจเข้ามาอบรมในหลักสูตรต่างๆ เหล่านี้ และนายแพทย์ ธนวรรฒน์ โชติมา นายกสมาคสมศัลยกรรม และเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย ก็ได้พูดถึงโครงการนี้ว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่จะช่วยยกระดับการแพทย์ ด้านเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวย สู่มาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์ของประเทศ และระดับสากล โครงการนี้เริ่มจากการจับมือกับ กศน. ซึ่งสามารถขับเคลื่อนให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง และเป็นไปอย่างคล่องตัว
ถึงแม้ว่าหลักสูตร หลักสูตรแพทย์ความงามจะถูกปิดไปแล้ว แต่การที่มีคนริเริ่มหลักสูตรนี้ขึ้นมาก็น่าจะเป็นหนทางต่อยอดให้แพทยสภาเก็บไปคิดถึงหลักสูตรแพทย์ศัลยกรรมความงามในรูปแบบที่เป็นไปได้ในอนาคต หลักสูตรที่สามารถเปิดการเรียนการสอน พร้อมมีใบรับรองให้กับผู้เรียนในการประกอบอาชีพ เพราะในปัจจุบัน การทำศัลยกรรมก็เป็นที่นิยมไม่น้อยเลย
บทความแนะนำ
- สั่งงดรับนักศึกษา ปิดหลักสูตร! ในมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้มาตรฐานแล้ว
- มหาวิทยาลัยเอกชน ทยอยปิด คณะเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากมีผู้สมัครเรียนน้อยลงเรื่อย ๆ
- ม.รามคำแหง จ่อฟ้องกลับ สกอ. หลังเปิดเผยรายชื่อหลักสูตรไม่ผ่านมาตรฐานคลาดเคลื่อน
- กระทรวงศึกษาฯ ให้โอกาสแก้ตัว! 10 มหา’ลัยหลักสูตรไร้มาตรฐาน
- สกอ. เผยรายชื่อ 182 หลักสูตรไม่ผ่านมาตรฐาน จาก 40 มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน