อยากเป็น กุมารแพทย์ หรือ หมอรักษาเด็ก ต้องทำอย่างไร?

กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทางการแพทย์ให้กับทารก เด็ก และวัยรุ่น กล่าวคือ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีโดยประมาณขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ

กุมารแพทย์ อีกหนึ่งอาชีพในฝันของน้อง ๆ หลายคน

โดยที่แพทย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์มีชื่อเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งจะต้องสำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ นอกจากนี้ยังจะต้องผ่านการสอบเพื่อขอรับวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรม ในสาขากุมารเวชศาสตร์ (สำหรับในประเทศไทยจะออกโดยแพทยสภา)

และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้สำหรับน้อง ๆ ที่อยากจะศึกษาต่อด้านกุมารเวชศาสตร์ หรือ กุมารแพทย์ มาฝากกันด้วย จะมีแขนงวิชาไหนเปิดสอนบ้าง และมหาวิทยาลัยแห่งไหนบ้างที่เปิดสอน หรืออบรมในหลักสูตรนี้ ตามมาดูรายละเอียดกันได้เลย

เส้นทางการเรียน กุมารแพทย์

การเรียนในสาขากุมารเวชศาสตร์ หรือ กุมารแพทย์ เริ่มต้นจากการเรียนด้านแพทย์ทั่วไปที่คณะแพทยศาสตร์เป็นระยะเวลา 6 ปี จากนั้นเราเรียนจบแล้วจึงจะสามารถเข้าเรียนต่อด้านนี้ได้ โดยสาขากุมารเวชศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ รายละเอียดทั้งหมด : www.chula.ac.th

2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

คณะแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ รายละเอียดทั้งหมด : https://w1.med.cmu.ac.th/

3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ รายละเอียดทั้งหมด : www.md.kku.ac.th

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง